การถ่ายแบบน้อยแต่มากมักจะถูกมองข้ามในโลกที่แสนยุ่ง เพราะวัตถุสิ่งของและแสงสีนานัปการมาบดบังสายตาเรา การถ่ายภาพแบบน้อยแต่มากสอนให้คุณคิดนอกกรอบ มองผ่านเลยความสับสนวุ่นวาย เพื่อค้นพบความเงียบสงบที่สมบูรณ์แบบ
EOS 5D Mark II, EF24-105mm f/4L IS USM, f/8.0, 35mm, 1/320secs, ISO500 โดย Sergey Norin
แรงบันดาลใจจากคอนเซ็ปศิลปะแบบน้อยแต่มากที่ออกมาจากนิวยอร์กตอนต้นทศวรรษที่ 1960 เป็นศิลปะแนวแอบสแตก ภาพถ่ายแบบน้อยแต่มากมีความเรียบง่ายสูง และมีองค์ประกอบภาพจำนวนจำกัด เช่น รูปทรง สี และเส้น โดยสร้างสรรค์โอกาสให้เห็นโลกในมุมมองที่แตกต่างไป ด้วยการอ้าแขนรับอิสรภาพในการตีความหมายอย่างเปิดเผย นี่คือเคล็ดลับง่ายๆ บางประการเพื่อช่วยให้เริ่มต้นการผจญภัยภาพถ่ายแบบน้อยแต่มาก
ความเรียบง่ายคือกุญแจสำคัญ
ไม่ต้องมีรายละเอียดมากมาย ทว่าส่งผลกระทบสูง เฟรมองค์ประกอบภาพอย่างเรียบง่าย ทว่าทรงพลัง ขณะที่พยายามตัดส่วนที่ไม่จำเป็นและรายละเอียดที่ทำให้สับสนออกไปจากภาพ ขอให้แน่ใจว่าคุณสื่อความหมายด้วยการดึงความสนใจกลับมาที่คอนเซ็ป/เนื้อหาสำคัญ แต่ถ้าคุณเฟรมวัตถุโดยไม่ต้องครอบตัดภาพมากนัก คุณจะประหยัดเวลาการตัดต่อภาพในภายหลัง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบภาพที่ [ตอนที่ 4] พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ! "การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม" และ "การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน"
EOS 7D, EF50mm f/1.8 II, f/8.0, 50mm, 1/1000secs, ISO200 โดย Adam Wyles
เน้นพื้นผิวและสีสัน
การถ่ายแบบน้อยแต่มากไม่ได้หมายถึงเฉดสีโทนเดียวกัน ขอให้ใช้สีที่สะดุดตา คือสีที่ตัดกันอย่างเช่น สีส้มกับสีน้ำเงิน หรือสีแดงกับสีเหลือง สร้างสรรค์เอฟเฟคที่เข้มข้น เพื่อให้ได้ภาพป๊อบ พื้นผิวก็มีบทบาทด้วยในเรื่องลายเส้นสำหรับการถ่ายแบบน้อยแต่มาก ขอให้ใช้แสง (แสงธรรมชาติหรือแสงประดิษฐ์) เพื่อเน้นพื้นผิวและความคมชัดของภาพ
ดูวิธีการลองใช้แสงในบทความนี้ วิธีการเล่นกับแสง
EOS 7D, EF135mm f/2L USM, f/8.0, 135mm, 1/200secs, ISO1250 โดย VirtualWolf
มองหาเส้นสวยๆ และลวดลายเรขาคณิต
อย่าใช้ “แนวเรียบๆ” เมื่อถ่ายภาพแบบน้อยแต่มาก สถาปัตยกรรมที่มีลวดลายเรขาคณิตเป็นวัตถุสุดยอดสำหรับการถ่ายภาพ เพราะเป็นสิ่งที่น่าดู ลูกเล่นคือการไฮไลท์รายละเอียดรอบข้าง ได้แก่ ผนัง หน้าต่าง หลังคา ซึ่งเป็นองค์ประกอบดีเยี่ยมบางส่วนที่เล่นได้ ในการถ่ายภาพแบบน้อยแต่มาก
เรียนรู้วิธีการจับภาพอาคารสวยงามที่นี่4 เคล็ดลับในการจับภาพอาคารสวยงาม
EOS 5D Mark II, EF24-105mm f/4L IS USM, f/6.3, 24mm, 1/60secs, ISO1600 โดย Sergey Norin
เล่นกับพื้นที่ว่างทางลบ
การเล่นกับพื้นที่ว่างทางลบเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยชั้นเชิง แต่เมื่อทำอย่างถูกต้อง ภาพจะออกมาสวยเริ่ดจนลืมหายใจ พื้นที่ว่างทางลบรอบๆ และระหว่างวัตถุ เป็นการพักสายตา และทำให้ภาพไม่ดูสับสนวุ่นวาย ในขณะเดียวกันก็เน้นที่วัตถุ ส่งผลให้หันมาสนใจกับส่วนสำคัญของภาพ
EOS 5D Mark II, EF50mm f/1.4 USM, f/2.8, 50mm, 1/640secs, ISO100 โดย Tobias Abel
รับอัพเด ทล่าสุด ประกอบด้วยข่าว เคล็ดลับ และลูกเล่นต่างๆ โดยการลงชื่อสมัครเป็นสมาชิก!