ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 2] โหมดการรับแสง (Av, Tv และ P)

2014-05-08
39
85.38 k
ในบทความนี้:

มี 3 โหมดบนกล้อง DSLR ของ Canon ที่คำนวณปริมาณแสงที่เหมาะสมอัตโนมัติ ได้แก่ โหมด Aperture-priority AE (Av), โหมด Shutter-priority AE (Tv) และโหมด Program AE (P) กล้องจะคำนวณค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยการใช้อัลกอริทึมที่มีการควบคุมระดับสูงเพื่อให้มั่นใจได้ถึงการถ่ายภาพที่น่าพึงพอใจ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

โหมด Aperture-priority AE โหมด Shutter-priority AE และโหมด Program AE อัตโนมัติเต็มรูปแบบ

โหมดการเปิดรับแสงอัตโนมัติถูกออกแบบมาให้กล้องกำหนดความเร็วชัตเตอร์และค่ารูรับแสงโดยอัตโนมัติเพื่อให้ได้ระดับแสงที่ดีที่สุด ในโหมด Shutter-priority AE และโหมด Aperture-priority AE ช่างภาพจะกำหนดค่าหนึ่งค่า ซึ่งก็คือ ความเร็วชัตเตอร์หรือค่ารูรับแสง และให้กล้องทำการกำหนดอีกค่าหนึ่ง

ในโหมด Program AE กล้องใช้อัลกอริทึมที่มีการควบคุมสูงกว่าเพื่อคำนวณและกำหนดทั้งความเร็วชัตเตอร์และค่ารูรับแสง โหมดการถ่ายภาพซ้อนมอบคุณสมบัติต่างๆ เพื่อรองรับสไตล์การถ่ายภาพที่หลากหลาย

อย่างในโหมด Aperture-priority AE ช่างภาพสามารถเลือกค่ารูรับแสงที่เอื้อให้เขาควบคุมความเบลอของแบ็คกราวด์ในภาพถ่ายได้

ขณะที่โหมด Shutter-priority AE ให้ช่างภาพควบคุมลักษณะการถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวอยู่ให้ได้ตามต้องการ ค่ารูรับแสงและชัตเตอร์ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่เหมือนวาล์วปรับปริมาณแสงตกกระทบที่เข้ามายังกล้องเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสิ่งที่ปรากฏออกมาในภาพถ่ายโดยรวมด้วย

โหมด AE แบบต่างๆ

โหมด Aperture-priority AE [Av]

ช่างภาพกำหนดค่ารูรับแสง และกล้องจะทำการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ เหมาะสำหรับตัวแบบที่มีการเคลื่อนไหวน้อย

เหมาะสำหรับ:

  • ภาพถ่ายบุคคล
  • ภาพทิวทัศน์

โหมด Shutter-priority AE [Tv]

ช่างภาพกำหนดความเร็วชัตเตอร์ และกล้องจะทำการกำหนดค่ารูรับแสง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพการเคลื่อนไหว

เหมาะสำหรับ:

  • ภาพกีฬา
  • ภาพสัตว์

โหมด Program AE [P]

ในโหมดนี้ กล้องจะกำหนดทั้งความเร็วชัตเตอร์และค่ารูรับแสงให้โดยอัตโนมัติ ความสว่างของตัวแบบและชนิดของเลนส์จะถูกนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน

เหมาะสำหรับ:

  • ภาพสแนปช็อต
  • ภาพถ่ายเพื่อที่ระลึก

การเลือกและใช้งานโหมด AE

(1) เลือกโหมดโดยใช้ล้อควบคุมหลัก

เลือกโหมดโดยใช้ล้อควบคุมหลักง่ายๆ เพียงเลื่อนให้เครื่องหมายดัชนีตรงกับโหมดใดโหมดหนึ่งไม่ว่าจะ “Av” “Tv” หรือ “P”

(2) เลื่อนล้อควบคุมหลักเพื่อปรับเปลี่ยนการตั้งค่า

ในโหมด Av หรือ Tv ปรับค่ารูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ตามลำดับโดยใช้ล้อควบคุมหลัก

แสดงข้อมูลบนจอ LCD

โหมดที่เลือกจะแสดงบนหน้าจอ LCD ในพื้นที่ที่มีกรอบสีแดงกำกับ

เกร็ดน่ารู้ – เมื่อไหร่จึงควรใช้โหมด M?

โหมด M (การเปิดรับแสงแบบแมนนวล) ช่วยให้ช่างภาพสามารถควบคุมทั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เองทั้งหมด โหมดนี้มีประโยชน์กับภาพถ่ายหลายประเภท เช่น การถ่ายภาพในสตูดิโอ ซึ่งคุณต้องการปรับแสงแฟลชแต่ละอัน หรือเมื่อคุณไม่ต้องการยึดติดกับตัววัดแสงในตัวกล้องเท่านั้น โหมดนี้มักถูกนำมาใช้บ่อยๆ ในการถ่ายภาพยามค่ำคืนและภาพกีฬา

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา