ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

EF16-35mm f/2.8L III USM: ความละเอียดที่ขอบภาพที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก

2017-02-02
7
7.96 k
ในบทความนี้:

เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ EF16-35mm f/2.8L II USM เลนส์ที่ได้ัรับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มช่างภาพมือสมัครเล่นและมืออาชีพเปิดตัวไปเมื่อปี 2007 ไม่ต้องสงสัยเลยว่าตั้งแต่นั้นมา แฟนๆ ก็ตั้งตารอคอยให้เลนส์รุ่นใหม่ออกวางตลาด และแล้วในที่สุดก็ถึงเวลา เมื่อในปี 2016 มีการวางจำหน่ายเลนส์ EF16-35mm f/2.8L III USM ที่พัฒนาความละเอียดที่บริเวณขอบภาพตลอดทั้งช่วงการซูม เราจึงได้ลองทดสอบเลนส์ตัวใหม่นี้และต่อไปนี้คือรายงานของเรา (เรื่องโดย GOTO AKI)

 

เป็นเวลา 10 ปีแล้วนับตั้งแต่ EF16-35mm f/2.8L II USM (ฉบับภาษาอังกฤษ) ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก ในขณะนั้น กล้องต่างๆ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในแง่ของความละเอียดของภาพ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเลนส์รุ่นเก่าไม่สามารถรองรับกล้องรุ่นใหม่ที่มีจำนวนพิกเซลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่ผู้ใช้ EOS มากมายต่างเฝ้ารอคอยการเปิดตัวของ EF16-35mm f/2.8L III USM อย่างใจจดใจจ่อ

ผมได้ทราบว่าเลนส์ตัวใหม่นี้มีการพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเลนส์รุ่นก่อนหน้านี้ได้ ตัวอย่างเช่น สามารถกันรอยเปื้อนได้ดียิ่งขึ้น และไม่สูญเสียความละเอียดที่ขอบภาพ รวมถึงป้องกันแสงแฟลร์และแสงหลอกเมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงย้อนได้ดียิ่งขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมเฝ้ารอคอยที่จะได้สัมผัสด้วยตัวเองมากที่สุดเมื่อผมพกพาเลนส์ออกไปถ่ายภาพ

 

ภาพรวม

เลนส์แสดงรายละเอียดของทิวทัศน์ได้อย่างคมชัดจนถึงบริเวณขอบภาพ

เมื่อใช้เลนส์ EF16-35mm f/2.8L III USM กับกล้อง EOS 5D Mark IV สิ่งแรกที่ผมสังเกตเห็นขณะมองผ่านช่องมองภาพคือ ความชัดเจนและความสว่างที่ดีเยี่ยมของภาพในช่องมองภาพแม้ในวันที่เมฆครึ้ม ซึ่งบ่งบอกว่าเลนส์ตัวนี้สามารถเปิดรับแสงให้ผ่านเข้าสู่เซนเซอร์ได้ดีเพียงใด อีกทั้งยังแทบไม่มีความบิดเบี้ยวหรือสีของภาพจางลงที่บริเวณขอบภาพอีกด้วย

เมื่อใช้เลนส์นี้ถ่ายภาพ ผมสัมผัสได้ด้วยตนเองถึงความละเอียดภาพที่คมชัดซึ่งเลนส์นี้สามารถมอบให้ เนื่องจากสามารถถ่ายภาพลายเส้นที่ละเอียดอ่อนที่สุดของตัวแบบได้ เลนส์นี้ช่วยถ่ายทอดความงามในทุกอณูไปจนถึงขอบภาพ โดยไม่เกิดร่องรอยความบิดเบี้ยวหรือความคลาดสีที่เห็นได้อย่างชัดเจนแต่อย่างใด แม้แต่ในฉากที่เลนส์รุ่นก่อนหน้ามีแนวโน้มว่าจะเกิดความคลาดเลนส์ก็ตาม

 ผมรู้สึกยินดีมากที่ได้ถ่ายภาพด้วยเปอร์สเปคทีฟที่เป็นแบบฉบับเฉพาะและได้ภาพถ่ายคุณภาพสูง ซึ่งในเลนส์ EF16-35mm f/2.8L III USM มีให้เลือกใช้งานตั้งแต่ค่า f/2.8 เป็นต้นไป

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/8 วินาที, EV+0.7)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
ถ่ายที่ 16 มม. และ f/2.8 ภาพนี้ถ่ายทอดออกมาได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง ไม่มีร่องรอยของสีที่จางลงหรือรอยเปื้อนที่บริเวณขอบภาพ และสามารถแสดงรายละเอียดได้ดีแม้แต่ในบริเวณที่มีโบเก้ นอกจากนี้ ยังสามารถจับรายละเอียดเล็กๆ ของต้นไม้ได้เป็นอย่างดีและได้รับการแก้ไขให้คมชัด แม้ว่าในป่าจะมืด

 

แสดงรายละเอียดที่ค่า f/8 ได้ดี แต่เลนส์โดดเด่นอย่างแท้จริงที่ทางยาวโฟกัสใกล้กับค่า 35 มม.

ผมพบว่าภาพที่ถ่ายที่ค่าประมาณ f/8 จะสามารถแสดงรายละเอียดของฉากทิวทัศน์ได้ดีเป็นพิเศษ EF16-35mm f/4L IS USM มักได้รับการยกย่องว่ามีประสิทธิภาพเทียบเคียงได้กับ EF16-35mm f/2.8L II USM ในแง่ของคุณภาพในการถ่ายทอดภาพ แต่เมื่อคุณเปรียบเทียบภาพที่ถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 16 มม. ของเลนส์นี้กับภาพที่ถ่ายโดยใช้การตั้งค่าแบบเดียวกันใน EF16-35mm f/2.8L III USM ปรากฏว่าเลนส์รุ่นใหม่นี้มีเอฟเฟ็กต์ขอบมืดที่เกิดขึ้นทีละน้อยมากกว่า พร้อมทั้งมีข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อถ่ายที่ค่า f/8

อย่างไรก็ดี เลนส์จะโดดเด่นอย่างแท้จริงที่ทางยาวโฟกัสประมาณ 35 มม. (ใกล้กับมุมรับภาพมาตรฐาน) ที่ทางยาวโฟกัสในระดับนี้ คุณจะสามารถเข้าใกล้ตัวแบบและได้โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ที่สวยงามและนุ่มนวล ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมรอบๆ ดูโล่งกว้าง และเป็นการใช้คุณลักษณะเฉพาะของเลนส์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (ม่านรูรับแสงทรงกลมแบบ 9 กลีบ ระยะการถ่ายภาพต่ำสุดที่ 28 ซม. และกำลังขยาย 0.25 เท่า) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่จุดที่ 3 ด้านล่าง)

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/80 วินาที, EV-0.7)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
ภาพระยะใกล้ที่ถ่ายห่างออกไป 28 ซม. (ระยะการถ่ายภาพต่ำสุด) เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงที่ออกมาในภาพ ซึ่งคุณคาดหวังจากเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์และโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์จะช่วยถ่ายทอดความรู้สึกโล่งกว้างได้เป็นอย่างดี ผมตั้งใจวางใบไม้ไว้ที่มุมล่างซ้ายของภาพ ลองสังเกตดูว่ารูปร่างของใบไม้ไม่บิดเบี้ยวเลย

 

การเคลือบฟลูออไรต์ที่กันฝุ่นและละอองน้ำที่เลนส์ทำให้การถ่ายภาพในวันฝนพรำเป็นเรื่องง่าย

สถานที่ถ่ายภาพมีฝนตกปรอยๆ และเราทุกคนทราบดีว่าการเปลี่ยนเลนส์ในสภาพอากาศเช่นนั้นเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เลนส์สกปรกได้ แต่เพราะการเคลือบฟลูออไรต์ที่กันฝุ่นและละอองน้ำที่ตัวเลนส์ เพียงแค่ใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกออกเท่านั้น ผมก็สามารถกลับไปถ่ายภาพต่อได้แล้ว แม้เลนส์รุ่นใหม่นี้จะไม่ได้มีการอัปเกรดสเปกที่หวือหวามากนัก แต่ในฐานะช่างภาพที่พยายามจับภาพจังหวะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในธรรมชาติ ผมรู้สึกชื่นชมคุณสมบัตินี้ไม่น้อย

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/320 วินาที, EV+0.3)/ ISO 800/ WB: แสงแดด
ภาพนี้ถ่ายในขณะที่ฝนตกปรอยๆ แต่คุณภาพของภาพยังคงดีเยี่ยมตั้งแต่บริเวณกึ่งกลางภาพไปจนถึงขอบภาพโดยไม่เกิดความบิดเบี้ยว แม้แต่คลื่นที่บริเวณด้านล่างขวาของภาพยังถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงาม และเนื่องจากเลนส์นี้สามารถกันฝุ่นและละอองน้ำได้ ดังนั้น การที่มีฝนตกเล็กๆ น้อยๆ จึงไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด

 

ภาพถ่ายในสภาวะย้อนแสงส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องแสงหลอกและแสงแฟลร์

ในวันสุดท้ายของทริปถ่ายภาพของผม ในที่สุดดวงอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า ผมจึงสามารถถ่ายภาพในสภาวะย้อนแสงได้สองถึงสามภาพ ปกติแสงแฟลร์และแสงหลอกมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในสภาวะดังกล่าว แต่ผมรู้สึกทึ่งที่ภาพถ่ายส่วนใหญ่ยังดูคมชัด เพราะ EF16-35mm f/2.8L III USM ใช้เทคโนโลยีออพติคอลที่ทันสมัย ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานร่วมกับกล้องความละเอียดสูงอย่าง EOS 5DS, EOS 5DS R และ EOS 5D Mark IV ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกล้องที่วางจำหน่ายในระหว่างปี 2015-16 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่จุดที่ 2 ด้านล่าง)

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/800 วินาที, EV-0.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพนี้ถ่ายโดยใช้แสงย้อนในยามเย็น ซึ่งเป็นสภาวะที่มีแนวโน้มจะเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกได้ แต่เทคโนโลยีการเคลือบ ASC และ SWC ทำให้ไม่มีแสงแฟลร์เกิดขึ้นและมีแสงหลอกที่ต่ำมาก โดยรวมแล้ว ประสิทธิภาพในสภาวะแสงย้อนจึงถือว่าพัฒนาจากรุ่นก่อนหน้านี้คือ EF16-35mm f/2.8L II USM

 

ข้อสังเกตโดยละเอียด

จุดที่ #1: คุณภาพของภาพเมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ระยะมุมกว้าง 16 มม. พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก

เลนส์นี้มีการใช้ชิ้นเลนส์ชนิดพิเศษมากมาย จึงทำให้ได้คุณภาพของภาพถ่ายที่ยอดเยี่ยมจนถึงขอบภาพตลอดทั้งช่วงการซูมสำหรับภาพที่ถ่ายโดยใช้รูรับแสงกว้างสุด ในขณะเดียวกันก็รักษารายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวแบบไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังแสดงสีสันได้อย่างมีสดใสมีชีวิตชีวาอีกด้วย ส่วนในเรื่องปัญหาขอบมืดนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ EF16-35mm f/4L IS USM ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในด้านนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ปรากฏว่า EF16-35mm f/2.8L III USM มีข้อได้เปรียบกว่า

 

การใช้เลนส์ชนิดพิเศษช่วยป้องกันความคลาดแบบต่างๆ ได้

ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมแบบหล่อแก้ว (GMo) สองด้านเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ 2 ชิ้น และชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมแบบเจียรและขัดผิว 1 ชิ้น ที่ด้านหลังของโครงสร้างเลนส์จะช่วยป้องกันความบิดเบี้ยว ภาพบิดเป็นเส้นโค้ง และความคลาดทรงเบี้ยวได้ ความคลาดสีแนวทแยงซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นด้วยเลนส์มุมกว้างจะลดลงด้วยการใช้ชิ้นเลนส์ความคลาดแสงต่ำเป็นพิเศษ (UD) จำนวน 2 ชิ้น

 

ถ่ายที่ระยะ 17 มม.

 

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย EOS 5D Mark IV/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (EV+1.3)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 
EF16-35mm f/2.8L III USM
EF16-35mm f/2.8L II USM
f/2.8 (ตรงกลาง)
f/2.8 (ขอบภาพ)
f/5.6 (ตรงกลาง)
f/5.6 (ขอบภาพ)
f/8 (ตรงกลาง)
f/8 (ขอบภาพ)

 

ถ่ายที่ 35 มม.

 

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark IV/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 
EF16-35mm f/2.8L III USM
EF16-35mm f/2.8L II USM
f/2.8 (ตรงกลาง)
f/2.8 (ขอบภาพ)
f/5.6 (ตรงกลาง)
f/5.6 (ขอบภาพ)
f/8 (ตรงกลาง)
f/8 (ขอบภาพ)

 

จุดที่ #2: เทคโนโลยีการเคลือบใหม่ล่าสุดลดการเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกได้อย่างทั่วถึง

ภาพถ่ายที่รวมแหล่งกำเนิดแสงไว้ในภาพด้วยนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกได้ง่าย แต่ปัญหาเหล่านี้ลดลงโดยสิ้นเชิงในเลนส์ EF16-35mm f/2.8L III USM เพราะมีการใช้เทคโนโลยีการเคลือบใหม่ล่าสุดที่มีการเคลือบแบบ SubWavelength Structure (SWC) ซึ่งนำมาใช้ในชิ้นเลนส์ตัวแรก และการเคลือบแบบ Air Sphere Coating (ASC) ซึ่งนำมาใช้ในชิ้นเลนส์ตัวที่สอง นอกจากนี้ เลนส์อีกรุ่นหนึ่งที่มีชิ้นเลนส์ที่ใช้เทคโนโลยีการเคลือบทั้งสองแบบดังกล่าวคือ EF11-24mm f/4L USM

 

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark IV/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1.3 วินาที, EV-0.7)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

EF16-35mm f/2.8L III USM
EF16-35mm f/2.8L II USM

 

จุดที่ #3: f/2.8 ทำให้ได้โบเก้ที่งดงามและนุ่มนวล

แม้ว่าเลนส์ชนิดนี้เป็นเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ แต่สามารถสร้างโบเก้ที่สวยงามได้เมื่อคุณถ่ายภาพที่ทางยาวโฟกัส 35 มม. ด้วยระยะการถ่ายภาพต่ำสุดที่ 28 ซม. เลนส์มีรูรับแสงทรงกลมที่มีม่านรูรับแสง 9 กลีบ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าเลนส์รุ่นก่อนหน้านี้ และเมื่อทำงานร่วมกับความละเอียดคมชัดที่ค่า f/2.8 จึงทำให้ได้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ค่อยๆ นุ่มนวลขึ้นเรื่อยๆ ขยายไปจนถึงขอบภาพ แต่ไม่ทำให้ภาพมีสีจางลงแต่อย่างใด นอกจากนี้ ลายเส้นในพื้นที่ระยะโฟกัสยังถ่ายทอดออกมาได้อย่างละเอียดประณีต ซึ่งความเปรียบต่างนี้เองเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความงดงามให้กับวงกลมโบเก้อีกด้วย

ม่านรูรับแสงส่งผลต่อรูปร่างของโบเก้อย่างไรบ้าง อ่านได้จากบทความนี้:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #8: ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม

 

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark IV/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

EF16-35mm f/2.8L III USM
EF16-35mm f/2.8L II USM

 

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/800 วินาที, EV-0.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ผมถ่ายภาพนี้จากบนเรือที่วิ่งด้วยความเร็วสูง เมื่อทดสอบว่าผมสามารถเก็บรายละเอียดของคลื่นได้มากน้อยแค่ไหนเมื่อถ่ายภาพที่ค่า f/2.8 และใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ผมแปลกใจอย่างยิ่งเมื่อพบว่าภาพเก็บรายละเอียดได้มาก แม้ว่าจะใช้แสงที่ค่อนข้างแบนก็ตาม

 

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/50 วินาที, EV-0.7)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
ภาพนี้เป็นภาพของดอกหอมหมื่นลี้ที่ร่วงหล่นอยู่บนม้านั่งหิน ซึ่งถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 35 มม. ที่ระยะการถ่าย 28 ซม. ขณะเดียวกันดอกหอมหมื่นลี้ที่อยู่ในส่วนแบ็คกราวด์ยังคงเห็นได้อย่างชัดเจนแม้ว่าจะใช้ค่า f/5.6 ก็ตาม อีกทั้งรายละเอียดของม้านั่งที่ชื้นแฉะยังถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมจริง

 

สำหรับตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ที่จับคู่กับ EOS 5D Mark IV โปรดดูที่บทความต่อไปนี้:
การถ่ายภาพยามค่ำคืนด้วย EOS 5D Mark IV: ความประทับใจของช่างภาพมืออาชีพ

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

 

 

GOTO AKI

 

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "Land Escapes" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "Water Silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา