ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (1): อุปกรณ์จัดแสง

2017-10-05
3
8.27 k
ในบทความนี้:

การจัดแสงคือปัจจัยสำคัญในการกำหนดระดับความสมบูรณ์แบบของภาพถ่ายคอสเพลย์ อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายภาพมีให้เลือกหลากหลายแบบ การเลือกอย่างระมัดระวังและใช้งานให้เหมาะสมกับฉากมากที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในส่วนถัดไป ผมจะแนะนำอุปกรณ์จัดแสงซึ่งช่างภาพชั้นนำใช้ในการถ่ายภาพคอสเพลย์ (เรื่องโดย: Suna, นางแบบ: Yu, Kanata)

 

คุณจะต้องใช้แฟลช 2 ตัวในการถ่ายภาพคอสเพลย์

ในการถ่ายภาพคอสเพลย์นั้นมีการใช้อุปกรณ์จัดแสงอยู่เพียงไม่กี่ประเภท ซึ่งสามารถจำแนกได้ตามความเข้มของแสงและวิธีการกระจายแสง หากคุณเป็นช่างภาพอิสระ การหาซื้ออุปกรณ์ถ่ายภาพมากมายมาเป็นของตัวเองอาจเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ดี การจัดแสงสามารถสร้างความแตกต่างให้กับภาพที่ได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดคุณควรมีแฟลชสักสองตัวแม้ว่าจะเป็นแฟลชในตัวกล้องก็ตาม เพราะการจัดวางไฟสองดวงคือการเตรียมการขั้นพื้นฐานที่สุดสำหรับการถ่ายภาพประเภทดังกล่าว หรือคุณอาจพิจารณาเช่าอุปกรณ์ได้หากจำเป็น

 

แฟลชภายนอก

แฟลชคืออุปกรณ์ที่ให้แสงพร้อมๆ กับการลั่นชัตเตอร์ขณะถ่ายภาพ โดยมากแฟลชสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่ แฟลชในตัวกล้องที่มีขนาดกะทัดรัดและใช้แบตเตอรี่ ซึ่งสามารถนำไปต่อเข้ากับฐานเสียบแฟลช และแฟลช Monolight ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งให้ความเข้มของแฟลชที่สูง โดยทั่วไป การถ่ายภาพคอสเพลย์มักใช้แฟลชในตัวกล้อง เนื่องจากมีขนาดพกพาสะดวกและง่ายต่อการซื้อหาไว้ใช้งานหลายตัว นอกจากนี้ ในตลาดยังมีอุปกรณ์เสริมหลากหลายรูปแบบให้คุณสามารถนำไปต่อเข้ากับแฟลช เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายได้มากยิ่งขึ้น

 

แฟลชในตัวกล้อง
แฟลชในตัวกล้อง เช่น Speedlite (ฉบับภาษาอังกฤษ) ใช้งานแบตเตอรี่และมักต้องติดตั้งเข้ากับกล้องเมื่อใช้งาน อย่างไรก็ดี เมื่อใช้ระบบสั่งงานด้วยคลื่นวิทยุ (ควบคุมแบบไร้สาย) เราสามารถตั้งแฟลชให้อยู่ห่างจากกล้อง และสามารถยิงแฟลชได้หลายตัวพร้อมกัน

Speedlite

 

Monolight
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไฟสโตรบ Monoblock (หรือ ‘Monobloc’) Monolight ไม่สะดวกในการพกพา และจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟเพื่อใช้งาน แต่ให้แสงสว่างปริมาณมากและมีระยะเวลาที่สั้นมากในการกลับมาพร้อมใช้งาน Monolight มักนิยมใช้สำหรับถ่ายภาพในสตูดิโอ

แฟลช Monoblock

 

อุปกรณ์กระจายแสง

อุปกรณ์กระจายแสงเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแฟลชเพื่อช่วยในการกระจายแสง เนื่องจากแสงเดินทางเป็นเส้นตรงเท่านั้น อุปกรณ์กระจายแสงจึงช่วยกระจายแสงในพื้นที่กว้างได้อย่างทั่วถึง และเพิ่มความนุ่มนวลให้กับภาพถ่าย อุปกรณ์กระจายแสงสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทให้การกระจายแสงที่แตกต่างกัน ในส่วนต่อไปนี้ เราจะมาดูลักษณะพิเศษของอุปกรณ์กระจายแสงประเภทต่างๆ กัน

อุปกรณ์กระจายแสง

ต้องเข้าใจก่อนว่า “อุปกรณ์กระจายแสง” ไม่ใช่หมวดของผลิตภัณฑ์ แต่เป็นคำทั่วไปที่หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการกระจายแสงได้

 

อุปกรณ์กระจายแสงเปลี่ยนโฉมภาพถ่ายของคุณได้อย่างไร

ไม่ใช้อุปกรณ์กระจายแสง

ภาพคอสเพลย์ (ไม่ใช้อุปกรณ์กระจายแสง)

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 54mm/ Manual (f/2.8, 1/160 วินาที)/ ISO 100/ WB: Manual - 5000K
แสงแฟลชส่องลงบนตัวแบบบางส่วน ทำให้ภาพถ่ายมีการกระจายแสงที่ไม่ดีนัก

ใช้อุปกรณ์กระจายแสง

ภาพคอสเพลย์ (ใช้อุปกรณ์กระจายแสง)

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 43mm/ Manual (f/5.6, 1/160 วินาที)/ ISO 400/ WB: Manual - 5000K
แสงส่องลงบนตัวแบบอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ภาพถ่ายมีความสมดุลและดูนุ่มนวล

 

ประเภทของอุปกรณ์กระจายแสง

ซอฟต์บ็อกซ์
เป็นอุปกรณ์กระจายแสงที่นิยมใช้กันมากที่สุด และช่วยให้แสงที่เปล่งออกมาจากแฟลชนุ่มนวลขึ้น

อุปกรณ์กระจายแสงแบบซอฟต์บ็อกซ์

 

ร่มกระจายแสง
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ร่มทะลุ (Shoot-through umbrella) ร่มกระจายแสงใช้สำหรับกระจายแสงที่ส่องผ่านร่มไปในบริเวณกว้าง

ร่มทะลุ

 

สตริปซอฟต์บ็อกซ์ (Strip softbox)
สตริปซอฟต์บ็อกซ์คืออุปกรณ์รูปทรงสี่เหลี่ยมยาวๆ เหมาะสำหรับถ่ายภาพพอร์ตเทรตแบบเต็มตัว และเป็นตัวเลือกยอดนิยมในการถ่ายภาพคอสเพลย์

สตริปซอฟต์บ็อกซ์

 

Beauty dish

Beauty dish สามารถกระจายแสงในพื้นที่ที่แคบกว่าซอฟต์บ็อกซ์ และนิยมใช้กับพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อยหรือเน้นรายละเอียดส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวแบบ ลักษณะพิเศษนี้ทำให้อุปกรณ์ชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพคอสเพลย์ซึ่งมักมีฉากที่แปลกใหม่

Beauty dish

 

ตัวอย่างภาพที่ถ่ายโดยใช้การจัดแสงด้วย Beauty dish
เราสามารถใช้ Beauty dish เพื่อจำกัดปริมาณแสงได้ นี่จึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับขับเน้นบรรยากาศของพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพคอสเพลย์ที่ถ่ายโดยใช้ Beauty dish

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 45mm/ Manual (f/5.6, 1/160 วินาที)/ ISO 400/ WB: Manual - 5000K

 

ผ้ากระจายแสง

ผ้ากระจายแสงอาจเป็นวัสดุที่มีความบางจนแสงสามารถส่องทะลุได้ เช่น ผ้าก๊อซหรือตาข่าย แม้ว่าจะใช้งานได้จำกัดเนื่องจากกินพื้นที่มาก แต่ผ้ากระจายแสงให้แสงที่นุ่มนวลและกระจายไปในพื้นที่ที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับอุปกรณ์กระจายแสงประเภทบ็อกซ์ ผ้ากระจายแสงปกติจะติดตั้งโดยใช้ขาตั้งไมโครโฟน

ผ้ากระจายแสง

ผ้ากระจายแสงมีขายทั่วไป แต่คุณสามารถใช้ผ้าที่แสงสามารถส่องทะลุแทนได้

 

ตัวอย่างที่ถ่ายโดยใช้การจัดแสงด้วยผ้ากระจายแสง
ในตัวอย่างนี้ มีการใช้ร่มทะลุร่วมกับผ้ากระจายแสงเพื่อทำให้แสงกระจายตัวทั่วพื้นที่อย่างนุ่มนวล จึงทำให้สีผิวของตัวแบบดูเรียบเนียนยิ่งขึ้น

ภาพคอสเพลย์ ถ่ายด้วยผ้ากระจายแสง

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 70mm/ Manual (f/7.1, 1/160 วินาที)/ ISO 200/ WB: Manual - 5000K

 

กริด

กริดหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Grid spot คืออุปกรณ์เสริมที่มีรูปร่างคล้ายตะแกรงสำหรับต่อเข้ากับแฟลชหรือซอฟต์บ็อกซ์ กริดสามารถใช้ควบคุมพื้นที่ที่จะส่องแสงไปและกระจายแสงในพื้นที่แคบกว่าเดิมได้ อุปกรณ์เสริมนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อเราจำเป็นต้องควบคุมเงาในระหว่างการถ่ายภาพ

กริด

กริดที่แสดงด้านบนสำหรับติดเข้ากับซอฟต์บ็อกซ์

 

ไม่ใช้กริด

ถ่ายโดยใช้ซอฟต์บ็อกซ์ ไม่ใช้กริด

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/5.6, 1/160 วินาที)/ ISO 400/ WB: Manual - 5000K
แสงจากซอฟต์บ็อกซ์สามารถกระจายได้เป็นวงกว้าง

ใช้กริด

ถ่ายโดยใช้ซอฟต์บ็อกซ์และกริด

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/5.6, 1/160 วินาที)/ ISO 400/ WB: Manual - 5000K
ในภาพนี้แสงจะส่องในบริเวณที่แคบกว่าเมื่อเทียบกับภาพทางซ้าย

 

กริดและพื้นที่รับแสง
กริดรูปตาข่ายที่ต่อเข้ากับแฟลชยังเรียกอย่างหนึ่งว่ากริดรังผึ้ง (Honeycomb grid) เนื่องจากมีลักษณะเหมือนกับรังผึ้ง ตาข่ายที่เรียงตัวกันแน่นมากขึ้นนั้นจะช่วยลดพื้นที่ที่รับแสงลง ดังนั้น หากเตรียมกริดไว้หลายๆ ชิ้นสำหรับใช้กับพื้นที่รับแสงที่แตกต่างกัน คุณจะสามารถเลือกถ่ายภาพที่เหมาะสมตามสถานการณ์ได้

 

อีกตัวอย่างหนึ่งของกริด

เราสามารถทราบถึงพื้นที่รับแสงของกริดได้จาก "มุม" ซึ่งจะระบุไว้ในชื่อหรือรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมุมที่เล็กลงจะแสดงถึงพื้นที่รับแสงที่แคบลงนั่นเอง

 

หากคุณเป็นมือใหม่สำหรับการถ่ายภาพด้วยแฟลชภายนอก โปรดอ่านบทความต่อเนื่องต่อไปนี้
จุดโฟกัส: พื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพด้วยแฟลชเสริม

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Suna (@sandmu963)

Suna ทำงานเป็นช่างภาพในวันธรรมดาเสียส่วนใหญ่และนำเทคนิคถ่ายภาพใหม่ๆ มาใช้อยู่เสมอ อีกทั้งยังเผยแพร่คำอธิบายที่เรียบเรียงอย่างดีและเข้าใจง่ายผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น Twitter อีกด้วย

Yu (@yu_know_what)

ชาวคอสเพลย์ผู้กำลังร่วมโปรเจกต์แต่งคอสเพลย์หลายโปรเจกต์ อาทิ Fate, Danganronpa และ Hatsune Miku ในขณะนี้ เธอโด่งดังมากจากผลงานภาพถ่ายที่เน้นฉากในภาพยนตร์ต่างๆ

Kanata (@HakusuiKanata)

Kanata เป็นทั้งชาวคอสเพลย์และศิลปินสมัยใหม่ที่เชี่ยวชาญด้านศิลปะทรงรูป (Plastic arts) เขามีชื่อเสียงจากพื้นผิวอาวุธและอุปกรณ์ป้องกันที่มีรายละเอียดมาก นอกจากนี้ Kanata ยังเป็นชาวคอสเพลย์อย่างเป็นทางการให้กับอะนิเมะเรื่อง “Kabaneri of the Iron Fortress”

Genkosha Co.

สำนักพิมพ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือและนิตยสารเกี่ยวกับวิดีโอ การถ่ายภาพ และภาพประกอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา