ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวใน EOS สำหรับผู้ใช้งานกล้อง EOS 5D Mark IV (ตอนที่ 2)

2017-03-30
2
3.85 k
ในบทความนี้:

ระหว่างการถ่ายภาพเคลื่อนไหว สภาวะการถ่ายภาพจะเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เช่น อาจมีวัตถุเข้ามาในองค์ประกอบภาพ ฯลฯ ต่อไปนี้เป็นการตั้งค่า อุปกรณ์เสริม และสิ่งที่ควรจดจำรวม 7 ประการ ที่จะช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจเมื่อคุณถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้อง EOS 5D Mark IV (เรื่องโดย: Nobuyoshi Kodera, นางแบบ: Sayaka Aramachi (OSCAR PROMOTION CO., LTD.))

 

7 จุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อนถ่ายภาพเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรกด้วยกล้อง EOS 5D Mark IV

1. เตรียมการ์ดหน่วยความจำที่ตรงตามข้อกำหนด

ตรวจสอบอัตราบิตที่การ์ดหน่วยความจำสามารถรองรับได้ อัตราบิต หมายถึง ปริมาณข้อมูลที่บันทึกไปยังการ์ดหน่วยความจำในแต่ละวินาทีที่คุณถ่ายภาพเคลื่อนไหว โดยทั่วไป ยิ่งอัตราบิตสูงขึ้นเท่าใด คุณภาพของวิดีโอจะดียิ่งขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี การ์ดหน่วยความจำจะต้องมีความเร็วในการเขียนที่สูงขึ้นเพื่อบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่นเช่นกัน มิเช่นนั้นแล้ว คุณอาจได้เฟรมภาพที่มีคุณภาพลดลงได้

ในการบันทึกภาพเคลื่อนไหวระดับ 4K คุณจะต้องใช้อัตราบิตสูงประมาณ 500 Mbps โดยทั่วไป กล้องถ่ายวิดีโอส่วนตัวที่รองรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวระดับ 4K มักมีอัตราบิตระหว่าง 60 Mbps ถึง 100 Mbps ดังนั้น ในกรณีของกล้อง EOS 5D Mark IV จึงไม่ยากที่จะบอกว่าอัตราบิตประมาณ 500 Mbps นั้นสูงเพียงใด

อย่างไรก็ดี โปรดอย่าลืมว่ากล้องรุ่นนี้ไม่สามารถใช้ได้กับ UHS-II และ CFast ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดสำหรับการ์ด SD และ CF ตามลำดับ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ประเภทของการ์ดหน่วยความจำที่ตรงตามข้อกำหนดด้านความเร็วข้างต้นนั้นมีค่อนข้างจำกัด

■ SD card
4K/ UHS-I: 90 MB/วินาที หรือเร็วกว่า
Full HD/ UHS-I Speed Class 3 และสูงกว่า (60p, 50p/ALL-I), SD Speed Class 10 และสูงกว่า (60p, 50p/IPB)

■ CF card
4K/ UDMA 7: 100 MB/วินาที ขึ้นไป
Full HD/ UDMA 7: 60 MB/วินาที ขึ้นไป (60p, 50p/ALL-I), 30 MB/วินาที ขึ้นไป (60p, 50p/IPB)

แนะนำการ์ด CF ความเร็วสูง 128 GB ขึ้นไป สำหรับภาพเคลื่อนไหว 4K
การ์ด CF ที่ได้มาตรฐาน UDMA7 ซึ่งสามารถเขียนด้วยความเร็ว 100 MB/วินาที หรือสูงกว่า ให้ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว 4K แม้ว่าการ์ด CF จะมีราคาสูงกว่าการ์ด SD แต่เมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการถ่ายภาพทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งด้วยความเร็วสูงได้แล้ว นับว่าคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

 

2. คำนึงถึงการจัดโครงสร้างให้กับภาพเคลื่อนไหว

หากคุณกำลังถ่ายภาพเคลื่อนไหว แม้ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหวที่สั้นๆ ก็ตาม การจะถ่ายภาพฉากทั้งหมดให้ครบตามที่ต้องการในครั้งเดียวเป็นเรื่องยากพอควร คุณจำเป็นต้องรวมหลายๆ ฉากเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อให้ผู้ชมเห็นถึงโลกทัศน์ที่คุณพยายามจะถ่ายทอดผ่านภาพเคลื่อนไหว เมื่อคุณจัดแสดงนิทรรศการภาพนิ่ง คุณอาจคิดหาวิธีจัดวางเลย์เอาต์ เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพไปตามลำดับที่คุณต้องการใช่หรือไม่ แนวคิดแบบเดียวกันนี้สามารถนำมาปรับใช้กับโครงสร้างของภาพเคลื่อนไหวได้เช่นกัน นอกจากนี้ จะไม่มีองค์ประกอบเพียงพอสำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวหากคุณบันทึกภาพเฉพาะฉากที่คุณต้องการถ่ายเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การรวมฉากเสริมต่างๆ เข้าไป เพื่อช่วยเชื่อมต่อเรื่องราวทั้งหมดเข้าด้วยกัน

5 ถึง 6 วินาที x 6 ฉาก = 30 วินาที

 

3. ไมโครโฟนเสริมคืออุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการบันทึกเสียงคุณภาพสูง

อันที่จริง ไมโครโฟนในตัวของกล้อง EOS 5D Mark IV นับว่าเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพในสถานการณ์ทั่วไปที่ไม่ต้องการเสียงคุณภาพสูง เช่น เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงระดับหนึ่ง ณ สถานที่ถ่ายภาพ แต่หากต้องการบันทึกเสียงให้ได้คุณภาพที่เหมาะกับภาพเคลื่อนไหว ไมโครโฟนเสริมเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถตรวจสอบระบบเสียงระหว่างที่ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้โดยใช้ช่องต่อหูฟังในกล้อง

ไมโครโฟนของ Canon มาพร้อมกับคุณสมบัติ อาทิ ตัวลดเสียงที่ช่วยควบคุมเสียงเพี้ยนโดยอัตโนมัติ รวมถึงคุณสมบัติกรองเสียงลมเพื่อลดเสียงรบกวนจากลม คุณจึงสามารถกำหนดการตั้งค่าตามสภาพแวดล้อมในการถ่ายภาพ

ขอแนะนำให้ใช้ไมโครโฟนเสริมที่สามารถติดตั้งเข้ากับฐานเสียบแฟลชได้

Directional Stereo Microphone DM-E1
คุณสมบัติของไมโครโฟนรุ่นนี้คือให้การควบคุมทิศทางโดยใช้โหมดใดโหมดหนึ่งจากสามโหมด นอกจากจะใช้โหมด Shotgun ซึ่งสามารถบันทึกเสียงจากโซนที่แคบได้โดยตรงจากบริเวณด้านหน้าแล้ว ยังสามารถบันทึกเสียงในโหมด Stereo (90°/120°) ได้อีกด้วย

 

สำหรับการใช้งานกลางแจ้ง

สำหรับการใช้งานในอาคาร

 

Directional Stereo Microphone DM-E1 มาพร้อมกับอุปกรณ์กันเสียงรบกวน ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดเสียงรบกวนจากลมในระหว่างถ่ายภาพเคลื่อนไหว จึงขอแนะนำให้ใช้งานเมื่อถ่ายภาพเคลื่อนไหวกลางแจ้ง สำหรับการถ่ายภาพในอาคาร เสียงที่ได้อาจไม่ชัดเจนในบางกรณี ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ไมโครโฟนโดยไม่ใช้อุปกรณ์กันเสียงรบกวน

 

4. หลีกเลี่ยงการซูมขณะบันทึกภาพเคลื่อนไหว

เมื่อถ่ายภาพเคลื่อนไหว ผู้ใช้หลายคนอาจรู้สึกอยากซูมเข้าไปที่ตัวแบบ อย่างไรก็ดี เลนส์ซูมที่ใช้งานกับกล้อง DSLR มักออกแบบมาให้ใช้กับการซูมด้วยมือมากกว่า และเพื่อให้การซูมได้ผลดีตามต้องการ ผู้ใช้จำเป็นต้องเคลื่อนไหวอย่างมั่นคง ต่อเนื่อง และสุขุมรอบคอบ ซึ่งเป็นเรื่องยาก ดังนั้น หากคุณต้องการซูมเข้าหรือออกโดยใช้เลนส์ EF การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแยกหลายๆ ภาพ จากนั้นนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันในขั้นตอนการปรับแต่งน่าจะให้ผลภาพที่ดีที่สุด

เมื่อคุณถ่ายภาพในระยะใกล้ ควรบันทึกภาพเป็นคลิปวิดีโอแยกต่างหาก

 

ให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบภาพ หากคุณต้องการใช้ 4K Frame Grab
อัตราส่วนภาพ 1.90:1 สำหรับภาพเคลื่อนไหวระดับ 4K จะค่อนข้างกว้าง หากคุณต้องการครอปภาพเคลื่อนไหวเป็นภาพนิ่งโดยใช้อัตราส่วนภาพ 3:2 หรือ 4:3 คุณจำเป็นต้องให้ความสนใจกับการจัดองค์ประกอบภาพ และเลือกองค์ประกอบภาพที่เหมาะสมขณะถ่ายภาพเคลื่อนไหว

พึงระลึกไว้ว่าเมื่อองค์ประกอบภาพครอบคลุมพื้นที่เฟรมทั้งหมดในอัตราส่วนภาพตามความยาวในแนวนอน บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกไปเมื่อคุณครอบภาพในอัตราส่วน 3:2 หรือ 4:3

 

5. ใช้ขาตั้งกล้องวิดีโอเพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับภาพเคลื่อนไหว

โดยพื้นฐานแล้ว ลักษณะหัวขาตั้งสำหรับการถ่ายภาพวิดีโอจะแตกต่างจากหัวขาตั้งสำหรับการถ่ายภาพ หัวขาตั้งสำหรับการถ่ายวิดีโอจะมาพร้อมกับกลไกที่ช่วยให้ส่วนหัวของขาตั้งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก เพื่อให้กล้องสามารถเอียงหรือแพนในแนวตั้งหรือแนวนอนได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำได้เมื่อใช้ขาตั้งกล้องสำหรับถ่ายภาพ นอกจากนี้ ภาพเคลื่อนไหวยังแตกต่างจากภาพนิ่ง โดยบางครั้งองค์ประกอบภาพที่วางอยู่ในแนวนอนอาจคลาดเคลื่อนไปโดยตั้งใจ เราจึงไม่ค่อยนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้ในการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น ขาตั้งกล้องวิดีโอจึงออกแบบมาเพื่อช่วยให้บันทึกภาพวิดีโอในแนวนอนได้ง่าย สำหรับภาพเคลื่อนไหว 4K การมีขาตั้งกล้องวิดีโอไว้เป็นอุปกรณ์เสริมนับว่าดีอย่างยิ่ง

การปรับเอียงกล้องจากล่างขึ้นบนด้วยขาตั้งกล้องวิดีโอ

 

การเอียงกล้องจะเป็นประโยชน์ในหลายๆ ฉาก เช่น เมื่อคุณถ่ายภาพตัวแบบตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า หรือเมื่อคุณแหงนมองขึ้นไปที่ตึกสูงระฟ้าหรือต้นไม้สูง การใช้ขาตั้งกล้องวิดีโอจึงช่วยให้ถ่ายภาพได้อย่างสะดวก

 

การเลื่อนกล้องไปทางซ้ายหรือขวา

 

Dolly คือเทคนิคการเคลื่อนกล้องไปทางด้านข้างขณะถ่ายภาพ สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยเทคนิค Dolly คือระยะห่างระหว่างกล้องและตัวแบบจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นอกเหนือจากการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวสำหรับการถ่ายภาพ Dolly ได้อีกหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านหลังและด้านหน้า รวมถึงขึ้นและลง

 

ขอแนะนำชุดขาตั้งกล้องวิดีโอที่มาพร้อมตัวเลื่อนสำหรับถ่ายภาพ Dolly

ชุดขาตั้งกล้องวิดีโอที่มาพร้อมตัวเลื่อนเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพ Dolly ในระยะหลัง ราคาของชุดดังกล่าวมีราคาถูกกว่าเดิมมาก

 

6. กำหนดค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์

ในหลายกรณี ความเร็วชัตเตอร์ที่นำมาใช้กับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวจะมีค่าเทียบหรือประมาณสองเท่าของอัตราเฟรม อีกนัยหนึ่งคือ สำหรับภาพเคลื่อนไหว 4K ความเร็วชัตเตอร์อาจอยู่ที่ 1/30 หรือ 1/60 วินาที แม้ว่าความเคลื่อนไหวภายในเฟรมภาพเฟรมเดียวอาจทำให้ภาพออกมาเบลอเนื่องมาจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แต่อันที่จริงแล้ววิธีนี้จะช่วยให้การเคลื่อนที่ในภาพเคลื่อนไหวดูต่อเนื่อง เมื่อตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำประมาณ 1/30 หรือ 1/60 วินาที อาจทำให้ยากต่อการเปิดรูรับแสงเมื่อต้องถ่ายภาพตอนกลางวันหรือในฉากอื่นๆ ที่ต้องใช้ปริมาณแสงมาก เพื่อลดระยะชัดของภาพ คุณสามารถใช้ฟิลเตอร์ Neutral Density (ND) เพื่อควบคุมปริมาณแสงได้

* ความแตกต่างเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ระหว่างการถ่ายภาพนิ่งกับภาพเคลื่อนไหวในการกำหนดค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์

■ เมื่อถ่ายภาพนิ่ง
- รูรับแสง: เลือกค่ารูรับแสงที่ช่วยให้คุณได้ระยะชัดของภาพที่เหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านภาพ
- ความเร็วชัตเตอร์:
1. เลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่ทำให้กล้องสั่นไหวหรือตัวแบบเบลอ
2. ลดความเร็วชัตเตอร์อย่างจงใจ หากคุณต้องการเพิ่มเอฟเฟ็กต์ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

■ เมื่อถ่ายภาพเคลื่อนไหว
- รูรับแสง: เลือกค่ารูรับแสงที่ช่วยให้คุณได้ระยะชัดของภาพที่เหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านภาพ
- ความเร็วชัตเตอร์: เลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เทียบเท่าหรือประมาณสองเท่าของอัตราเฟรม

แนะนำให้ใช้ฟิลเตอร์ ND สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในฉากที่สว่าง
เนื่องจากความเร็วชัตเตอร์มีให้เลือกจำกัดในการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น จึงสามารถใช้ฟิลเตอร์ ND ควบคุมปริมาณแสง เพื่อให้คุณตั้งค่ารูรับแสงได้ยืนหยุ่นมากขึ้น ลองใช้ค่า 1/16 หากคุณมีฟิลเตอร์ ND เพียงตัวเดียว จากนั้นค่อยเพิ่มค่าเป็น 1/4 หรือ 1/64 ตามความต้องการในการถ่ายภาพของคุณ

 

ใช้ความไวแสง ISO สูง เพื่อปรับระดับความสว่างที่จำเป็นเมื่อถ่ายภาพในฉากที่มีแสงน้อย

ในระหว่างการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในฉากที่มีแสงน้อย ความไวแสง ISO จะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ระดับความสว่างที่จำเป็นในการถ่ายภาพ นอกจากนี้ พึงระลึกว่าอาจเกิดแสงที่สั่นไหวขึ้นได้หากแหล่งกำเนิดแสงซิงค์ข้อมูลกับความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ตามเขตภูมิภาคที่คุณถ่ายภาพด้วย

 

ภาพดูเรียบเนียนขึ้นเมื่อความเร็วชัตเตอร์ไม่เร็วเกินไป
เมื่อถ่ายภาพเคลื่อนไหว 4K ด้วยกล้อง EOS 5D Mark IV อัตราเฟรมที่ใช้บันทึกไม่ควรเกิน 30 fps การเพิ่มความเร็วชัตเตอร์โดยไม่จำเป็นนั้นไม่ทำให้เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวก็จริง แต่จะส่งผลให้ชุดเฟรมขาดความต่อเนื่องแบบภาพเคลื่อนไหว เพื่อสร้างคลิปวิดีโอที่มีการเคลื่อนไหวที่ราบรื่น เราจำเป็นต้องระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงไม่เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้สูงจนเกินไป

เมื่อถ่ายภาพนิ่งของตัวแบบที่กำลังเดินอยู่ในระยะใกล้ ภาพที่ออกมาอาจเบลอเล็กน้อย เมื่อการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 วินาทีไม่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อย่างไรก็ดี เมื่อถ่ายภาพเคลื่อนไหว การมีเฟรมภาพที่มีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวจะช่วยให้คลิปวิดีโอออกมาสวยเนียนมากขึ้น

 

7. ใช้โหมด AF 3 แบบให้เกิดประโยชน์

EOS 5D Mark IV มาพร้อมกับโหมด AF สามแบบ สำหรับช่างภาพวิดีโอที่รับงานในโอกาสพิเศษต่างๆ ที่ไม่สามารถทดลองถ่ายภาพได้ เช่น การแข่งขันกีฬา โหมดการตรวจจับใบหน้า + การติดตาม AF จะเป็นประโยชน์มาก ขณะที่สำหรับตัวแบบหรือทิวทัศน์ที่สามารถถ่ายภาพซ้ำได้ ขอแนะนำอย่างยิ่งให้ทดลองใช้ FlexiZone – AF จุดเดียว เพราะช่วยให้สามารถปรับโฟกัสและความเร็วในการตอบสนองของ AF ได้ โหมดทั้งสามแบบของ AF นั้นมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และควรทำความคุ้นเคยกับโหมดต่างๆ ก่อนเริ่มต้นถ่ายภาพ

 

การตรวจจับใบหน้า + การติดตาม AF

โหมดนี้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะในฉากที่ระยะห่างระหว่างตัวแบบกับกล้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ อาทิ เมื่อตัวแบบกำลังเคลื่อนที่เข้าหากล้อง หากในองค์ประกอบภาพมีบุคคลไม่เกินสามคน กล้องจะสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องพร้อมกับรักษาโฟกัสไว้ที่ตัวแบบได้

 

FlexiZone – AF หลายจุด

โหมดนี้ช่วยป้องกันไม่ให้โฟกัสเลื่อนไปอยู่ตัวแบบที่ไม่ต้องการในองค์ประกอบภาพ ขณะที่คุณถ่ายตัวแบบที่กินพื้นที่กว้าง เช่น กลุ่มคน อย่างไรก็ดี โหมดนี้อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมหากคุณต้องการขยับกล้องไปด้วยขณะถ่ายภาพ

 

FlexiZone – AF จุดเดียว

หาก AF ตอบสนองโดยไม่ได้ตั้งใจขณะที่รถยนต์หรือผู้คนเดินผ่านกล้อง ภาพเคลื่อนไหวที่ได้อาจดูไม่เป็นธรรมชาติ ในกรณีนี้ ควรใช้ FlexiZone – AF จุดเดียวเพื่อตั้งโฟกัส พร้อมกับปรับความไวในการติดตามตัวแบบของ Movie Servo AF ในเมนูการตั้งค่าเพื่อล็อคโฟกัสไว้ที่ตัวแบบ

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Nobuyoshi Kodera

Kodera มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปีในฐานะผู้กำกับเทคนิคสำหรับรายการโทรทัศน์ โฆษณา และวิดีโอโปรโมทสินค้า เขายังเป็นนักเขียนหลากหลายแนวตั้งแต่ด้านเสียงและวิดีโอไปจนถึงเนื้อหาต่างๆ โดยมีคติประจำใจว่า ทำเนื้อหาที่ซับซ้อนให้เรียบง่าย และทำเนื้อหาที่เรียบง่ายให้น่าอ่าน

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา