ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด จุดโฟกัส: การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับฉากต่างๆ- Part7

f/8: การถ่ายทอดรายละเอียดของอาคารและโครงสร้างต่างๆ

2020-01-08
6
6.01 k
ในบทความนี้:

หากคุณต้องการถ่ายภาพสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ที่อยู่ไกลออกไปเล็กน้อย เช่น โรงงานหรืออาคารต่างๆ เราขอแนะนำให้ใช้ค่า f/8 ภาพที่คุณถ่ายได้จะมีส่วนที่อยู่นอกโฟกัสน้อยที่สุดและมีรายละเอียดคมชัดตลอดทั้งเฟรม นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าค่า f/8 นั้นเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติและภาพแนวสตรีทอีกด้วย (เรื่องโดย Teppei Kohno)

f/8, 13 วินาที, ISO 400

 

ค่า f/8 ช่วยคงรายละเอียดของสิ่งปลูกสร้างให้คมชัด ตราบเท่าที่คุณไม่อยู่ไกลจนเกินไป!

เมื่อถ่ายภาพท้องถนน อาคาร และโรงงานต่างๆ สิ่งที่คุณต้องการคือการถ่ายทอดพื้นผิวคอนกรีตและโลหะให้ดูคมชัด เมื่อใช้ค่ารูรับแสง f/8 ตราบเท่าที่ตัวแบบของคุณไม่อยู่ใกล้จนเกินไป (ยกตัวอย่างเช่น อยู่ห่างออกไปอย่างน้อยราว 8.25 ม.* เมื่อใช้เลนส์ EF50mm f/1.8 STM และกล้องเซนเซอร์ APS-C ซึ่งโดยประมาณแล้วเทียบเท่ากับอาคารที่อยู่อีกฟากหนึ่งของถนนสองเลน) ระยะชัดที่ f/8 จะเพียงพอต่อการรักษาความคมชัดของภาพได้จนถึงระยะอนันต์ และสามารถถ่ายทอดพื้นผิวของส่วนที่เป็นโลหะได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ทำให้ภาพที่ได้ดูเหมือนจริง

* คำนวณโดยใช้ครึ่งหนึ่งของระยะชัดสุดพิสัย ระยะชัดสุดพิสัย (Hyperfocal distance) คือระยะโฟกัสใกล้สุดที่ให้ระยะชัดสูงสุดและขึ้นอยู่กับการตั้งค่ารูรับแสง ขนาดของเซนเซอร์กล้อง และทางยาวโฟกัส ลองใช้เครื่องมือคำนวณระยะชัด (ฉบับภาษาอังกฤษ) นี้เพื่อดูผลที่ได้จากการใช้ทางยาวโฟกัสอีกแบบหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว ระยะชัดสุดพิสัยจะเพิ่มขึ้นตามทางยาวโฟกัส

รูรับแสงที่แคบเกินไปอาจให้ผลตรงกันข้าม

หากตัวแบบอยู่ในระยะไกลมาก การลดขนาดรูรับแสงลงมากกว่า f/8 จะไม่ทำให้ความคมชัดของภาพแตกต่างไปจากเดิมมากนัก ความจริงแล้ว การใช้รูรับแสงที่แคบเกินไปอาจทำให้ภาพสูญเสียความคมชัดเนื่องจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การเลี้ยวเบน” ซึ่งคลื่นแสงที่เดินทางเข้าสู่เลนส์จะถูกม่านรูรับแสงกั้นไว้จนเกิดการโค้งงอ ทำให้ภาพมีความคมชัดน้อยลง

หากคุณรู้สึกว่าระยะชัดที่ f/8 นั้นไม่กว้างพอ คุณสามารถปรับรูรับแสงให้แคบลงได้เล็กน้อย แต่ให้ค่อยๆ ปรับอย่างระมัดระวัง ช่างภาพส่วนใหญ่จะไม่ปรับค่ารูรับแสงให้แคบกว่า f/11 เว้นแต่จะมีเหตุผลจำเป็น เช่น ต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงและคุณภาพของภาพเป็นสิ่งสำคัญรองลงมา 

ภาพทั้งสามด้านล่างซึ่งถ่ายด้วยค่า f/2, f/8, และ f/22 ตามลำดับแสดงให้เห็นว่ารูรับแสงส่งผลต่อความคมชัดอย่างไร


f/2

ภาพโรงงานเมื่อใช้ค่า f/2

f/2, 1/4 วินาที, ISO 800

ระยะใกล้ (f/2)

ที่ f/2 เส้นต่างๆ จะดูเบลอ (“นุ่มนวล”) เนื่องจากระยะชัดตื้น การเปลี่ยนเป็นสีม่วง (สีเพี้ยน) ในภาพเป็นสัญญาณของความคลาดสีตามแกน ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยกว่าในภาพที่ถ่ายโดยใช้รูรับแสงกว้าง


f/8

ภาพโรงงานเมื่อใช้ค่า f/8

f/8, 4 วินาที, ISO 800

ภาพโคลสอัพ (f/8)

ที่ f/8 เส้นดูมีความชัดเจนและคมชัดมากกว่า


f/22

ภาพโรงงานเมื่อใช้ค่า f/22

f/22, 30 วินาที, ISO 800

ภาพโคลสอัพ (f/22)

ที่ f/22 แสงเกิดเป็นแฉกแสงที่สวยงาม อย่างไรก็ตาม เส้นต่างๆ ดูมีความนุ่มนวลเนื่องจากการเลี้ยวเบนของแสงจากรูรับแสงที่แคบ


นี่คือภาพ GIF ของภาพโคลสอัพเปรียบเทียบกัน คุณเห็นความแตกต่างหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเส้นเค้าโครง

ภาพ GIF แสดงภาพโคลสอัพที่ถ่ายด้วย f/2, f8, f/22

เคล็ดลับ: หากส่วนประกอบต่างๆ ในฉากอยู่ไกลออกไปเล็กน้อย คุณอาจต้องใช้เทคนิคโฟกัสชัดลึก ลองเริ่มต้นด้วยค่า f/11 

 

เทคนิคพิเศษ: เพิ่มบรรยากาศความเป็นโลหะด้วย ‘สมดุลแสงขาว-หลอดไฟทังสเตน’

เมื่อแสงสว่างรอบตัวแบบมีสีเพี้ยนแปลกตา เช่น ในตัวอย่างภาพด้านบนสุด คุณสามารถลองใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาว (WB) ได้ สุดท้ายแล้วคุณอาจได้ภาพถ่ายที่มีเอฟเฟ็กต์ภาพแตกต่างไปจากฉากจริง สำหรับภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนเช่นนี้ เราขอแนะนำการตั้งค่าแบบ “หลอดไฟทังสเตน” ซึ่งจะเพิ่มเฉดสีฟ้าและเปลี่ยนภาพทิวทัศน์กลางคืนของโรงงานที่ดูไม่มีชีวิตชีวาให้เป็นภาพที่สื่อถึงความรู้สึกเหนือจริงและเยือกเย็น


โรงงานที่มีสีโทนอุ่น

f/8, 13 วินาที, ISO 250
WB-อัตโนมัติ: ภาพนี้ให้ความรู้สึกที่เหนือจริงแต่ยังขาดความโดดเด่น


โรงงานที่มีสีโทนเย็น

f/8, 13 วินาที, ISO 250
WB-หลอดไฟทังสเตน: ให้ความรู้สึกถึงโลกแห่งอนาคต โทนสีมีส่วนช่วยในการสร้างบรรยากาศของภาพ

--

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำทีละขั้นตอน

---

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวและวิธีการปรับแต่งได้ที่บทความ:
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวช่วยสร้างโทนสีได้ดังใจนึก
วิธีการแสดงสีด้วยฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาคารและสถาปัตยกรรม โปรดดูที่:
เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ: เพิ่มชีวิตชีวาให้กับภาพถ่ายอาคารและโรงงาน
เคล็ดลับระดับมือโปรเพื่อปรับปรุงการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมจากระดับพื้นถนน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา