ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เลือกกล้อง EOS R7 หรือ DSLR แบบ APS-C ระดับสูงดีกว่ากัน (ตอนที่ 1): ปุ่ม การควบคุม และ EVF

2023-03-08
1
327

EOS R7 ได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็นรุ่นต่อยอดอย่างแท้จริงจาก EOS 7D Mark II ซึ่งเป็นกล้อง DSLR แบบ APS-C ระดับสูงของ Canon ที่ขึ้นชื่อในด้านความเร็วและประสิทธิภาพ กล้องสองรุ่นนี้แตกต่างกันอย่างไร แล้วคุณจะคาดหวังอะไรได้บ้างหากอัพเกรดจากกล้อง DSLR ที่ใช้อยู่ ในบทความสองตอนนี้ เราจะมาหาคำตอบว่าประสบการณ์การถ่ายภาพของคุณจะเปลี่ยนไปได้อย่างไร พร้อมทั้งเรียนรู้เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ด้วย ตอนที่ 1 ผมจะขอเน้นไปในเรื่องปุ่ม วงแหวน และช่องมองภาพ (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

ในบทความนี้:

การจัดเรียงปุ่มและวงแหวน: ปรับปรุงใหม่ แต่ยังคงคุ้นเคย

การจัดเรียงปุ่มและวงแหวนในรูปแบบใหม่ที่ดียิ่งขึ้นได้รับการออกแบบมาสำหรับขนาดบอดี้ของ EOS R7

หากคุณเปลี่ยนกล้องจาก EOS 7D Mark II และ EOS DSLR รุ่นอื่นๆ อาจต้องใช้เวลาสักพักในการทำความคุ้นเคยกับปุ่มและการจัดเรียงแบบใหม่ อย่างไรก็ตาม เลย์เอาต์แบบใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาสำหรับขนาดบอดี้ของกล้องรุ่นนี้ และคุณจะเริ่มรู้สึกใช้คล่องมือได้เร็วมาก

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆ และสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง

ด้านหน้าของกล้อง

ด้านหน้าของกล้อง

 

A: สวิตช์โหมดโฟกัส
B: ปุ่มเช็คระยะชัดลึก
C: ไม่มีแฟลชติดกล้อง


A: สวิตช์โหมดโฟกัส

EOS R7 เป็นกล้องรุ่นแรกในซีรีย์ EOS R ที่มีสวิตช์นี้ ซึ่งช่วยให้สามารถสลับโหมดโฟกัสของเลนส์ระหว่าง AF กับ MF ได้ ซึ่งมีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับเลนส์ที่ไม่มีสวิตช์ดังกล่าวบนตัวเลนส์ เช่น เลนส์ RF-S สำหรับเลนส์ที่มีสวิตช์ AF/MF การตั้งค่าบนเลนส์จะยกเลิกการตั้งค่าบนสวิตช์กล้อง


B: ปุ่มเช็คระยะชัดลึก

ภาพตัวอย่างในช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) และ Live View จะแสดงระยะชัดลึกตามค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ ไม่ว่าคุณจะตั้งค่ารูรับแสงจริงไว้ที่เท่าใดก็ตาม ปุ่มนี้จะปรับลดขนาดรูรับแสงเพื่อให้คุณสามารถดูภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วยการตั้งค่ารูรับแสงที่คุณได้ตั้งไว้

เคล็ดลับระดับมือโปร: คุณสามารถตั้งค่า EOS R7 ให้เช็คระยะชัดลึกจริงควบคู่กับการจำลองระดับแสงได้ ซึ่งการตั้งค่านี้จะทำให้ปุ่มเช็คระยะชัดลึกว่างเพื่อกำหนดค่าให้เป็นฟังก์ชั่นอื่นได้


C: ไม่มีแฟลชติดกล้อง

EOS R7 ไม่มีแฟลชติดกล้อง ซึ่งทำให้ด้านบนของกล้องดูเรียบง่ายขึ้น ข้อนี้ไม่น่าจะสร้างปัญหามากนัก เนื่องจากประสิทธิภาพของ AF ในสภาวะแสงน้อยและประสิทธิภาพความไวแสง ISO สูงของกล้องได้รับการปรับปรุงขึ้นอย่างมาก หากคุณต้องการใช้แฟลช จะต้องใช้แฟลชเสริม

แฟลชติดกล้องในกล้อง DSLR แบบ APS-C

ด้านหลังของกล้อง

ด้านหลังของกล้อง

D: หน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้
E: วงแหวน Quick Control/ Multi-Controller


D: หน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้

หากกล้อง DSLR ของคุณเป็นกล้องที่วางจำหน่ายก่อนปี ค.ศ. 2016 ก็อาจมีหน้าจอ LCD ชนิดติดอยู่กับที่ เมื่อเทียบกันแล้ว EOS R7 มีหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้รอบทิศที่ช่วยให้จัดองค์ประกอบภาพได้อย่างยืดหยุ่นมากกว่า โดยสามารถพลิกและหมุนเพื่อให้คุณมองเห็นภาพถ่ายได้แม้จะถ่ายจากมุมที่ถ่ายได้ยาก นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งานหน้าจอสัมผัส ซึ่งช่วยให้เข้าถึงคุณสมบัติและการตั้งค่าต่างๆ ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น

ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยหน้าจอสัมผัสและหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่คุณไม่เคยทราบมาก่อน!
การปรับแต่ง AF แบบแตะและลากเพื่อการถ่ายภาพผ่าน EVF ที่ดียิ่งขึ้น
หน้าจอสัมผัสของกล้อง EOS 80D และ 5 สิ่งที่คุณสามารถทำได้อย่างสะดวก (ใช้ได้กับกล้อง EOS ทุกรุ่นที่มีหน้าจอสัมผัสเช่นกัน)


E: วงแหวน Quick Control/ Multi-Controller

วงแหวน Quick Control และ Multi-Controller (ซึ่งทำงานคล้ายกับจอยสติ๊ก) เป็นส่วนควบคุมที่มีการเข้าถึงอยู่บ่อยครั้ง กล้อง DSLR ระดับเริ่มต้นจะไม่มี Multi-Controller ซึ่งแต่เดิมใช้เพื่อเลือกจุด AF ให้เร็วขึ้นในกล้องที่มีจุด AF จำนวนมาก สำหรับกล้องที่มี Multi-Controller เช่น กล้อง DSLR ระดับสูงอย่าง EOS 7D Mark II โดยปกติแล้วปุ่มนี้จะอยู่ห่างจากวงแหวน Quick Control

EOS 7D Mark II

e1: Multi-Controller
e2: วงแหวน Quick Control

อย่างไรก็ตาม EOS R7 ได้รวมเอา Multi-Controller และวงแหวน Quick Control เข้าไว้ด้วยกัน จึงลดระยะห่างในการขยับนิ้วของคุณระหว่างปุ่มกับวงแหวน ต่อไปนี้คุณจะสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าได้เร็วกว่าที่เคย ซึ่งจะสร้างความแตกต่างอย่างมากเวลาบันทึกช่วงเวลาต่างๆ! ส่วนปุ่ม 4 ทิศทางจะย้ายไปอยู่ตรงพื้นที่ทางขวาของหน้าจอ LCD ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของวงแหวน Quick Control

ด้านบนของกล้อง

ด้านบนของกล้อง

F: วงแหวนเลือกโหมด
G: ปุ่มล็อคมัลติฟังก์ชั่น
H: ปุ่มถ่ายภาพเคลื่อนไหว
I: ฐานเสียบอุปกรณ์เสริม


F: วงแหวนเลือกโหมด

EOS R7

กล้อง EOS DSLR แบบ APS-C ระดับสูง

สำหรับกล้อง EOS DSLR แบบ APS-C ระดับสูงๆ อย่างซีรีย์ EOS XXD และ EOS 7D Mark II นั้น วงแหวนเลือกโหมดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ แต่สำหรับ EOS R7 วงแหวนจะอยู่ทางด้านขวามือ จึงช่วยให้ใช้งานด้วยมือเดียวได้ง่ายยิ่งขึ้น วงแหวนของ EOS R7 มาพร้อมกับโหมดใหม่ๆ รวมทั้งโหมด Fv และโหมดฉากพิเศษ (SCN) แต่จะไม่มีกลไกล็อคโดยเฉพาะ


G: ปุ่มล็อคมัลติฟังก์ชั่น

EOS R7

กล้อง EOS DSLR แบบ APS-C

ปุ่มนี้จะล็อคฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น ฟังก์ชั่นหน้าจอสัมผัส วงแหวน Quick Control วงแหวนควบคุมหลัก และวงแหวนควบคุม เพื่อป้องกันการเปลี่ยนการตั้งค่าอย่างไม่ได้ตั้งใจอันเนื่องมาจากการสั่งงานโดยไม่เจตนา สำหรับกล้อง EOS DSLR ที่มีปุ่มดังกล่าว โดยปกติแล้วปุ่มจะอยู่ในรูปสวิตช์และตั้งอยู่ตรงมุมขวาล่างของด้านหลังกล้อง แต่สำหรับ EOS R7 ปุ่มนี้จะอยู่ที่แผงควบคุมด้านบน


H: ปุ่มถ่ายภาพเคลื่อนไหว

EOS R7

EOS DSLRs

สำหรับกล้อง EOS DSLR ส่วนใหญ่ รวมถึง EOS 7D Mark II คุณต้องสลับไปใช้โหมดการถ่ายภาพเคลื่อนไหวก่อนจึงจะเริ่มบันทึกวิดีโอได้ แต่สำหรับ EOS R7 เพียงกดปุ่มสีแดงก็สามารถเริ่มบันทึกได้เลย นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดฟังก์ชั่นอื่นๆ ให้กับปุ่มนี้ได้ด้วย


I: ฐานเสียบอุปกรณ์เสริม (ฐานเสียบมัลติฟังก์ชั่น)

EOS R7

EOS DSLRs

ฐานเสียบอุปกรณ์เสริมบนกล้อง EOS R7 เรียกว่า ฐานเสียบมัลติฟังก์ชั่น ซึ่งมีขั้วต่อการสื่อสารแบบใหม่ที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อไมโครโฟนภายนอก ตัวส่งสัญญาณ และอุปกรณ์เสริมที่เข้ากันได้อื่นๆ โดยไม่ต้องใช้สาย นอกเหนือจากอุปกรณ์เสริมที่ใช้ฐานเสียบเสริมทั่วไปอย่างแฟลช Speedlite!


สรุป:

- การเปลี่ยนแปลงเลย์เอาต์ปุ่มที่เห็นได้ชัดที่สุดอยู่ที่ด้านบนและด้านหลังของบอดี้กล้อง กล่าวคือ ขณะที่กล้อง EOS DSLR ระดับสูงมีแถวปุ่ม 4 ปุ่มทั้งด้านบนของกล้องและด้านซ้ายของหน้าจอ LCD ด้านหลัง แต่กล้อง EOS R7 นั้นไม่มี
- ตำแหน่งของวงแหวน Quick Control เปลี่ยนไป แม้เทียบกับกล้องซีรีย์ EOS R รุ่นอื่นๆ

EVF กับ OVF ภาพที่เห็นจากช่องมองภาพ

EVF กับ OVF: ภาพที่เห็นจากช่องมองภาพ

ในอดีต ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) ไม่อาจเทียบเคียงกับช่องมองภาพออพติคอล (OVF) เวลาที่ถ่ายภาพเคลื่อนไหว เพราะมักจะมีเสียงบ่นว่ามีความหน่วงในการแสดงภาพและแสดงสีได้ไม่เป็นธรรมชาติ ทว่า เทคโนโลยี EVF ได้พัฒนาขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จอ OLED ความละเอียด 2.36 ล้านจุด ของ EOS R7 แสดงภาพออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม พร้อมด้วยความเร็วและประสิทธิภาพที่จำเป็นในการถ่ายภาพสัตว์ป่าและภาพเคลื่อนไหว และคุณสมบัติอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น การจำลองระดับแสงและการแสดงข้อมูลการถ่ายภาพ


EVF: แสดงข้อมูลการถ่ายภาพมากขึ้น

EOS R7

ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งค่าการถ่ายภาพจะแสดงอยู่ที่ด้านล่างทางซ้าย และทางขวาของหน้าจอ EVF เป็นหลัก คุณสามารถสลับเปิดหรือปิดได้ เมื่อคุณหมุนกล้องเป็นแนวตั้ง หน้าจอจะปรับตำแหน่งให้ตรงกัน

กล้อง EOS DSLR

แสดงเฉพาะข้อมูลการถ่ายภาพแบบพื้นฐานที่สุดและมีไอคอนน้อยที่สุดที่ด้านล่างของช่องมองภาพ ข้อมูลดังกล่าวนี้รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ เช่น ระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์ อาจมองเห็นได้ยาก


ข้อมูลการถ่ายภาพแบบพื้นฐานจะแสดงอยู่ที่ด้านล่างของจอแสดงผลช่องมองภาพ เช่นเดียวกับ EOS 7D Mark II และ DSLR รุ่นอื่นๆ แต่สำหรับ EVF บนกล้อง EOS R7 คุณสามารถแสดงข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งรวมถึง

- ไอคอนสำหรับการตั้งค่าการถ่ายภาพอื่นๆ ที่ด้านซ้ายและด้านขวาของหน้าจอ
- ตาราง
- ระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงซ้อนทับ
- ฮิสโตแกรมที่แสดงซ้อนทับ

คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าได้โดยไม่ต้องละสายตาจาก EVF ซึ่งช่วยลดโอกาสในการพลาดช่วงเวลาที่คาดไม่ถึง การกดปุ่ม Q จะแสดงเมนู Quick Control ซ้อนขึ้นมาเพื่อให้ฉากอยู่ในสายตาเสมอ นอกจากนี้ คุณยังสามารถแสดงเมนูหลักและเปิดดูภาพใน EVF ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพภายใต้แสงแดดจ้าที่อาจมองเห็นจอ LCD ด้านหลังได้ยาก


เคล็ดลับระดับมือโปร: สลับใช้การแสดงผลแบบต่างๆ

หากคุณต้องการจอแสดงผลที่ไม่มีไอคอนกีดขวางการมองเห็น เพียงแค่กดปุ่ม INFO ก็สามารถสลับหน้าจอแสดงผล EVF แบบต่างๆ และยังสามารถปรับแต่งข้อมูลที่จะแสดงในจอแสดงผลได้เช่นกัน

มาเรียนรู้กันว่าช่างภาพทิวทัศน์ใช้คุณสมบัตินี้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร และทำความรู้จักกับจุดชมวิวอันน่าทึ่งในฮ่องกงที่:
#สวัสดีจากฮ่องกง: ทิวทัศน์ตระการตาจากยอดเขาที่สูงที่สุดของฮ่องกง


เคล็ดลับการใช้งาน EVF


1. การถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว: เปิดใช้งานประสิทธิภาพการแสดงผลแบบ ‘Smooth’ ที่ 120 fps

EVF จะอ่านและรีเฟรชหน้าจออย่างต่อเนื่องด้วยข้อมูลภาพจากเซนเซอร์ภาพ ดังนั้น OVF ที่แสดงมุมมองจากเลนส์โดยตรงจะได้เปรียบในด้านความลื่นไหลเสมอ แต่ EVF ของ EOS R7 รองรับประสิทธิภาพการแสดงผลที่เร็วถึง 120 fps จึงสร้างประสบการณ์การรับชมที่ดีขึ้นสำหรับฉากที่สิ่งต่างๆ ในเฟรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งรวมถึง

- ฉากที่มีการเคลื่อนไหว
- ฉากเทเลโฟโต้

จะมีความลื่นไหลเทียบได้กับใน OVF

เคล็ดลับ: เปิดใช้งานตัวเลือก “ลดอัตราเฟรมต่ำ” เพื่อแสดงผลในฉากที่มีแสงน้อยได้อย่างลื่นไหลขึ้น

ข้อควรรู้: เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งและ AF เริ่มทำงาน ประสิทธิภาพการแสดงผลจะเปลี่ยนเป็น 60 fps จนกว่าจะถ่ายภาพเสร็จ

i) อัตราการแสดงผลคือ 120 fps เมื่อคุณค้นหาและจัดเฟรมให้กับตัวแบบ
ii) เมื่อคุณจับโฟกัสไปที่ตัวแบบและกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง อัตราการแสดงผลจะเปลี่ยนเป็น 60 fps
iii) คุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงจนสุดและเริ่มถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง


เคล็ดลับในการประหยัดพลังงาน: ประสิทธิภาพการแสดงผล 60 fps เพียงพอต่อฉากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว

หากคุณไม่ได้ถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว อัตราการแสดงผลที่ 60 fps ก็น่าจะเพียงพอ เปลี่ยนประสิทธิภาพการแสดงผลเป็นโหมด “ประหยัดพลังงาน” เพื่อลดการใช้พลังงานและยืดอายุแบตเตอรี่


2. ดูโทนสีและรายละเอียดได้ดียิ่งขึ้นในโหมด OVF Simulation View Assist

โหมด OVF Simulation View Assist ของ EOS R7 ใช้เทคโนโลยีการประมวลผล HDR เพื่อลดแสงสว่างโพลนและส่วนที่มืดเกินไป ทำให้ได้มุมมอง EVF ที่คล้ายกับมุมมองผ่าน OVF

ขั้นตอนที่ 1

ในเมนู SHOOT9 ให้เลือก “OVF sim. View assist”

ขั้นตอนที่ 2

เปิดใช้งาน OVF sim. view assist

หมายเหตุ: จะไม่มีการใช้การจำลองระดับแสง
คุณจะไม่สามารถตรวจดูผลลัพธ์ของการตั้งค่าการเปิดรับแสง สมดุลแสงขาว หรือรูปแบบภาพได้


3. การตั้งค่าใหม่: เช็คระยะชัดลึกควบคู่กับการจำลองระดับแสง

การจำลองระดับแสงจะนำการตั้งค่าการเปิดรับแสงของคุณไปใช้กับตัวอย่างภาพ แต่ระยะชัดลึก (เช่น โบเก้) ที่แสดงนั้นจะเป็นระยะชัดลึกที่ค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์โดยปริยาย เมื่อใช้ EOS R7 คุณยังสามารถตั้งค่ากล้องให้เช็คระยะชัดลึกได้เช่นกัน โดยไปที่เมนู SHOOT และตั้งค่า “การจำลองการแสดงผล” เป็น “ระดับแสง+ระยะชัดลึก” ซึ่งจะช่วยให้คุณตรวจสอบได้ว่าโบเก้ปรากฏตามที่คุณต้องการหรือไม่

ขั้นตอนที่ 1

ในเมนู SHOOT9 ให้เลือก “การจำลองการแสดงผล”

ขั้นตอนที่ 2

เลือก “ระดับแสง+ระยะชัดลึก”


ไปต่อที่:
ตอนที่ 2: ความสามารถหลัก

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา