ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพสัตว์ที่เคลื่อนไหวว่องไวด้วยฟังก์ชั่น Live View บนกล้อง EOS 70D

2014-04-04
2
7.01 k
ในบทความนี้:

สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของกล้อง EOS 70D คือ ความรวดเร็วของฟังก์ชั่น Live View ที่ทำงานด้วย Dual Pixel CMOS AF ในบทความนี้ ผมจะเผยเคล็ด(ไม่)ลับในการถ่ายภาพสัตว์เล็กที่เคลื่อนไหวว่องไวโดยการใช้คุณสมบัติที่ว่านี้ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi ร่วมกับ: Chiba Zoological Park)

 

เรียนรู้การใช้งานการโฟกัสอัตโนมัติ 3 วิธี

กุญแจสำคัญสู่การถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ ให้ดูน่ารัก ขึ้นอยู่กับวิธีการจับภาพท่าทางของเจ้าตัวน้อยด้วยมุมกล้องที่ต่ำกว่าระดับสายตา ในอดีต กล่าวกันว่าการถ่ายภาพ Live View ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพสัตว์ตัวเล็กๆ เพราะการโฟกัสอัตโนมัติทำงานช้า แต่กับฟังก์ชั่น Live View บนกล้อง EOS 70D แล้วล่ะก็ ความเร็วในการโฟกัสเทียบได้กับการถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพ ทั้งมีจอ LCD แบบปรับหมุนจอได้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพมุมต่ำ กล้อง EOS 70D จึงได้รับคำกล่าวขานว่า เป็นกล้อง DSLR ที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็กในปัจจุบัน สำหรับตัวแบบที่เป็นสัตว์ สิ่งสำคัญคือจะต้องรู้ถึงความแตกต่างของวิธีโฟกัสอัตโนมัติแต่ละแบบ และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของตัวแบบมากที่สุด สัตว์ขนาดเล็กมักจะวิ่งไปมาอยู่ตลอดมากกว่าจะอยู่นิ่งๆ ดังนั้น การโฟกัสจึงเป็นเรื่องท้าทายมากในทุกครั้งที่ถ่าย
ในขณะถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพ สไตล์ที่มักใช้กันบ่อยๆ คือ การผสาน FlexiZone - จุดเดียวกับ One-Shot AF หรือ AI Servo AF อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวนั้นยากที่จะเลือกจุด AF ที่เหมาะสมให้ได้ทันใจ จึงทำให้พลาดจังหวะการถ่ายที่สำคัญ ด้วยกล้อง EOS 70D ผมเลือกวิธีการโฟกัสอัตโนมัติแบบ “ใบหน้า + การติดตาม” สำหรับฟังก์ชั่น Live View และแตะแผงหน้าจอ LCD ตรงใบหน้าของตัวแบบที่ต้องการโฟกัสเพื่อให้ AF แบบติดตามใบหน้าเริ่มต้นทำงาน ด้วยวิธีการโฟกัสแบบนี้ ผมจึงสามารถถ่ายภาพจังหวะที่ไม่คาดคิดได้อย่างทันท่วงที เมื่อตั้งค่าการโฟกัสอัตโนมัติต่อเนื่องไปที่ [ใช้งาน] (การตั้งค่าเริ่มต้น) ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ทำงานได้ดีเท่าๆ กับ AI Servo AF โฟกัสจะยังคงจับอยู่ที่ตัวแบบ นอกเหนือจากนั้น หากตัวแบบอยู่นิ่งๆ การใช้ FlexiZone - จุดเดียว ทั้งภาพจะอยู่ในพื้นที่โฟกัส จะยิ่งทำให้การโฟกัสแม่นยำและง่ายดายยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้ช่องมองภาพ

ลักษณะของวิธีการโฟกัสอัตโนมัติทั้ง 3 แบบ

ใบหน้า + การติดตาม

 

ข้อดี: สามารถติดตามอัตโนมัติในส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากใบหน้าของตัวแบบได้

ข้อเสีย: จุด AF อาจหลุดจากการติดตามที่ตัวแบบบ้างเป็นบางครั้ง

 
 

FlexiZone - หลายจุด

 

ข้อดี: ถ่ายภาพในจังหวะที่คับขันได้ เพราะจับจุดโฟกัสโดยอัตโนมัติ

ข้อเสีย: จุดโฟกัสจะจับที่วัตถุซึ่งอยู่ใกล้กล้องที่สุด เพราะการทำงานของอัลกอริทึมทรงกระบอก

 
 

FlexiZone - จุดเดียว

 

ข้อดี: โฟกัสอยู่บนจุดเพียงจุดเดียว แม้ว่าจะมีตัวแบบมากกว่านั้น

ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับตัวแบบที่เคลื่อนไหว เนื่องจากไม่มีฟังก์ชั่นการติดตาม

 
 

จับความเคลื่อนไหวอันว่องไวของสัตว์ขนาดเล็กด้วย [ใบหน้า + การติดตาม AF]

 

EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 64 มม./ Aperture-priority AE (1/500 วินาที, f/5)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ

หนูตะเภาบ้านมีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าตัวมาร์มอต หนูตะเภาบ้านสามตัวนี้นั่งอยู่เคียงกัน ขณะที่ผมกำลังกำหนดโฟกัส แต่แล้ว ใบหน้า + การติดตาม AF ก็จับภาพช่วงจังหวะที่ใช่ไว้ได้สำเร็จเมื่อสมาชิกตัวน้อยตรงกลางยื่นหน้าขึ้นสูงกว่าเพื่อนๆ เมื่อจุด AF ทำการติดตามได้อัตโนมัติ ผมจึงสามารถถ่ายภาพที่เป็นธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ พื้นที่รอบดวงตาของตัวแบบถูกจับภาพไว้ได้อย่างคมชัดโดยใช้จุด AF

 
 

[FlexiZone - หลายจุด] ให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดก่อน

 

EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 62 มม./ Aperture-priority AE (1/320 วินาที, f/5, -0.3EV)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ

 

วิธีการโฟกัสอัตโนมัติแบบ [FlexiZone - หลายจุด] จะจับภาพตัวแบบโดยใช้จุด AF หนึ่งจุดขึ้นไป มีการใช้อัลกอริทึมพิเศษ ซึ่งจะกำหนดโฟกัสไปยังสิ่งที่อยู่ใกล้กับกล้องมากที่สุด แต่ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็ก

 
 

[FlexiZone - จุดเดียว] เหมาะสำหรับตัวแบบที่อยู่นิ่งๆ ในระยะแบ็คกราวด์

 

EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 62 มม./ Aperture-priority AE (1/500 วินาที, f/5, -0.3EV)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ

 

วิธีการโฟกัสอัตโนมัติ [FlexiZone - จุดเดียว] จะจับโฟกัส ณ บริเวณจุด AF ที่เลือก เหมาะสำหรับฉากที่มีวัตถุทั้งในระยะใกล้และระยะไกล คล้ายกับโหมด [AF แบบจุดเดียว] ในโหมดการถ่ายด้วยช่องมองภาพ

 
 

3 ขั้นตอนการถ่ายภาพสัตว์เล็กที่เคลื่อนไหวว่องไวด้วยฟังก์ชั่น Live View บนกล้อง EOS 70D

1: ตั้งค่าวิธีการโฟกัสอัตโนมัติไปที่ [ใบหน้า + การติดตาม]

 

เลือกวิธีการโฟกัสจากหน้าจอเมนูหรือหน้าจอ Quick Control และเลือก [ใบหน้า + การติดตาม]

 
 

2: เปิดฟังก์ชั่น Live View และตั้งกล้องในมุมต่ำ

 

วางตำแหน่งกล้องให้ใกล้กับพื้น ตรงช่วงที่มองเห็นหน้าของสัตว์ที่เป็นแบบ ปรับจอ LCD ด้านหลังให้อยู่ในมุมที่มองเห็นได้สะดวก

 
 

3: แตะหน้าจอเพื่อกำหนดโฟกัส

 

แตะบนหน้าจอ LCD ด้านหลังตรงบริเวณที่คุณต้องการโฟกัสเพื่อให้จุด AF ปรากฏและจับโฟกัสที่บริเวณนั้น

 
 
Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดังหลายฉบับ เขาจึงได้เดินทางจากทำเลหลัก คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา