ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพสัตว์ป่าแบบซูเปอร์เทเลโฟโต้: ความสงบนิ่งตัดกับความเคลื่อนไหวที่ระยะ 800 มม.

2020-08-17
1
419
ในบทความนี้:

ช่างภาพสัตว์ป่าจะมาแบ่งปันเรื่องราวเบื้องหลังภาพซูเปอร์เทเลโฟโต้ของนกกระเรียนญี่ปุ่นนี้ รวมถึงเคล็ดลับในการหาความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำ (เรื่องโดย: Yukihiro Fukuda, Digital Camera Magazine)

นกกระเรียนญี่ปุ่นที่ทะเลสาบ

EOS R/ EF800mm f/5.6L IS USM/ FL: 800 มม./ Manual exposure (f/25, 2 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
อุปกรณ์อื่นๆ: ฟิลเตอร์ ND แบบปรับได้

 

เรื่องราวเบื้องหลังภาพนี้:

ผมต้องการถ่ายภาพนกกระเรียนญี่ปุ่นเหล่านี้ตอนที่พวกมันตื่นขึ้นจากการหลับใหลและทำกิจวัตรยามเช้า ดังนั้น ผมจึงเฝ้าดูบริเวณที่พวกมันอยู่กันในยามเช้าตรู่ ภาพนี้ถ่ายตอนประมาณ 7 โมงเช้าในวันที่มีอากาศแจ่มใส ขณะที่ดวงอาทิตย์เพิ่งโผล่พ้นขอบฟ้าและเริ่มมีแสงสว่าง


แม้ว่าจะไม่สว่างอย่างที่ผมต้องการ แต่ก็ทำให้เกิดสภาพแสงที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์

ในวันนั้นมีเมฆครึ้มเล็กน้อย จึงไม่มีแสงมากนัก อย่างไรก็ตาม แสงแดดที่สะท้อนออกมาจากก้อนเมฆทำให้ผิวน้ำในแม่น้ำแต่งแต้มด้วยสีส้มทองจางๆ อันงดงาม

ในช่วงเวลานี้ของเช้าที่หนาวเย็น นกกระเรียนมักจะเกาะกลุ่มกันแน่นและหลับสนิท แต่ในวันที่ถ่ายภาพนี้มีอากาศอบอุ่น นกกระเรียนบางตัวตื่นกันอยู่แล้วและกำลังเคลื่อนที่ไปรอบๆ ผมจึงตัดสินใจใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเปรียบต่างระหว่างนกกระเรียนที่กำลังหลับอยู่กับพวกที่ตื่นแล้ว

 

อุปกรณ์: เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้


เลนส์ EF800mm f/5.6L IS USM ของ Canon

ตัวเลือกของมืออาชีพ: EF800mm f/5.6L IS USM

ผมต้องใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ เพื่อถ่ายภาพนกกระเรียนโดยไม่รบกวนพวกมัน สำหรับภาพนี้ ผมใช้เลนส์ EF800mm f/5.6L IS USM ซึ่งเมื่อใช้คู่กับกล้อง EOS R จะสามารถโฟกัสอัตโนมัติได้ครอบคลุมพื้นที่ AF ทั้งหมด (ประมาณ 88% ในแนวนอน × 100% ในแนวตั้งของเซนเซอร์ภาพ) แม้ว่าจะใช้เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R และท่อต่อเลนส์ (หรือที่เรียกกันว่าตัวแปลงเลนส์) ก็ตาม นับว่าคุณภาพของภาพแทบไม่ลดลงเลยแม้จะใช้ท่อต่อเลนส์ แม้ว่าขนาดของเลนส์รุ่นนี้ทำให้ควบคุมได้ยากขึ้น แต่เอฟเฟ็กต์การดึงวัตถุและการบีบมุมมองภาพก็ไม่เหมือนใคร


ตัวเลือกราคาประหยัด

- เลนส์ RF800mm f/11 IS STM
- เลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM พร้อม Extender EF2xIII

แม้ว่าคุณอาจต้องถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงที่แคบลงด้วยตัวเลือกเหล่านี้ แต่ก็ไม่สำคัญเลยสำหรับการถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำในเวลากลางวันเช่นนี้ ซึ่งคุณต้องใช้รูรับแสงแคบมากอยู่แล้ว

 

ขั้นตอนที่ 1: ใช้ฟิลเตอร์ ND และความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

ในตอนแรก ผมถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที และได้ภาพดังต่อไปนี้

ภาพนกกระเรียนที่ทะเลสาบ ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง

ถ่ายที่ 1/500 วินาที

พอจะบอกได้ไหมว่านกกระเรียนตัวไหนกำลังเคลื่อนไหว ผมเองก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/500 วินาทีนั้นเร็วพอที่จะหยุดการเคลื่อนไหวทั้งหมดเพื่อให้ทุกอย่างดูคมชัด

ซึ่งในบางครั้งก็เป็นสิ่งที่คุณต้องการ (ดูบทความ: จับภาพความเคลื่อนไหวของสัตว์ป่าด้วยการควบคุมความเร็วชัตเตอร์) แต่สำหรับภาพนี้ ผมต้องการจับภาพความแตกต่างระหว่างการหยุดนิ่งกับการเคลื่อนไหว

ดังนั้น ผมจึงใช้ฟิลเตอร์ ND แบบปรับได้ โดยเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลงมากถึง 2 วินาที วิธีนี้ช่วยให้จับภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวได้ ซึ่งสร้างความแตกต่างระหว่างนกกระเรียนที่หลับสนิทกับพวกที่ตื่นแล้วและกำลังเคลื่อนไหว

 

ขั้นตอนที่ 2: ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อเพิ่มความมีมิติให้กับภาพของคุณ

ถ้าคุณอยากท้าทายตัวเอง ก็สามารถลองถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้เช่นกัน! และนี่คือภาพที่ผมได้:

ภาพนกกระเรียนแบบแพนกล้อง (ส่วนหัวอยู่นอกภาพ)

(ถ้าต้องการถ่ายให้ดีกว่านี้ ลองอ่านเคล็ดลับการแพนกล้องสำหรับการถ่ายภาพที่สื่อถึงการเคลื่อนไหวของนกป่าที่กำลังโผบิน)


อย่าลืม: พิจารณาถึงความสมดุลโดยรวมเมื่อคุณเลือกความเร็วชัตเตอร์

สำหรับภาพนี้ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ จะทำให้นกกระเรียนที่กำลังเคลื่อนไหวดูพร่ามัวมากจนเลือนหายไปเลย 

นอกจากนี้ อย่าลืมว่าความเร็วชัตเตอร์จะส่งผลกระทบต่อด้วยองค์ประกอบอื่นๆ ที่กำลังเคลื่อนไหวในภาพของคุณด้วยเช่นกัน ผมไม่ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพราะผมชอบลักษณะของกระแสน้ำในแม่น้ำเวลาที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 2 วินาที 

 

อ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพนกด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ที่:
วิธีถ่ายภาพนกในธรรมชาติให้ดูน่าทึ่งด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

ดูเทคนิคการใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้เพิ่มเติมได้ที่:
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ – ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าภายใต้แสงอาทิตย์
เทคนิคการถ่ายภาพมาโครเทเลโฟโต้: สร้างจุดสนใจให้ใบไม้ธรรมดาๆ
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (3): ดึงความสามารถสูงสุดของเลนส์มาใช้

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yukihiro Fukuda

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1965 การไปเยือนฮอกไกโดของ Fukuda เพื่อตามหานกกระเรียนญี่ปุ่นที่เขาชื่นชอบได้นำเขามาสู่การเป็นช่างภาพสัตว์ป่า หลังจากใช้เวลา 10 ปีในการถ่ายภาพสัตว์ป่าในฮอกไกโด Fukuda เริ่มขยับขยายขอบเขตของเขาไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงการถ่ายภาพใต้น้ำ ปัจจุบัน การถ่ายภาพสัตว์ป่า ภาพใต้น้ำ และทิวทัศน์กลายมาเป็นกิจกรรมหลักของเขา

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา