ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพคอสเพลย์ให้ดูน่ามหัศจรรย์ 3 เทคนิคที่ควรทดลองใช้

2017-12-07
1
4.38 k
ในบทความนี้:

จุดสำคัญของการถ่ายภาพคอสเพลย์คือการสร้างฉากที่ดูเหนือจริงให้มากที่สุด ต่อไปนี้คือเคล็ดลับ 3 ข้อในการสร้างฉากดังกล่าวโดยใช้การฉายภาพฉากหลัง (เรื่องโดย: Suna นางแบบ: Yu, Kanata)

เปิดรับแสงนานพร้อมกับใช้นางฟ้า

 

1. การฉายภาพฉากหลังสร้างฉากได้ทุกแบบตามที่ต้องการ

ดังที่ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ว่า วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างฉากหลังสำหรับถ่ายภาพคือ การใช้ภาพฉายขึ้นบนจอภาพ การฉายภาพฉากหลังขึ้นบนจอ/กำแพงที่อยู่ด้านหลังนางแบบจะช่วยให้คุณสามารถถ่ายทอดบรรยากาศที่มีนางแบบอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมซึ่งสื่อผ่านฉากหลังได้อย่างสมจริง ตัวอย่างเช่น ในภาพด้านล่างดูเหมือนว่าตัวละครทั้งสองเพิ่งมาถึงยังสถานที่หนึ่งซึ่งพวกเขาต้องออกสำรวจต่อไป และทั้งคู่พร้อมรับมือกับความท้าทายที่อยู่ตรงหน้า

การจัดแสงพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพโดยใช้โปรเจคเตอร์

EOS-1Ds Mark II/ EF70-200mm f/2.8L USM/ f/9/ 1/4 วินาที/ ISO 400/ RAW/ กระบวนการปรับแต่งภาพ: Camera Raw
อุปกรณ์จัดแสง: Monolight (ในสตริปซอฟต์บ็อกซ์พร้อมกริด), อุปกรณ์แฟลชเสริม 3 ตัว (พร้อมฟิลเตอร์สีน้ำเงิน)

 

ตัวอย่างการจัดแสง

สำหรับภาพดังกล่าว (และเมื่อใดก็ตามที่คุณใช้โปรเจคเตอร์) คุณต้อง มั่นใจจริงๆ ว่าการจัดแสงของคุณไม่มีผลต่อภาพที่ฉายขึ้นจอ ควรใช้อุปกรณ์จัดแสงที่ส่องสว่างในพื้นที่แคบๆ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน จึงควรเลือกที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ของคุณมากที่สุด

เมื่อเราถ่ายภาพด้านล่าง เราใช้โปรเจคเตอร์ที่แขวนจากเพดานสตูดิโอ ซึ่งอยู่ห่างจากจอ 6 เมตร นั่นหมายความว่า หากตัวแบบยืนอยู่ใกล้กับจอมากเกินไปอาจขวางทางแสงของโปรเจคเตอร์ และทำให้เกิดเงาที่บดบังภาพที่ฉายขึ้นจอได้ ในฐานะช่างภาพ ควรบอกให้แบบของคุณทราบว่าควรยืนตรงจุดไหนจึงจะได้ผลภาพที่ดีที่สุด

การจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพด้วยโปรเจคเตอร์ขั้นพื้นฐาน

กำกับให้แบบของคุณยืนในจุดที่เหมาะสมเพื่อไม่เป็นการขวางทางแสงจากโปรเจคเตอร์ วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้คือทำเครื่องหมายเพื่อระบุตำแหน่งที่คุณต้องการให้ตัวแบบยืน

 

เลย์เอาต์และการวางตำแหน่ง

เราใส่แหล่งกำเนิดแสงหลักไว้ในสตริปซอฟต์บ็อกซ์พร้อมกับกริด และนำไปวางใกล้ๆ นางแบบ (ตำแหน่ง C ในแผนภาพด้านล่าง) กริดจะช่วยจำกัดขนาดของลำแสงและป้องกันไม่ให้แสงส่องไปยังภาพที่ฉายขึ้นจอ

ผมขอให้นางแบบยืนหันหน้าไปทางแหล่งกำเนิดแสงหลักเพื่อให้แสงตกกระทบที่ด้านหน้าตัวเธอ และขอให้นายแบบโพสท่าโดยหันหลังเข้าหาแหล่งกำเนิดแสงหลัก แสงไฟที่ส่องจากด้านหลังส่งผลให้เกิดเอฟเฟ็กต์คล้ายภาพซิลูเอตต์

การจัดแสงพื้นฐาน - เบื้องหลังการถ่ายภาพ

ฉากหลังอาจดูมีขนาดเล็กเมื่อมองจากตำแหน่งของกล้อง แต่ที่จริงแล้วมีผลค่อนข้างน้อยเมื่อถ่ายภาพจริง

 

เลย์เอาต์ของอุปกรณ์สำหรับการจัดแสงพื้นฐาน

A: อุปกรณ์แฟลชเสริม (เพื่อไฮไลต์นายแบบ)
B: อุปกรณ์แฟลชเสริม (พร้อมฟิลเตอร์สีน้ำเงิน)
C: สตริปซอฟต์บ็อกซ์ (พร้อมกริด)
D: เครื่องสร้างควัน

หากเราใช้แค่แหล่งกำเนิดแสงหลัก นายแบบอาจกลืนไปกับแบ็คกราวด์ เราจึงเพิ่มแหล่งกำเนิดแสงที่สองไว้ใกล้นายแบบ นอกจากนี้ เรายังใช้อุปกรณ์แฟลชเสริมที่มีฟิลเตอร์สีน้ำเงินติดไว้เพื่อให้แสงไฟเข้ากันกับสีน้ำเงินในส่วนแบ็คกราวด์

 

2. เพิ่มองค์ประกอบเหนือธรรมชาติด้วยการเปิดรับแสงนาน

ก่อนหน้านี้ เราได้เรียนรู้วิธีใช้การเปิดรับแสงนานเพื่อเพิ่มนางฟ้าและองค์ประกอบเหนือธรรมชาติในภาพถ่ายกันไปแล้ว ครั้งนี้คุณสามารถทำแบบเดียวกันได้โดยใช้การฉายภาพฉากหลังที่เหมาะสม นี่เป็นวิธีที่เราใช้สร้างภาพถ่ายด้านล่าง ซึ่งเป็นภาพที่ตัวละครหลักได้รับการช่วยเหลือจากเหล่านางฟ้าในป่าอันมืดทึบ

เมื่อใช้การเปิดรับแสงนานร่วมกับการฉายแบ็คกราวด์ แสงจากโปรเจคเตอร์จะส่งผลต่อระยะเวลาการเปิดรับแสงในภาพ เคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงปัญหานี้คือตั้งค่า f ให้สูงที่สุด เมื่อใช้รูรับแสงแคบสุด คุณจะสามารถเปิดชัตเตอร์ค้างได้นานขึ้น ทำให้มีเวลามากขึ้นในการปล่อยแสงแฟลชพร้อมกับนางฟ้า

ต้องการทบทวนพื้นฐานการเปิดรับแสงหรือไม่ โปรดดูที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง 3: การเปิดรับแสง

สำหรับภาพนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อภาพที่ฉายขึ้นจอ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าแสงจากแหล่งกำเนิดแสงหลักจะตกลงที่นางแบบเท่านั้น ไม่ใช่ในตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการติดตั้งกริดเข้ากับแหล่งกำเนิดแสงหลัก

ฉากหลังที่มีนางฟ้า

EOS-1Ds Mark II/ EF70-200mm f/2.8L USM/ f/22/ 3.2 วินาที / ISO 400/ RAW/ กระบวนการปรับแต่งภาพ: Camera Raw
อุปกรณ์จัดแสง: Monolight (ในสตริปซอฟต์บ็อกซ์พร้อมกริด), อุปกรณ์แฟลชเสริม 4 ตัว (ใช้ 3 ตัวเพื่อสร้างนางฟ้า)

 

เลย์เอาต์ของอุปกรณ์ (ฉากหลังที่มีนางฟ้า)

A: สตริปซอฟต์บ็อกซ์ (พร้อมกริด)
B: อุปกรณ์แฟลชเสริม (สำหรับควัน)
C: อุปกรณ์แฟลชที่มีภาพฉลุนางฟ้า
D: เครื่องสร้างควัน

หลังจากกดชัตเตอร์ด้วยรีโมทคอนโทรลแล้ว อุปกรณ์แฟลชที่มีภาพฉลุนางฟ้าจะยิงแสงแฟลชออกไป แน่นอนว่าการที่คุณมีผู้ช่วยคอยยิงแฟลชน่าจะดีที่สุด แต่หากคุณต้องทำด้วยตัวเอง ควรทดลองก่อนล่วงหน้าเพื่อคำนวณจังหวะเวลาที่เหมาะสม

อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชเพิ่มเติมที่:
จุดโฟกัส: ขั้นตอนพื้นฐานของการถ่ายภาพด้วยแฟลชเสริม

 

3. ใช้กล่องอะคริลิกใสเพื่อทำให้ตัวแบบของคุณลอยอยู่ในอากาศ

คุณอาจต้องการให้ตัวละครดูคล้ายกับกำลังบินหรือลอยอยู่ในอากาศ ดังเช่นที่เราทำกับแม่มดในภาพนี้ สำหรับอุปกรณ์ประกอบฉากที่มีขนาดเล็กหรือเสื้อผ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวละคร วิธีหนึ่งที่เราใช้สร้างเอฟเฟ็กต์ดังกล่าวอยู่บ่อยครั้งคือแขวนอุปกรณ์หรือเสื้อผ้าไว้บนเชือก แต่เราไม่สามารถทำเช่นนั้นกับคนได้ ในสถานการณ์นี้เองที่กล่องอะคริลิกใสจะมีประโยชน์มาก สำหรับภาพนี้ เราให้นางแบบนั่งบนกล่อง เนื่องจากอะคริลิกมีความโปร่งใสสูง เราจึงไม่ควรให้ผู้ชมมองเห็นในภาพถ่ายหากคุณถ่ายภาพจากมุมหนึ่ง ผลลัพธ์: แม่มดของเรานั่งบนไม้กวาดและลอยอยู่ในอากาศ

ตัวละครคอสเพลย์ที่กำลังลอย (กล่องอะคริลิก)

EOS-1Ds Mark II/ EF70-200mm f/2.8L USM/ f/10/ 1/10 วินาที/ ISO 400/ RAW/ กระบวนการปรับแต่งภาพ: Camera Raw
อุปกรณ์จัดแสง: Monolight (ในสตริปซอฟต์บ็อกซ์พร้อมกริด), อุปกรณ์แฟลชเสริม 4 ตัว

 

เบื้องหลังการถ่ายภาพ (การถ่ายภาพโดยใช้กล่องอะคริลิค)

เราทำให้ใบหน้าของนางแบบสว่างโดยใช้แสงไฟในสตริปซอฟต์บ็อกซ์ จากนั้นวางแสงไฟไว้ทางซ้ายและขวาของนางแบบเพื่อแสดงรายละเอียดของภาพ และพ่นควันหนาโดยใช้เครื่องสร้างควัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าขนลุก

 

เลย์เอาต์ของอุปกรณ์ (กล่องอะคริลิก)

A: สตริปซอฟต์บ็อกซ์ (พร้อมกริด)
B: อุปกรณ์แฟลชเสริม
C: อุปกรณ์แฟลชเสริม (เพื่อเพิ่มความสว่างที่ต้นขาของนางแบบ)
D: Monolight
E: อุปกรณ์แฟลชเสริม (สำหรับเพิ่มความสว่างให้แก่ควัน)
F: เครื่องสร้างควัน

เมื่อนางแบบนั่งบนกล่องอะคริลิกอาจขยับตัวไปมาได้ลำบากมาก คนที่อยู่ใกล้ๆ ควรพร้อมให้ความช่วยเหลือยามจำเป็น

 

หากต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอสเพลย์และการถ่ายภาพ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (1): อุปกรณ์จัดแสง
เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (2): พื้นฐานการจัดแสง
เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (3): ตัวอย่างการจัดแสงแบบต่างๆ
เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (4): วิธีถ่ายภาพโดยใช้แสงไฟที่มีสีสัน
เทคนิคการถ่ายภาพคอสเพลย์ (5): เพิ่ม "นางฟ้า" ในภาพโดยใช้การเปิดรับแสงนาน
การสร้างฉากหลัง: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพคอสเพลย์โดยใช้โปรเจคเตอร์

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Suna (@sandmu963)

Suna ทำงานเป็นช่างภาพในวันธรรมดาเสียส่วนใหญ่และนำเทคนิคถ่ายภาพใหม่ๆ มาใช้อยู่เสมอ อีกทั้งยังเผยแพร่คำอธิบายที่เรียบเรียงอย่างดีและเข้าใจง่ายผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น Twitter อีกด้วย

Yu (@yu_know_what)

ชาวคอสเพลย์ผู้กำลังร่วมโปรเจกต์แต่งคอสเพลย์หลายโปรเจกต์ อาทิ Fate, Danganronpa และ Hatsune Miku ในขณะนี้ เธอโด่งดังมากจากผลงานภาพถ่ายที่เน้นฉากในภาพยนตร์ต่างๆ

Genkosha Co.

สำนักพิมพ์ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือและนิตยสารเกี่ยวกับวิดีโอ การถ่ายภาพ และภาพประกอบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา