ภาพถ่ายคืองานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างแสงและเงา ภาพต่างๆ ที่เราเห็นนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าแสงจะตกกระทบลงบนตัวแบบอย่างไร เรามาเริ่มด้วยหลักพื้นฐานเกี่ยวกับทิศทางแสงและผลที่เกิดขึ้นกับภาพถ่าย (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
หน้า: 1 2
ความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางแสงและเงาที่เกิดขึ้นบนตัวแบบ
ควบคุมแสงและเงาให้เข้ากับภาพที่คุณต้องการถ่าย
เงาที่ปรากฏบนตัวแบบเกี่ยวข้องโดยตรงกับทิศทางของแสงตกกระทบบนตัวแบบ หากแสงส่องที่ตัวแบบโดยตรงทางด้านหน้า จะไม่มีส่วนมืดปรากฏเพราะเงาจะทอดไปทางด้านหลังตัวแบบ อย่างไรก็ตาม หากแสงเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง เงาจะทอดไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับแสง ทำให้เกิดเงาเข้มบนตัวแบบ เงาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความรู้สึกหนักแน่นให้กับตัวแบบ และเอฟเฟ็กต์ของแสงเงาก็ถูกนำมาใช้ในงานถ่ายภาพด้วยเช่นกัน ภาพดวงอาทิตย์ตกนับเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้เอฟเฟ็กต์นี้ บรรยากาศภาพอันทรงพลังเกิดขึ้นได้โดยการทอดเงาบนตัวแบบโดยใช้แสงที่ส่องเฉียงๆ จากมุมต่ำซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภาพดวงอาทิตย์ตก หากคุณเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของแสงและบรรยากาศภาพ ทักษะการถ่ายภาพของคุณจะพัฒนาขึ้นอย่างแน่นอน
คุณจะพบว่าเงาจะปรากฏที่ด้านตรงข้ามกับทิศทางแสง ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการถ่ายภาพจริง เพราะแสงทุกประเภทที่ใช้ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของช่างภาพ
ความแตกต่างระหว่างแสงด้านหน้าและแสงด้านหลังในภาพถ่ายพอร์ตเทรต
แม้จะถ่ายคนคนเดียวกัน บรรยากาศที่ได้ก็เปลี่ยนไปตามลักษณะของเงาที่เกิดขึ้น
ทิศทางแสงและปริมาณเงาที่เกิดขึ้นในภาพถ่ายพอร์ตเทรตจะเกิดเอฟเฟ็กต์ต่อตัวแบบอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากภาพตัวอย่างด้านบน แท้จริงแล้ว แทนที่จะตัดสินว่าจะต้องถ่ายภาพในแสงแบบไหน ช่างภาพควรเลือกสภาพแสงที่เข้ากันกับภาพที่มีอยู่ในใจ ภาพถ่ายจะคมชัดขึ้นหากคุณใช้แสงที่ใกล้เคียงกับแสงด้านหน้า หากคุณใช้แสงด้านหลัง เงาบนใบหน้าจะหายไปและบรรยากาศโดยรอบจะนุ่มนวลขึ้น แสงด้านหลังมักจะถูกใช้ในการถ่ายภาพคนเป็นเงาที่ชัดเจนเน้นมุมแกะสลักและคุณสมบัติ แต่แสงด้านหน้ามักจะใช้สำหรับการถ่ายภาพผู้หญิง
การถ่ายภาพในทิศทางแสงด้านหน้า
Aperture-Priority AE (1/640 วินาที, f/5.6, -0.7EV)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ภาพถ่ายในทิศทางแสงด้านหน้าซึ่งดวงอาทิตย์อยู่หลังกล้องถ่ายภาพ วัตถุทั้งหมดจะถูกเก็บรายละเอียดไว้อย่างคมชัดและแม้แต่วัตถุในส่วนแบ็คกราวด์ก็ยังเห็นได้ชัดเจน แสงด้านหน้า เป็นสภาพแสงเบื้องต้นที่เหมาะกับการถ่ายภาพทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ หากเริ่มต้นฝึกฝนหลักพื้นฐานในการถ่ายภาพในแสงด้านหน้าก่อน แล้วค่อยขยับไปถ่ายภาพในลักษณะแสงด้านหลังหรือแสงเฉียง ก็จะทำให้สามารถเข้าใจเรื่องแสงและผลที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น ตัวแบบไม่เกิดเงา เนื่องจากดวงอาทิตย์ส่องไปยังตัวแบบในมุมเฉียงจากด้านบนทางด้านหน้า
การถ่ายภาพในสภาพแสงด้านหลัง
Aperture-Priority AE (1/320 วินาที, f/2.8, -0.7EV)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สภาพแสงด้านหลังจะเกิดขึ้นเมื่อแสงส่องอยู่ในทิศทางตรงข้ามโดยเผชิญหน้ากับกล้อง ต่างจากแสงอื่นๆ แสงด้านหลังมีลักษณะเด่นในการเปลี่ยนตัวแบบให้มีลักษณะแบบซิลลูเอตต์ได้อย่างง่ายดาย แสงด้านหลังจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้ถ่ายภาพตัวแบบที่โปร่งแสงเพื่อให้ได้บรรยากาศภาพถ่ายที่น่าประทับใจและมีความเปรียบต่างสูงอย่างที่เห็นในภาพ แม้ว่าจะสามารถใช้ได้กับตัวแบบทุกประเภท แต่ก็มีความยากอยู่บ้างในการกำหนดปริมาณแสงที่ต้องใช้ ดังนั้น คุณสามารถลองใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับความสว่างของภาพถ่ายได้
การถ่ายภาพในแสงเฉียง
Aperture-Priority AE (1/320 วินาที, f/4.5, -0.3EV)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพที่เห็นด้านบนคือตัวอย่างภาพที่ถ่ายด้วยแสงเฉียงซึ่งแสงส่องจากหน้าต่างบานเล็กๆ เนื่องจากแสงส่องเป็นมุม ขนม้าในภาพจึงดูนุ่มนวล กระทั่งผิวยังรู้สึกหนักแน่น แสงนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ให้บรรยากาศละเอียดอ่อน และมีความโดดเด่นในการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวแบบได้อย่างมากมาย แสงแบบนี้ยังมีประสิทธิภาพเมื่อใช้กับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและทิวทัศน์ ทำให้ได้อรรถรสและสัมผัสที่แตกต่างเมื่อเทียบกับภาพที่ถ่ายโดยใช้แสงด้านหน้า
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย