ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การประมวลผลภาพ RAW: วิธีขับเน้นโทนสีน้ำเงินในภาพถ่ายช่วง Blue Hour

2018-02-08
2
2.29 k
ในบทความนี้:

หากคุณถ่ายภาพช่วงเวลา Blue Hour ในรูปแบบ RAW คุณสามารถปรับแต่งภาพถ่ายเพื่อให้สีสันสดใสยิ่งขึ้นได้ ต่อไปนี้คือบทเรียนเกี่ยวกับวิธีปรับแต่งภาพดังกล่าวโดยใช้ Digital Photo Professional (DPP) (เรื่องโดย Yuta Nakamura)

ด้านบนคือภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน

EOS 6D Mark II/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 15 วินาที, EV-0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

ภาพถ่ายก่อนผ่านกระบวนการปรับแต่ง

พื้นที่ที่ปรับแต่งใน DPP

พื้นที่ที่ปรับแต่งในระหว่างประมวลผลภาพ RAW
[1] เพิ่มโทนสีน้ำเงินทั่วทั้งภาพเพื่อสื่อถึงความรู้สึกเยือกเย็นของทิวทัศน์เมือง
[2] ตรวจดูให้แน่ใจว่า รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงส่วนมืดต่างๆ ในทิวทัศน์เมืองซึ่งถูกส่วนที่มืดเกินไปในภาพบดบังนั้น สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
[3] ขับเน้นความรู้สึกสว่างคมชัดของช่วงเวลา Blue Hour ในท้องฟ้าที่มีเมฆปกคลุมให้เด่นชัดขึ้น
[4] ปรับให้เส้นเค้าโครงของอาคารและถนนดูชัดเจนโดดเด่น

 

ภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนจากมุมสูงนี้ถ่ายจากจุดชมวิวหลังพระอาทิตย์ตกดินประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีน้ำเงินมากที่สุด แสงไฟในเมืองสว่างไสวแต่สีสันของภาพยังดูค่อนข้างมืดทึม แม้ว่าความเปรียบต่างของภาพทิวทัศน์กลางคืนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใช้แหล่งกำเนิดแสงเทียมหรือไม่ แต่ภาพถ่ายโดยรวมดูมืดทึมไม่สดใส เนื่องจากผมลดปริมาณแสงเพื่อไม่ให้เกิดส่วนที่สว่างเกินไปในภาพ

ในส่วนถัดไป ผมจะใช้การประมวลผลภาพ RAW ด้วย DPP เพื่อทำให้สีสันสดใสขึ้น และเพิ่มความสว่างให้ส่วนที่มืดเพื่อเพิ่มความคมชัด

 

ขั้นตอนที่ 1: ตั้งค่ารูปแบบภาพเป็น "Landscape" (ภาพวิว) เพื่อทำให้สีสันสดใสขึ้น

เพื่อให้ภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนมีสีสันสดใสยิ่งขึ้น ผมเลือกรูปแบบภาพเป็น "Landscape" (ภาพวิว) แม้ว่าสามารถคงการตั้งค่าสมดุลแสงขาวไว้ที่ "Auto" (อัตโนมัติ) ได้ในบางกรณี แต่ผมตั้งค่าอุณหภูมิสีไว้ที่ 4,000K เพื่อเพิ่มโทนสีน้ำเงินที่ช่วยสร้างบรรยากาศของเมืองที่เยือกเย็น นอกจากนี้ยังปรับอุณหภูมิสีไปทางด้านสีแดงม่วงเพื่อขับเน้นแสงยามเย็นของท้องฟ้า แต่ผมไม่ได้ปรับแต่งสีเพิ่มเติมไปกว่านั้น เนื่องจากตั้งใจที่จะเพิ่มความอิ่มตัวของสีในภายหลัง

การปรับอุณหภูมิสีและโทนสี

หลังปรับสมดุลแสงขาวไปที่ "4,000K" แล้ว ผมปรับ M-G ไปที่ "-3.0" เพื่อเพิ่มโทนสีน้ำเงิน

 

ก่อน

ภาพก่อนปรับสมดุลแสงขาว

ผมต้องการสร้างภาพที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็นขึ้น

หลัง

ภาพหลังปรับสมดุลแสงขาว

ตอนนี้โทนสีเป็นสีน้ำเงินมากขึ้นและสดใสยิ่งขึ้นแล้ว

 

ขั้นตอนที่ 2: เพิ่มการตั้งค่า "Shadow" (เงา) เพื่อเพิ่มความสว่างในส่วนที่เป็นเงา

เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ การมี Clipping (ส่วนที่สว่างจ้าเกินไปในพื้นที่ไฮไลต์หรือส่วนที่มืดเกินไปในพื้นที่ที่เป็นเงา) ในระดับหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และคุณจะต้องลดปัญหาดังกล่าวให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ดังนั้น ควรเริ่มจากการถ่ายภาพโดยลดปริมาณแสงลงเหลือเพียงแค่ระดับที่แทบสังเกตไม่เห็นส่วนที่สว่างจ้า จากนั้น เพิ่มการตั้งค่าส่วน "Shadow" (เงา) ในระหว่างการประมวลผลภาพ เพื่อเพิ่มความสว่างให้แก่พื้นที่ที่เป็นเงา และทำให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจนขึ้น และเมื่อต้องการลดส่วนที่สว่างจ้า ให้ลดการตั้งค่าในส่วน "Highlight" (ไฮไลต์)

การปรับการตั้งค่ารายละเอียดใน DPP

การตั้งค่า "Shadow" (เงา) ที่ "4.0" และ "Highlight" (ไฮไลต์) ที่ "-3.0" เพื่อลดความเปรียบต่างในความสว่าง จะสร้างภาพที่ชวนให้นึกถึงภาพ HDR แบบผสานกัน ในภาพนี้ผมตั้งค่า "Color saturation" (ความอิ่มตัวของสี) ไว้ที่ "2.0"

 

ก่อน

ภาพถ่ายมีส่วนที่มืดเกินไป

ส่วนที่มืดเกินไปในพื้นที่ที่เป็นเงา

หลัง

หลังจากปรับส่วนที่มืดเกินไปให้ดีขึ้น

มองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของเมืองได้ชัดเจนหลังจากเพิ่มความสว่าง

 

ขั้นตอนที่ 3: ปรับปรุงคุณภาพของภาพถ่ายด้วย DLO เพื่อเพิ่มความสว่างบริเวณขอบภาพ

ผมเปิดใช้ Digital Lens Optimizer (DLO)(ฉบับภาษาอังกฤษ) เพื่อลดปัญหาคุณภาพของภาพด้อยลงที่บริเวณขอบภาพ พื้นที่ที่มีความบกพร่องอาจดูเหมือนสวยงามดีแล้ว ผมจึงขยายภาพเพื่อตรวจดูเอฟเฟ็กต์ ผมเพิ่มค่า DLO จากการตั้งค่าเริ่มต้น และหยุดที่ค่า "60.0" เนื่องจากไม่สังเกตเห็นความแตกต่างเมื่อใช้ค่าเกินกว่านี้ นอกจากนี้ยังเปิดใช้ "Color blur" (สีเบลอ) และตั้งค่า "Peripheral illumination" (ระดับแสงขอบภาพ) ไปที่ "70.0" ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพของภาพที่บริเวณขอบภาพ และเพิ่มความคมชัดสดใสให้กับท้องฟ้า

เพิ่มความสว่างให้กับบริเวณขอบภาพ

 

"Highlight/shadow warning" (คำเตือนไฮไลต์/เงา) ใน DPP - คุณสมบัติที่มีประโยชน์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Clipping

ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการลดส่วนที่สว่างจ้า เช่น การเปิดการแสดงคำเตือนไฮไลต์ในกล้องหรือตั้งค่าการชดเชยปริมาณแสงแฟลชที่ฝั่งติดลบ อย่างไรก็ดี อาจเกิดส่วนที่สว่างจ้าในระหว่างการประมวลภาพ RAW เช่นกันเมื่อแก้ไขความสว่างหรือปริมาณแสง คุณจึงอาจต้องตรวจสอบในระหว่างการปรับแต่งภาพถ่าย

คุณสมบัติหนึ่งที่เป็นประโยชน์คือ "Highlight/shadow warning" (คำเตือนไฮไลต์/เงา) ใน DPP ซึ่งคุณสามารถกำหนดให้แสดงได้ เพียงแค่เลือก "Highlight/shadow warning" (คำเตือนไฮไลต์/เงา) จากเมนู "Preview" นอกจากนี้ คุณยังสามารถระบุค่าความคมชัดและสีที่ใช้เตือนได้ใน "Highlight/shadow warning display settings" (การตั้งค่าการแสดงคำเตือนไฮไลต์/เงา) ในเมนู "Tools" (เครื่องมือ)

Highlight/shadow warning

 

ขั้นตอนที่ 4: ปรับการตั้งค่า "Sharpness" (ความคมชัด) ในส่วนรายละเอียดเพื่อความคมชัดและโดดเด่น

หลังจากใช้ DLO ผมรู้สึกว่าภาพยังไม่คมชัดอย่างที่ต้องการ แม้จะเพิ่มระดับเอฟเฟ็กต์แล้วก็ตาม ดังนั้น ผมจึงปรับความคมชัดต่างหาก เพื่อให้เส้นเค้าโครงของอาคารและถนนเบื้องล่างดูชัดเจนโดดเด่นขึ้น โดยใช้วิธีเดียวกับการปรับแต่งภาพใน DLO ด้วยการขยายภาพ และทำการปรับพร้อมกับตรวจดูเอฟเฟ็กต์อย่างต่อเนื่อง ในภาพนี้ผมตั้งค่า "Sharpness" (ความคมชัด) ไว้ที่ "8.0" ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรู้สึกคมชัดและโดดเด่นให้กับภาพทิวทัศน์กลางคืนที่่ถ่ายโดยใช้รูรับแสงแคบ

การตั้งค่าเพื่อเพิ่มความคมชัด

ผมเปิดใช้ "Sharpness" (ความคมชัด) และเพิ่มระดับจากค่าเริ่มต้นที่ "4.0" เป็น "8.0" การปรับส่วนไฮไลต์/เงาและใช้ DLO จะส่งผลต่อความคมชัด ดังนั้น ผมจึงตรวจดูผลภาพที่ได้พร้อมกับทำการปรับแต่งในขั้นสุดท้าย

 

ก่อน

เส้นเค้าโครงเห็นไม่ชัดเจน

ผมต้องการให้เส้นเค้าโครงของถนนและอาคารต่างๆ เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

หลัง

เส้นเค้าโครงเห็นชัดเจน

ในภาพนี้จะเห็นเส้นเค้าโครงอย่างชัดเจนแล้ว

 

ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย

หลังกระบวนการปรับแต่งภาพ

ไฟล์ GIF ด้านบนแสดงภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนทั้งก่อนและหลังกระบวนการปรับแต่งภาพ สังเกตว่าไฟล์ต้นฉบับที่มีสีมืดทึมเปลี่ยนเป็นภาพที่สื่อความรู้สึกถึงอนาคต พร้อมกับสมดุลแสงขาวและสีที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย ในภาพต้นฉบับ พื้นที่ทางซ้ายดูมืดกว่าเมื่อเทียบกับถนนที่คึกคักบริเวณกึ่งกลางภาพ แต่การปรับแก้ส่วนที่เป็นเงาในกระบวนการปรับแต่งภาพนั้นช่วยให้ความเปรียบต่างมีความสมดุลและดึงรายละเอียดที่ขาดหายไปบางส่วนออกมา ภาพถ่ายโดยรวมจึงดูคมชัดและทรงพลังมากขึ้น

ภาพนี้ถ่ายผ่านหน้าต่างกระจกที่จุดชมวิวภายในอาคาร ซึ่งยากที่จะขจัดแสงสะท้อนภายในอาคารออกจากบานกระจกในระหว่างขั้นตอนการปรับแต่งภาพ ดังนั้น จึงควรใช้วิธีการถ่ายที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการถ่ายติดแสงสะท้อนในระหว่างถ่ายภาพ

 

อยากถ่ายภาพกลางคืนใช่หรือไม่ คุณอาจสนใจอ่านบทความเหล่านี้:
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา
เคล็ดลับการถ่ายภาพยามค่ำคืน: วิธีใช้รีโมทสวิตช์เพื่อป้องกันกล้องสั่นไหว
ฟังก์ชั่นของกล้องที่มีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนให้ดูแตกต่าง
บทวิจารณ์เลนส์: EF24-70mm f/4L IS USM ในการถ่ายภาพยามค่ำคืน
คำแนะนำที่ห้ามพลาดสำหรับการถ่ายภาพยามค่ำคืนที่น่าตื่นตาตื่นใจ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yuta Nakamura

เกิดที่จังหวัดคานากาวะเมื่อปี 1988 เขาทำงานเป็นช่างภาพทิวทัศน์กลางคืนนับตั้งแต่ปี 2010 ไม่เพียงแค่การถ่ายภาพสถานที่ต่างๆ ในเวลากลางคืนเฉพาะในกรุงโตเกียวเท่านั้น แต่ถ่ายทั่วทั้งญี่ปุ่น และเขายังเปิดเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลสำหรับจุดถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืนชื่อว่า "Nightscape FAN"

http://yakei-fan.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา