ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การใช้ฟิลเตอร์เลนส์: 2 เทคนิคจากช่างภาพมืออาชีพ

2019-04-29
7
12.53 k
ในบทความนี้:

ช่างภาพทิวทัศน์ชอบใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (PL) และฟิลเตอร์ Neutral Density (ND) เนื่องจากช่วยลดแสงสะท้อนและทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง จึงทำให้ได้ภาพที่ปกติแล้วไม่สามารถถ่ายได้หากไม่ใช้ฟิลเตอร์ ในบทความนี้ ช่างภาพสองรายจะเล่าให้ฟังว่าพวกเขาสร้างสรรค์ผลงานที่น่าตื่นตาตื่นใจโดยใช้ฟิลเตอร์เลนส์เหล่านี้ได้อย่างไร (เรื่องโดย: Hidehiko Mizuno, Takehito Miyatake)

ภาพหมู่หินในทะเลตัดกับพระอาทิตย์ตก ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/14, 25 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ฟิลเตอร์: ฟิลเตอร์ ND400/ สถานที่: หินฮะชิกุอิ (วะกะยะมะ ญี่ปุ่น)
ภาพโดย Takehito Miyatake

ฟิลเตอร์ Neutral Density (ND) ช่วยลดปริมาณแสงที่เข้ามาในกล้อง ซึ่งทำให้ชัตเตอร์มีความเร็วช้าลง จึงมีประโยชน์สำหรับการทำให้ผิวน้ำดูนุ่มนวลดุจแพรไหม

 

ฟิลเตอร์ ND400: สร้างบรรยากาศที่เงียบสงบและมีมนต์ขลังด้วยการเปิดรับแสงนาน

หินที่เรียงตัวกันเป็นเส้นตรงในทะเลนี้เรียกว่า หินฮะชิกุอิ (“หินเสาสะพาน”) ตามตำนานพื้นบ้าน หินเหล่านี้คือสะพานที่สร้างไม่เสร็จซึ่งเชื่อมไปยังเกาะใกล้เคียงชื่อเกาะโอชิมะ และเป็นผลมาจากการเผชิญหน้ากันระหว่างพระสงฆ์โคโบะ ไดชิ กับปิศาจตนหนึ่ง

ด้วยความเป็นมาเช่นนี้ ผมจึงรู้สึกว่าบรรยากาศที่มีมนต์ขลังจากดวงอาทิตย์ซึ่งโผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกในยามเช้านั้นเหมาะกับฉากนี้อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อให้บรรยากาศนี้เด่นชัดขึ้นอีก ผมทราบว่าต้องใช้การเปิดรับแสงนานเพื่อทำให้คลื่นและผิวน้ำดูนุ่มนวลขึ้น

แต่ในฉากที่มีแสงย้อนจากด้านหลังซึ่งมีแสงอาทิตย์ปริมาณมากเข้ามาในกล้องเช่นนี้ การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำโดยไม่ใช้ฟิลเตอร์ ND นั้นเป็นไปไม่ได้ ภาพด้านบนถ่ายได้ด้วยการใช้ฟิลเตอร์ ND400 ซึ่งช่วยให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงประมาณ 8.7 สต็อป ผมจึงสามารถถ่ายภาพได้ที่ 25 วินาที

รายละเอียดเพิ่มเติม: เพื่อช่วยขับเน้นภาพ ผมปรับรูรับแสงให้แคบลงเหลือ f/14 ซึ่งทำให้ได้เอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่สวยงาม

 

ไม่ใช้ฟิลเตอร์ ND: เห็นภาพคลื่นได้ชัดเจนเกินไป

ภาพหินในทะเลขณะพระอาทิตย์ขึ้นที่ไม่ใช้ฟิลเตอร์ ND

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/14, 1/50 วินาที, EV+0.3)/ ISO 400/ WB: Manual
ภาพโดย Takehito Miyatake

เมื่อขาดเอฟเฟ็กต์เพิ่มความนุ่มนวลจากการเปิดรับแสงนาน จึงเห็นภาพคลื่นได้อย่างชัดเจนมาก ภาพที่ได้จึงแตกต่างจากเอฟเฟ็กต์บรรยากาศแสนวิเศษและชวนฝันที่ผมตั้งใจไว้

 

เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับฟิลเตอร์ ND เพิ่มเติมในบทความนี้กัน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #5: ฟิลเตอร์ ND มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพคลื่นได้ที่:
การถ่ายภาพคลื่น: ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดเพื่อถ่ายทอดพลังและการเคลื่อนไหว
การถ่ายภาพคลื่น: การถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำและนุ่มนวลให้มีสีสันสวยงาม

 

ฟิลเตอร์โพลาไรซ์: ขจัดปัญหาภาพสะท้อนบนผิวน้ำเพื่อเน้นมิติความลึกของแหล่งน้ำ

ดอกบัวแห้งและใบเมเปิลในบึง ถ่ายด้วยฟิลเตอร์ CPL

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Aperture-priority AE (f/22, 2 วินาที, EV±0)/ ISO 50/ WB: 4,500K
ฟิลเตอร์: ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม/ สถานที่: บึงฮิมุโระ วัดคาจูจิ (เกียวโต ญี่ปุ่น)
ภาพโดย Hidehiko Mizuno

ภาพใบเมเปิลร่วงหล่นท่ามกลางกอบัวที่เหี่ยวแห้งในบ่อน้ำนี้ชวนให้นึกถึงการสิ้นสุดของฤดูใบไม้ร่วง ผมต้องการเพิ่มมิติให้กับภาพที่ได้ด้วยการรวมเอาภาพใบไม้ที่จมลึกอยู่ในบึงเข้ามาด้วย

การใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (PL) จะช่วยกำจัดแสงสะท้อนจากผิวน้ำ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้คุณมองเห็นลึกลงไปในน้ำเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้สีสันเด่นชัดขึ้นด้วย คุณสามารถปรับเอฟเฟ็กต์ให้อ่อนลงหรือเข้มขึ้นได้โดยการหมุนวงแหวนของฟิลเตอร์ เอฟเฟ็กต์โพลาไรซ์ที่เข้มขึ้นมักทำให้น้ำดูใสขึ้น 

รายละเอียดเพิ่มเติม

เพื่อให้คลื่นบนผิวน้ำดูนุ่มนวลขึ้น ผมลดความไวแสง ISO และลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f/22 เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่นานขึ้น
- โทนสีน้ำเงินของท้องฟ้ายังพอมองเห็นได้ลางๆ บนผิวน้ำ ผมจึงตั้งค่าสมดุลแสงขาวให้เย็นลงเล็กน้อยที่ 4,500K เพื่อให้เห็นโทนสีน้ำเงินนั้นด้วย
- ผมยังต้องแน่ใจว่าโทนสีแดง เหลือง และน้ำเงินในภาพผสมกลมกลืนเข้าด้วยกันอย่างเป็นธรรมชาติ

 

ไม่ใช้ฟิลเตอร์ PL: เห็นเงาสะท้อนบนผิวน้ำ

ภาพดอกไม้และใบไม้ในบึงที่มีเงาสะท้อน

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Aperture-priority AE (f/22, 2 วินาที, EV±0)/ ISO 50/ WB: Manual
ภาพโดย Hidehiko Mizuno

เมื่อไม่ใช้ฟิลเตอร์ PL ภาพสะท้อนของท้องฟ้าบนผิวน้ำในบึงจะบดบังภาพที่อยู่ลึกลงไปในน้ำ นอกจากนี้ ใบเมเปิลที่ลอยอยู่บนผิวน้ำยังมีสีสันเด่นสะดุดตาน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากแสงมีการกระจายตัว

 

เคล็ดลับที่ 1: เลือกจุดที่ต้องการถ่ายภาพ จากนั้นทดสอบฟิลเตอร์ PL

เอฟเฟ็กต์โพลาไรซ์จะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์และทิศทางของกล้อง หลังจากตัดสินใจได้แล้วว่าจะหันหน้าไปทิศใดขณะถ่ายภาพ คุณสามารถมุ่งความสนใจไปที่การจัดองค์ประกอบภาพที่ต้องการได้ 

ภาพแสดงตำแหน่งการถ่ายภาพ

ผมถ่ายภาพจากขอบบึง แม้จุดที่สามารถยืนถ่ายได้อย่างมั่นคงจะมีจำกัด แต่ผมก็ยังสามารถขยับไปทางซ้ายหรือขวาได้ จึงค่อนข้างง่ายในการหามุมถ่ายภาพที่ให้เอฟเฟ็กต์โพลาไรซ์ที่ดีที่สุด

 

เคล็ดลับที่ 2: ใช้ช่วงทางยาวโฟกัสมาตรฐานเพื่อให้เอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์โพลาไรซ์มีประสิทธิภาพสูงสุด

เมื่อคุณใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ดีที่สุดแล้ว คุณอาจพบว่าภาพที่ได้มีความสว่างไม่เท่ากัน โดยมีบางส่วนที่มืดกว่าส่วนอื่นๆ ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ คุณสามารถเลือกเพิ่มทางยาวโฟกัส (ถ้าให้ดีควรใช้ทางยาวโฟกัสมาตรฐาน) หรือหมุนฟิลเตอร์เพื่อปรับเอฟเฟ็กต์จนกว่าจะมองไม่เห็นส่วนที่มืดอีกต่อไป

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิลเตอร์ PL ได้ที่นี่:
การใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อถ่ายทอดท้องฟ้าให้มีสีฟ้าเข้มขึ้น

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Hidehiko Mizuno

เกิดปี 1968 ในเกียวโต ผลงานที่เขาเผยแพร่เน้นทิวทัศน์ที่สวยงาม รวมถึงศาลเจ้าและวัดวาอารามในเกียวโต

Takehito Miyatake

เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดโอซาก้า Miyatake ทำงานกับผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพในฐานะช่างภาพประจำสตูดิโอหลังจบการศึกษาจากสาขาเทคโนโลยีภาพถ่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ Tokyo Polytechnic University ในปี 1995 เขาได้ก่อตั้งสตูดิโอเป็นของตนเองที่มีชื่อว่า Miyatake Photo Factory ในจังหวัดโทคุชิมะ ซึ่งเป็นที่ที่เขาเติบโตขึ้น

http://miyatake-p.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา