ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 3] เรียนรู้เกี่ยวกับรูรับแสง

2019-01-16
34
73.94 k
ในบทความนี้:

ในทางออปติกส์ “รูรับแสง” หมายถึง กลุ่มม่านเล็กๆ ที่ติดตั้งไว้ในเลนส์และควบคุมปริมาณแสงที่เข้าสู่เลนส์ แม้ขนาดจะเล็ก แต่รูรับแสงมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการถ่ายทอดภาพถ่าย (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

ภาพแบนเนอร์การเรียนรู้เกี่ยวกับรูรับแสง

 

รูรับแสงคืออะไร

คำว่า “Aperture” หมายถึง “ช่อง” หรือ “รูรับแสง” เรามักใช้คำว่า “รูรับแสง” เพื่อพูดถึงตัวเลขค่า f (ค่า f /f-stop/ การตั้งค่ารูรับแสง) ในกล้อง อย่างไรก็ดี รูรับแสงยังหมายถึง ช่องเปิดในเลนส์ (“ไดอะแฟรมรูรับแสง”) ที่ประกอบด้วยม่าน (“ม่านรูรับแสง”) จำนวนหนึ่ง ซึ่งช่วยให้แสงสามารถเข้าสู่เลนส์และไปถึงเซนเซอร์ 

โดยส่วนใหญ่ไดอะแฟรมรูรับแสงจะทำหน้าที่:

1. ควบคุมปริมาณแสงที่เข้าสู่กล้อง
2. ควบคุมขนาดของพื้นที่ในโฟกัส (ระยะชัด) หรือความเบลอในแบ็คกราวด์หรือโฟร์กราวด์

 

ความสัมพันธ์ระหว่างช่องรูรับแสงและค่า f

ค่า f เป็นค่าที่ระบุขนาดช่องที่เกิดจากม่านรูรับแสง 
เมื่อคุณเปลี่ยนค่า f ในกล้องหรือเมื่อกล้องปรับค่า f ขนาดของไดอะแฟรมรูรับแสงจะเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปริมาณแสงที่เข้าสู่เซ็นเซอร์ภาพเช่นกัน

เมื่อไดอะแฟรมรูรับแสง “เปิด” ปริมาณแสงจะเข้าสู่เซ็นเซอร์ภาพได้มาก
และเมื่อไดอะแฟรมรูรับแสง “ปิด” ช่องรูรับแสงจะแคบลงและปริมาณแสงจะเข้ามาได้น้อยลง

 

ความสัมพันธ์ระหว่างช่องรูรับแสงกับค่ารูรับแสง

ยิ่งช่องรูรับแสงแคบลง ตัวเลขค่า f จะสูงขึ้น การปรับช่องรูรับแสงนี้เรียกว่า “เปิดรูรับแสงกว้างขึ้น” หรือ “ลดขนาดรูรับแสงลง”

อ่านรายละเอียดได้ใน พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #1: รูรับแสง

เคล็ดลับ: ค่า f น้อยๆ ใช้ได้ผลดีกว่าสำหรับการถ่ายภาพในที่ที่แสงน้อย เนื่องจากเปิดรับแสงเข้ามามากกว่า

 

ความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงกับระยะชัด

นอกจากจะทำหน้าที่เหมือนวาล์วควบคุมแสงแล้ว รูรับแสงยังสามารถใช้ปรับพื้นที่ในระยะโฟกัสด้วย (ระยะชัด)

เมื่อรูรับแสงแคบ ระยะชัดจะกว้าง ซึ่งทำให้ตัวแบบที่อยู่ในโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์อยู่ในโฟกัสทั้งหมด

เมื่อรูรับแสงเปิดกว้าง (รูรับแสงกว้างสุด) ระยะชัดจะตื้น
หากตัวแบบอยู่ในส่วนโฟร์กราวด์และคุณตั้งโฟกัสไว้ที่ตัวแบบ คุณสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ที่เรียกว่า โบเก้ (แบ็คกราวด์เบลอ) ได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์ ตัวแบบจึงมีความคมชัดและแบ็คกราวด์เบลอ 

เคล็ดลับ:
- หากมีวัตถุบางอย่างอยู่ด้านหน้าตัวแบบ คุณสามารถใช้รูรับแสงกว้างสุดเพื่อเบลอวัตถุดังกล่าวและสร้างโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์
- เมื่อระยะชัดตื้น ควรระวังจุดที่คุณจับโฟกัส เพราะบางส่วนของตัวแบบอาจอยู่นอกระยะโฟกัสได้ อ่านบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพใบหน้า เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดที่ควรโฟกัสสำหรับภาพพอร์ตเทรตครึ่งตัว 

 

รูรับแสงกว้าง: ระยะชัดตื้น

ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวที่มีโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์

Aperture-priority AE (f/1.8, 1/1000 วินาที, EV±0)

เมื่อคุณถ่ายภาพด้วยรูรับแสงที่เปิดกว้างเต็มที่ พื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสจะแคบลง และแบ็คกราวด์จะเบลออย่างเห็นได้ชัด

 

รูรับแสงแคบ: ระยะชัดที่กว้างขึ้น

ภาพทิวทัศน์ในเมืองที่มีสะพาน

Aperture-priority AE (f/11, 1/320 วินาที, EV±0)

เมื่อถ่ายภาพด้วยรูรับแสงแคบ ภาพที่ได้จะคมชัดโดยที่ส่วนโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์อยู่ในโฟกัสทั้งหมด

 

ผลกระทบของค่ารูรับแสงที่มีต่อระยะชัด

f/2.8

f/2.8

f/4.0

f/4.0

 
f/5.6

f/5.6

f/8.0

f/8.0

 
f/11

f/11

f/16

f/16

 
f/22

f/22

ในตัวอย่างนี้ ผมจับโฟกัสที่โคมไฟและถ่ายภาพหลายภาพด้วยค่ารูรับแสงหลายระดับ ดังที่เห็นในภาพ พื้นที่ในโฟกัสจะกว้างขึ้นและเอฟเฟ็กต์โบเก้ในแบ็คกราวด์จะลดลง เมื่อตัวเลขค่ารูรับแสงสูงขึ้น พื้นที่ในโฟกัสเช่นนี้เรียกกันว่า “ระยะชัด” ภาพที่มีพื้นที่ในโฟกัสกว้างจะมี “โฟกัสชัดลึก” ขณะที่ภาพที่มีพื้นที่ในโฟกัสน้อยจะมี “โฟกัสชัดตื้น”

 

การเลี้ยวเบนของแสงกับรูรับแสงแคบ

คำแนะนำข้อหนึ่งที่บอกกันบ่อยๆ คือ ควรระมัดระวังการลดขนาดรูรับแสงลงอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเป็นเพราะเมื่อคุณใช้รูรับแสงที่แคบเกินไป จะทำให้เกิดการเลี้ยวเบนของแสงขึ้น

การเลี้ยวเบนของแสงจะเกิดขึ้นเมื่อช่องรูรับแสงแคบมากจนทำให้แสงเลี้ยวเบนขณะผ่านเข้าสู่รูรับแสง ส่งผลให้เกิดแสงสะท้อนที่ผิดปกติรอบๆ ม่านรูรับแสง ซึ่งแสงสะท้อนที่ผิดปกตินี้ส่งผลให้ภาพดูคมชัดน้อยลง

ด้วยเหตุนี้ เมื่อคุณต้องการให้โฟกัสชัดลึก โดยปกติค่ารูรับแสงที่ f/8 ถึง f/11 นับว่าเพียงพอ

 

ผลกระทบจากการเลี้ยวเบนของแสง: f/8 กับ f/22

หอคอยโรงงาน

เมื่อวางกล้องมั่นคงแล้ว ผมถ่ายภาพหลายช็อตจากตำแหน่งเดียวกันโดยเปลี่ยนเฉพาะค่ารูรับแสง ภาพถ่ายสองภาพด้านล่างนี้เป็นภาพขยายของส่วนที่อยู่ในกรอบสีแดง สังเกตว่าภาพที่ถ่ายด้วยค่า f/8 ดูคมชัดกว่าภาพที่ถ่ายด้วยค่า f/22

ภาพหอคอยโรงงานเมื่อใช้ค่า f/8

f/8.0

ภาพหอคอยโรงงานเมื่อใช้ค่า f/22

f/22

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่กล้องและเลนส์ Canon จัดการกับปัญหาการเลี้ยวเบนของแสงและความคลาดของเลนส์อื่นๆ ที่นี่:
EOS-1D X Mark II – การใช้เลนส์ภายในกล้องให้เกิด ประโยชน์สูงสุดเพื่อภาพถ่ายคุณภาพสูง

 

ค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์มีความหมายอย่างไร

ในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป ค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ หมายถึง ความสว่างเมื่อรูรับแสงเปิดกว้างสุด

ส่วนในทางเทคนิค ค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ หมายถึง ค่าฟังก์ชั่นผกผันของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใช้งานจริงของเลนส์นั้นๆ ซึ่งแบ่งตามทางยาวโฟกัส

ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ค่ารูรับแสงกว้างสุด หมายความว่า ยิ่งขนาดของช่องรูรับแสงกว้างมากเท่าใด ค่ารูรับแสงจะน้อยลงเท่านั้น

 

วิธีระบุค่ารูรับแสงกว้างสุดในเลนส์ของคุณ

หากรูรับแสงกว้างสุดของเลนส์มีค่า f/3.5 บนตัวเลนส์ก็จะระบุไว้ว่า “1:3.5”

เลนส์ Canon EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM พร้อมรายละเอียดของค่ารูรับแสงกว้างสุดในกรอบ

ในเลนส์ซูมบางรุ่น ค่ารูรับแสงกว้างสุดอาจเปลี่ยนไปตามทางยาวโฟกัส หากบนเลนส์ซูมระบุไว้ว่า “1:3.5-5.6” หมายความว่า รูรับแสงกว้างสุดมีค่า f/3.5 ที่สุดฝั่งมุมกว้าง และ f/5.6 ที่สุดฝั่งเทเลโฟโต้

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่า f แต่ละค่าและฉากต่างๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไป โปรดดูบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานฟังก์ชัน Aperture-Priority:
#1: ความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงของเลนส์และโบเก้
#2: สร้างโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ให้กับภาพถ่ายครอบครัวที่แสนอบอุ่นและเป็นมิตร
#3: ความมหัศจรรย์ของ f/2.2 ในการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still-life)
#4: การถ่ายภาพใบหน้า (f/2.8)
#5: การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่สมบูรณ์แบบนอกสถานที่ (f/4)
#6: การตั้งค่ารูรับแสงที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพสตรีท (f/5.6)
#7: การตั้งค่ารูรับแสงเพื่อถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่คมชัด (f/8)
#8: ค่ารูรับแสงที่เหมาะกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติให้ดูคมชัดและมีระยะชัดลึก (f/11)
#9: ถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่คมชัดตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวน์จนถึงแบ็คกราวด์ (f/16)

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ นอกจากถ่ายภาพสำหรับงานโฆษณาและนิตยสารทั้งในและนอกญี่ปุ่นแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักรีวิวให้กับ "Digital Camera Magazine" นับตั้งแต่นิตยสารเปิดตัว ตลอดจนตีพิมพ์ผลงานต่างๆ มากมาย ในส่วนของการรีวิวผลิตภัณฑ์และเลนส์ Takahashi เน้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพที่ดึงประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ออกมาผ่านมุมมองและการทดสอบเฉพาะตัวของเขาเอง ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา