ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่ทำให้หมอกสวยงามเตะตา

2018-06-21
11
2.96 k
ในบทความนี้:

เมื่อคุณมีหมอกในฉากทิวทัศน์ของคุณ คุณสามารถดึงความสนใจไปที่หมอกเพื่อทำให้ภาพดูลึกลับและเหนือจริงได้ ช่างภาพมืออาชีพจะเล่าให้เราฟังถึงเทคนิคการจัดองค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายนี้ (เรื่องโดย: Yoshio Shinkai)

ภาพทิวทัศน์ที่ใช้เลนส์เทเลโฟโต้ - ภาพหลัก

EOS 5DS R/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 117 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/45 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

สถานที่ถ่ายภาพ: ทะเลสาบฟุกุชิมะ จังหวัดนีงะตะ ญี่ปุ่น
ทุ่งดอกเรพซีดที่ปกคลุมไปด้วยหมอก ภาพนี้ถ่ายตอนรุ่งสางหลังจากฝนตกในตอนกลางคืน 

 

เคล็ดลับที่ 1: ใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อดึงเอาองค์ประกอบภาพที่น่าสนใจเข้ามา

เรามักเชื่อมโยงทิวทัศน์ธรรมชาติกับเลนส์มุมกว้างบ่อยครั้ง อันที่จริงเลนส์นี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มระยะห่างให้ดูเกินจริงและทำให้ฉากดูกว้างใหญ่ แต่เมื่อผมลองถ่ายภาพด้านบนด้วยเลนส์มุมกว้าง บริเวณที่ปกคลุมด้วยหมอกกลับไม่สามารถดึงดูดความสนใจได้มากนัก

ภาพด้านบนนี้ถ่ายด้วยเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM  หมอก "สวยเตะตา" มากขึ้น เนื่องจากเลนส์เทเลโฟโต้ มีเอฟเฟ็กต์การบีบภาพระยะไกลโดยธรรมชาติ จึงทำให้องค์ประกอบที่อยู่ไกลดูใกล้ผู้ชมมากขึ้น

 

EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM

EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM

เคล็ดลับขั้นสูง: จัดองค์ประกอบภาพอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ภาพดูแบน

เอฟเฟ็กต์การบีบภาพจะสร้างมิติความลึกในบางสถานการณ์เท่านั้น หากสภาวะการถ่ายไม่เหมาะสม เอฟเฟ็กต์นี้อาจทำให้ภาพทั้งภาพดูแบนยิ่งขึ้น ในภาพนี้ ผมต้องแน่ใจว่าองค์ประกอบที่ถ่ายทอดมุมมองแบบบรรยากาศ (Aerial perspective) เช่น ภูเขาและหมอกในระยะไกลกินพื้นที่ส่วนใหญ่ในเฟรมภาพ เอฟเฟ็กต์การบีบภาพจะช่วยเพิ่มมุมมองนี้มากขึ้นโดยการทำให้ผู้ชมมองเห็นรายละเอียดของแบ็คกราวด์

*มุมมองแบบบรรยากาศ: เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Atmospheric perspective หมายถึงการที่สิ่งต่างๆ มีความอิ่มตัวของสีและความเปรียบต่างน้อยลง โดยที่แบ็คกราวด์ดูเหมือนอยู่ห่างจากเรามากขึ้น มุมมองเช่นนี้สามารถใช้เพื่อสร้างมิติความตื้นลึกได้

 

เคล็ดลับที่ 2: อย่าใช้เทเลโฟโต้มากเกินไป เลือกมุมรับภาพที่มีความสมดุลมากที่สุด

ในภาพนี้สิ่งสำคัญคือคุณต้องเลือกมุมรับภาพที่แน่ใจว่าองค์ประกอบต่อไปนี้มีความสมดุล ได้แก่

- พื้นที่ของเฟรมที่มีดอกเรพซีด
- ความรู้สึกกว้างไกลของดอกไม้ในส่วนโฟร์กราวด์
- น้ำหนักทางสายตาของชั้นหมอก

ทางยาวโฟกัสที่ยาวเกินไปจะทำให้ต้นไม้กินพื้นที่ในเฟรมภาพมากเกินไป และเมื่อทางยาวโฟกัสสั้นเกินไปจะทำให้ชั้นของหมอกดึงดูดความสนใจได้น้อยลง

 

ถ่ายที่ 182 มม. ทางยาวโฟกัสยาวเกินไป

ภาพทิวทัศน์ - ทางยาวโฟกัสยาวเกินไป

เมื่อทางยาวโฟกัสยาวเกินไป แถวของต้นไม้จะดูใหญ่ขึ้นและกินน้ำหนักทางสายตามากขึ้น อีกทั้งยังดึงเราเข้าไปใกล้จนเห็นรายละเอียดที่ไม่น่ามอง เช่น วัชพืชและหญ้าแห้งได้ชัดเจนขึ้น

 

ถ่ายที่ 55 มม. ทางยาวโฟกัสสั้นเกินไป

ภาพทิวทัศน์ - มุมกว้าง

แม้ว่าการใช้มุมกว้างจะสามารถถ่ายทอดความกว้างใหญ่ของทิวทัศน์ได้ แต่ภาพที่ได้ยังดูค่อนข้างธรรมดาและไม่สื่อถึงความรู้สึกเหนือจริงแบบเดิม ผมยังอยากให้ภาพของผมมีองค์ประกอบจากฝีมือมนุษย์ด้วย เช่น กระท่อมเล็กๆ ท่ามกลางต้นไม้

 

จุดสำคัญในรายละเอียด: ทำให้น้ำหนักทางสายตามีความเหมาะสม

1. ทำให้หมอกดูน่าสนใจมากขึ้น: เนื่องจากหมอกมีความเปรียบต่างน้อย ผมจึงวางหมอกไว้ตรงกลางเฟรมภาพเพื่อเพิ่มน้ำหนักทางสายตา

2. เก็บรายละเอียดในส่วนโฟร์กราวด์: เพื่อสร้างความน่าสนใจมากขึ้น ผมใช้รูรับแสงแคบ (f/16) เพื่อเก็บภาพดอกเรพซีดสีสันสดใสในทุ่งที่ส่วนโฟร์กราวด์ โดยให้เห็นรายละเอียดของน้ำค้างบนดอกไม้

 

โปรดดูบทความต่อไปนี้สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพทิวทัศน์:
การถ่ายภาพทิวทัศน์ในยามเช้าตรู่: ถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินดี?
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายยามเช้าหรือยามเย็นดีกว่ากัน
การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพแม่น้ำและลำธารในม่านหมอก

อ่านบทเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์เทเลโฟโต้ได้ในบทความต่อไปนี้:
เทคนิคของเลนส์เทเลโฟโต้: การสร้างโบเก้ซ้อนกันหลายชั้น
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ - ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าภายใต้แสงอาทิตย์
การถ่ายภาพต้นซากุระ: ควรถ่ายที่ระยะมุมกว้างหรือเทเลโฟโต้ดี

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshio Shinkai

Shinkai เกิดในจังหวัดนากาโน่ เมื่อปี 1953 เขาเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับกล้องขนาดใหญ่เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในปี 1979 ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพให้กับสื่อหลากหลายประเภท ตั้งแต่โปสเตอร์และปฏิทินไปจนถึงแผ่นพับด้านการท่องเที่ยวและนิตยสารถ่ายภาพ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา