ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด จุดโฟกัส: การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับฉากต่างๆ- Part6

f/5.6: ค่ารูรับแสงที่มีประโยชน์ในการถ่ายภาพแนวสตรีท

2019-12-11
5
13.96 k
ในบทความนี้:

ในการถ่ายภาพแนวสตรีท ค่ารูรับแสงที่เหมาะสมคือค่าที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพตัวแบบที่หลากหลายได้อย่างสวยงาม เนื่องจากให้ระยะชัดปานกลาง เราจึงสามารถใช้ค่า f/5.6 ถ่ายภาพได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่ภาพระยะใกล้ไปจนถึงระยะเทเลโฟโต้ เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของค่า f นี้ในบทความนี้กัน (เรื่องโดย Teppei Kohno)

อาคารบนถนน

f/5.6, 1/640 วินาที, ISO 200

 

ค่ารูรับแสงเริ่มต้นแบบใดดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพแนวสตรีท

ในการถ่ายภาพแนวสตรีท คุณมักจะไม่มีเวลาเปลี่ยนการตั้งค่าของกล้องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสที่พบโดยบังเอิญตามท้องถนนไปจนถึงช่วงเวลาที่สามารถถ่ายภาพได้สวยงามซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน โอกาสในการถ่ายภาพของคุณมักเป็นชั่วขณะสั้นๆ ที่รอไม่ได้ เพียงเสี้ยววินาทีที่คุณใช้ไปกับการปรับการตั้งค่าของกล้องอาจหมายถึงโอกาสในการถ่ายภาพที่หลุดลอยไป

ดังนั้น ค่ารูรับแสงที่สมบูรณ์แบบ (ในโหมด Aperture-priority AE) คือค่าที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ดีที่สุดของตัวแบบและฉากต่างๆ ได้หลากหลายประเภทมากที่สุด

หากไม่ใช้เอฟเฟ็กต์สร้างสรรค์ “ภาพที่ดีที่สุด” โดยทั่วไปหมายถึงภาพที่มีความคมชัด และมีตัวแบบที่อยู่ในโฟกัสอย่างชัดเจน ผมพบว่า f/5.6 เป็นค่ารูรับแสงเริ่มต้นที่ช่วยให้ถ่ายภาพเช่นนี้ได้เพราะ

- ให้ระยะชัดลึกปานกลาง
ตัวแบบที่อยู่ด้านหน้าห่างจากคุณปานกลางมีความคมชัดและเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน แต่ยังมีเอฟเฟ็กต์โบเก้จางๆ ซึ่งช่วยในการดึงความสนใจของผู้ชมไปยังตัวแบบ ซึ่งเป็นเช่นนี้กับทุกทางยาวโฟกัส ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพในระยะใกล้หรือระยะเทเลโฟโต้

- มีความกว้างพอที่จะถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงในระดับหนึ่ง
ซึ่งจะช่วยป้องกันการสั่นไหวของกล้อง ตัวอย่างเช่น ภาพที่ด้านบนสุดของหน้า ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/640 วินาที ซึ่งเพียงพอสำหรับการหยุดการเคลื่อนไหวของยานพาหนะต่างๆ

f/5.6

ภาพท้องถนนที่มีคนเดินผ่านไปมาและมีโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์

f/5.6, 1/1600 วินาที, ISO 200
ถ่ายที่ค่า f/5.6 ภาพแนวสตรีทดูเป็นธรรมชาติเนื่องจากในภาพมีเอฟเฟ็กต์โบเก้เพียงเล็กน้อยมากเท่านั้น

f/2.2

f/2.2, 1/8000 วินาที, ISO 200
ถ่ายที่ค่า f/2.2 มีส่วนที่อยู่นอกโฟกัสมากกว่า ซึ่งอาจทำให้ภาพดูไม่เป็นธรรมชาติ

 

เทคนิคพิเศษ: ใช้การจัดองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุมเพื่อให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหว

การรักษาระดับแนวนอนและระดับแนวตั้งเป็นหลักการที่สำคัญของการจัดองค์ประกอบภาพ ภาพแรกที่คุณเห็นด้านล่างใช้หลักการดังกล่าว จะเห็นว่าเส้นในแนวนอนของถนนและเส้นในแนวตั้งที่เกิดจากตัวอาคารอยู่ในแนวตรงสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ภาพดูมั่นคง

อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงเช่นนี้อาจทำให้ภาพดูนิ่งเฉยและน่าเบื่อเกินไป วิธีหนึ่งที่ช่วยได้แม้จะใช้ค่ารูรับแสงเท่าเดิมคือ การเอียงกล้องเล็กน้อยเพื่อให้แนวเส้นต่างๆ อยู่ในองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมแทน

เคล็ดลับ: ลองใช้เคล็ดลับนี้ถ่ายตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน แล้วดูว่าภาพที่ได้เปลี่ยนไปอย่างไร แล้วแบ่งปันภาพของคุณได้ที่ My Canon Story เพื่อร่วมลุ้นโอกาสในการตีพิมพ์กับเรา


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม โปรดดูที่บทความนี้
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 2): การจัดองค์ประกอบแบบกึ่งกลางและตามเส้นแนวทแยงมุม

อาคารด้านหน้าทางม้าลายในแนวตรงสมบูรณ์

ภาพถ่ายที่มีทางม้าลายอยู่ในแนวนอน องค์ประกอบภาพมีความสมดุลที่ดี แต่ไม่สื่อถึงการเคลื่อนไหว

ภาพอาคารที่เอียง

ภาพถ่ายที่มีทางม้าลายอยู่ในแนวเอียง ซึ่งมีการเน้นเส้นสีขาวบนทางข้ามเพื่อสื่อถืงจังหวะการเคลื่อนไหวในภาพ

---

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำทีละขั้นตอน

---

หากคุณต้องการถ่ายภาพสตรีทที่ไม่เหมือนใคร การรู้จักวิธีใช้กล้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดช่วยคุณได้! ลองดูไอเดียได้จากบทความต่อไปนี้
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS 80D: ภาพแนวสตรีท
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง
3 วิธีในการใช้ EOS M6 เพื่อเก็บภาพทิวทัศน์เมืองให้สวยมีสไตล์
 

เลนส์เดี่ยวมาตรฐาน ความเร็วสูง คมชัด และน้ำหนักเบาเป็นเลนส์ที่ช่างภาพผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพสตรีทต้องมีไว้ใช้ ต่อไปนี้คือเลนส์ที่คุณอาจจะอยากเพิ่มเข้าไปในชุดอุปกรณ์ของคุณ
ความประทับใจจากการใช้เลนส์: RF35mm f/1.8 Macro IS STM ในการถ่ายภาพแนวสตรีท
การทดลองใช้ EF-S35mm f/2.8 Macro IS STM
EF50mm f/1.8 STM: รีวิวพร้อมเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประโยชน์
EF-S24mm f/2.8 STM: เลนส์แพนเค้กที่ช่วยให้เกิดมุมมองใหม่ๆ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา