ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด Part5

เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ – ภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าภายใต้แสงอาทิตย์

2016-07-28
2
3.15 k
ในบทความนี้:

การใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์โดยมีสัตว์ป่าที่อยู่ไกลเป็นตัวแบบได้ ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเทคนิคที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพซิลูเอตต์ของสัตว์ป่าอันน่าประทับใจที่มีแสงอาทิตย์ขนาดมโหฬารเป็นแบ็คกราวด์ (เรื่องโดย: Takayuki Maekawa)

EOS-1D X/ EF600mm f/4L IS II USM+EXTENDER EF1.4×III/ FL: 840 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/250 วินาที, EV-1.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาอันกว้างใหญ่ในประเทศเคนยาของทวีปแอฟริกา ผมยืนเล็งกล้องจากหลังคารถซาฟารีไปที่ฉากเบื้องหน้า ซึ่งมีโทพีหลายตัวกำลังยืนอยู่บนยอดเนินสูงชัน พร้อมดวงอาทิตย์ที่กำลังคล้อยลงต่ำอย่างช้าๆ ในส่วนแบ็คกราวด์

 

ทำให้แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสโดยการเปิดรูรับแสงกว้างสุดเพื่อเน้นให้ตัวแบบดูโดดเด่น

ผมเก็บภาพดวงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่กำลังตกดินไว้ในส่วนแบ็คกราวด์ พร้อมถ่ายภาพซิลูเอตต์ของโทพีสามตัวที่กำลังกินหญ้า ในระหว่างผสานภาพของสัตว์ป่าและดวงอาทิตย์เข้าด้วยกันโดยใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้นั้น การประสานทำได้ยากหากคุณไม่อยู่ห่างจากตัวแบบในระยะที่พอประมาณ เนื่องจากขนาดของดวงอาทิตย์ไม่เปลี่ยนแปลงไป คุณจึงควรพิจารณาถึงขนาดของตัวแบบเพื่อค้นหาภาพถ่ายที่เหมาะสมกับดวงอาทิตย์

ในภาพนี้ ผมอยู่ห่างจากโทพีในระยะ 100 ม. สิ่งที่ต้องใช้ความพยายามมากที่สุดคือ การเปลี่ยนตำแหน่งที่ยืนบ่อยๆ เพื่อจัดเฟรมภาพในระหว่างที่ทั้งสัตว์ป่าและดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไป ดังนั้น การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขนาดมหึมาเป็นฉากหลังจึงอาจเป็นงานที่หนัก

ผมตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุดเพื่อถ่ายภาพนี้ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้คือ ช่วยให้คุณสามารถเข้าใกล้ตัวแบบได้อย่างแท้จริง และสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ในบริเวณที่อยู่ในโฟกัสได้ การตั้งค่ารูัรับแสงกว้างสุดนับว่าเป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากที่สุด เพราะช่วยทำให้ภาพมีความน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น

EOS-1Ds Mark III/ EF600mm f/4L IS II USM/ FL: 840 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/100 วินาที, EV-1)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
 

ภาพที่ถ่ายโดยการจัดองค์ประกอบภาพระยะใกล้

นี่เป็นภาพหนึ่งที่ผมถ่ายในระยะใกล้ที่ 600 มม. ในการจัดองค์ประกอบภาพ ผมรวมช้างแอฟริกาที่ยืนเรียงแถวและดวงอาทิตย์ที่ค่อยๆ โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าเข้าไว้ในภาพ ขณะที่จัดวางให้ต้นไม้ในแบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสไว้มากๆ

EOS-1D X/ EF600mm f/4L IS II USM/ FL: 600 มม. / Manual Exposure (f/4, 1/1000 วินาที,)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
 

ผลกระทบทางอารมณ์ต่อผู้ชมลดน้อยลงหากภาพของสัตว์มีขนาดเล็กเกินไป

ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 600 มม. เช่นเดียวกัน แม้ว่าเราจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ภาพได้พอสมควร แต่ภาพยังไม่น่าจับใจเท่าใดนัก ในที่สุด ผมเลือกใช้ตัวต่อขยายช่องมองภาพ EF 1.4xIII เพื่อให้เข้าใกล้ตัวแบบได้มากยิ่งขึ้น

 

จุดสำคัญ: ทำให้เลนส์นิ่งขณะถ่ายภาพ

ผมถ่ายภาพจากรถซาฟารีที่มีหลังคาขนาดใหญ่เปิดโล่ง จากนั้นติดตั้งเลนส์ที่ด้านบนของหนอนเม็ดโฟมขนาดเทอะทะซึ่งอยู่ด้านบนขอบหลังคา และหากคุณใช้ขาตั้งกล้องด้วย ก็จะช่วยให้ใช้งานวงแหวนโฟกัสได้ง่ายขึ้น

 

การใช้งานเลนส์: จุดโฟกัสจุดเดียวของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ช่วยรักษาระยะห่างที่เหมาะสมได้

เล็งไปที่ตัวแบบจากระยะไกลมากๆ ด้วย EF600mm f/4L IS II USM ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถ "เข้าใกล้" ตัวแบบพร้อมกับสังเกตสถานการณ์เบื้องหน้าได้ สำหรับโหมดป้องกันการสั่นไหว ควรลองใช้โหมด 1, 2, และ 3 ก่อนล่วงหน้าเพื่อพิจารณาว่าแต่ละโหมดเหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์ใดบ้าง จากนั้นจึงตั้งค่าให้สอดคล้องกัน นอกจากนี้ คุณยังสามารถปิดการใช้งานระบบป้องกันการสั่นไหวได้หากคุณกำลังใช้งานขาตั้งกล้อง เพื่อให้กล้องไม่เกิดอาการสั่นไหว

เมื่อใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ หากคุณบังเอิญ "คลาด" กับตัวแบบที่เคลื่อนที่เร็ว อย่างเช่นนกที่หลุดออกจากเฟรมภาพ การหาตำแหน่งของนกใหม่ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น จึงควรทำความคุ้นเคยกับการหาตำแหน่งของตัวแบบโดยใช้ตาเปล่าเป็นอันดับแรก ก่อนที่คุณจะถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพต่อไป

 

สงสัยว่าเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้มีการพัฒนาในวงการอย่างไรใช่หรือไม่ อ่านเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ ซึ่งจับคู่กล้อง EOS 7D Mark II กับเลนส์ EF500mm f/4L IS II USM และ ตัวต่อขยายช่องมองภาพ EF 1.4xIII

Takayuki Maekawa

เกิดในโตเกียว ปี 1969 เคยฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Kojo Tanaka ในปี 1997 เขาเริ่มทำงานเป็นช่างภาพตั้งแต่ปี 2000 นอกเหนือจากการผจญภัยเพื่อถ่ายภาพในทุ่งโล่งตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงญีุ่ปุ่น อเมริกาเหนือ แอฟริกา อินโดนีเซีย อินเดีย ฯลฯ แล้ว เขายังทำงานพิมพ์หนังสือและจัดนิทรรศการอีกด้วย

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา