เหตุผลสำหรับการปรับและเปลี่ยนสีที่กล้องกำหนดไว้ด้วยตนเอง ก็เพื่อให้ถ่ายทอดบรรยากาศทิวทัศน์และอารมณ์ที่สัมผัส ณ เวลาที่ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น การชดเชยแสงมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะพิจารณาถึงระดับความสว่างที่เหมาะกับฉากว่า ภาพที่มีแสงสว่างเกินไปหรือมืดเกินไปอาจดูสวยกว่า (เรื่องโดย: Maiko Fukui)
หน้า: 1 2
การสร้างโทนสีน้ำเงินที่ให้ความรู้สึกสดชื่น
โดยปกติ สมองของคนเราจะชดเชยภาพทิวทัศน์ที่มองเห็นด้วยอารมณ์ของเราเอง โดยการซ้อนทับภาพที่มองเห็นด้วยภาพที่อยู่ในหัวของเรา ภาพนี้คือ กรุงปารีสในฤดูหนาว เนื่องจากอากาศที่มืดครึ้มด้วยเมฆ ภาพจึงดูไม่น่าสนใจเอาง่ายๆ แต่ภาพที่ฉันเห็นและสัมผัสในเวลานั้นคือ ภาพของเช้าวันใหม่ในกรุงปารีสที่สดชื่น สีแสงของป้ายถนน เสื้อโค้ต และหมวกไหมพรมที่เด็กสวมโดดเข้ามาในภาพของฉันทันทีทันใด เพื่อที่จะสร้างอารมณ์ภาพที่สดใส ฉันตั้ง ค่าการชดเชยแสงเป็น +2EV นอกจากนี้ เมื่อตั้งค่า สมดุลแสงขาวเป็น [หลอดไฟทังสเตน] จึงเก็บภาพที่ถ่ายทอดอารมณ์โดยรวมในโทนสีฟ้าบางเบาที่ให้ความรู้สึกสดชื่น หากรุ่นกล้องเอื้อให้คุณปรับตั้งค่าสมดุลแสงขาวได้ด้วยตนเอง ให้ตั้งค่าไปที่ประมาณ 3,000K และตั้งค่ารูปแบบภาพไปที่ ภาพตามจริง และความอิ่มตัวของสีในการตั้งค่ารายละเอียดเป็น [+2] เพื่อให้โทนสีแดงเด่นขึ้นมา เมื่อเทียบกับภาพที่ไม่มีการชดเชยแสง อารมณ์ภาพที่ส่งออกมาจากภาพนี้แตกต่างกันอย่างมาก
ก่อนปรับการตั้งค่า
EOS M / EF-M18-55mm f/3.5-5.6 IS STM / FL: 24 มม. / Aperture priority AE (1/1,250 วินาที, f/4.5) / ISO 400 / WB: อัตโนมัติ
เมฆครึ้มฟ้าในฤดูหนาวที่แสนมืดมัว ฉันพยายามถ่ายทอดภาพมุมถนนที่ห้อมล้อมด้วยอากาศหนาวเย็นให้ดูสดชื่นและมีความสุข
หลังปรับการตั้งค่า
ปรับความสว่างและสีด้วยการชดเชยแสงและสมดุลแสงขาว ความรู้สึกหนักอึ้งของมวลเมฆจึงหายไป เกิดภาพบรรยากาศเช้าวันใหม่ในกรุงปารีสที่ดูเหมือนหนาวเย็นแต่สดชื่น ใกล้เคียงกับที่ฉันรู้สึก ณ ขณะที่ถ่ายภาพ
เลือก [แสงไฟทังสเตน] จากค่าสมดุลแสงขาวที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า
รูปแบบภาพถูกตั้งค่าไปที่ [ภาพตามจริง] โดยตั้งค่าความอิ่มตัวของสีเป็น [+2]
หากไม่ทำการชดเชยแสงล่ะก็ อารมณ์ภาพจะยิ่งมืดมัวกว่าเดิมและภาพจะไม่แสดงถึงความรู้สึกสดชื่นเลย
ถ่ายทอดภาพซิลูเอตต์ด้วยโทนสีน้ำเงิน
เพื่อที่จะสร้างภาพซิลูเอตต์ที่เป็นเงามืดซ้อนทับอยู่คล้ายกับภาพที่เจาะเป็นรูปร่างที่เรียกว่าภาพแบบคัทเอาต์ (Cutout) ฉันตั้งค่าชดเชยแสงเป็น -0.7EV เพื่อเพิ่มลักษณะความเป็นซิลูเอตต์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากท้องฟ้ามีเมฆครึ้มและเป็นสีเทา จึงปรับการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเพื่อเน้นอารมณ์ภาพแบบคัทเอาต์ ในกรณีของภาพซิลูเอตต์ นับเป็นเรื่องยากที่จะไม่ได้อารมณ์ภาพที่น่าพอใจแม้ว่าจะใช้กับสีเข้ม ให้ตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปยังอุณหภูมิสีที่ต่ำที่สุดหากสามารถปรับตั้งค่าเองได้
ก่อนปรับการตั้งค่า
EOS M / EF-M18-55mm f/3.5-5.6 IS STM / FL: 39 มม. / Aperture priority AE (1/60 วินาที, f/6.3) / ISO 800 / WB: อัตโนมัติ
การถ่ายภาพความงดงามของภาพซิลูเอตต์ที่มีการซ้อนกันของต้นไม้และหอไอเฟลเหมือนในภาพแบบคัทเอาต์
หลังปรับการตั้งค่า
ด้วยค่าชดเชยแสงแบบติดลบ ภาพซิลูเอตต์ของกิ่งก้านต้นไม้และหอไอเฟลที่มีการปรับแล้วทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าของสองสิ่งนี้เป็นวัตถุชิ้นเดียวกัน โทนสีน้ำเงินเข้มเสริมความรู้สึกที่โรแมนติกชวนเคลิบเคลิ้ม
สมดุลแสงขาวถูกตั้งค่าเป็น [หลอดไฟทังสเตน] สีน้ำเงิน (B) ถูกตั้งค่าเป็น [5] ในการตั้งค่ารายละเอียด
การถ่ายภาพบรรยากาศของตรอกซอกซอยทั่วไปในโทนสีเขียว
ตั้งค่า สีเขียว (G) ไปที่ระดับสูงสุด [9] ในการตั้งค่ารายละเอียดสำหรับสมดุลแสงขาว เพื่อที่จะเก็บภาพบรรยากาศของตรอกซอกซอยทั่วๆ ไป ตั้งค่าการชดเชยแสงเป็น +1EV เพื่อให้โทนสีเขียวที่ดูสดชื่น ตั้งค่า ความเปรียบต่างเป็น [-3] เพื่อสร้างอารมณ์ที่นุ่มนวล เพิ่ม ความอิ่มตัวของสีไปที่ [+2] เพื่อเน้นสีสันของป้ายโฆษณาด้านหน้าด้วย
ก่อนปรับการตั้งค่า
EOS M / EF-M18- 55mm f/3.5-5.6 IS STM / FL: 55 มม./ Aperture priority AE (1/60 วินาที, f/5.6) / ISO 400 / WB: อัตโนมัติ
ฉันรู้สึกประหลาดใจเมื่อเห็นต้นไม้มากมายในแวบแรกที่เดินเข้าไปในตรอกด้านหลังในกรุงปารีส นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงพยายามที่จะถ่ายทอดสีเขียวที่มีชีวิตชีวาอย่างที่ฉันเห็นออกมา
หลังปรับการตั้งค่า
ฉันพยายามเก็บภาพอารมณ์และบรรยากาศที่สงบของตรอกนี้ที่เต็มด้วยสีเขียว มันเป็นอารมณ์ที่ทำให้รู้สึกสบายตา
G ถูกตั้งค่าไปที่ [9] ขณะที่สมดุลแสงขาวยังคงไว้เป็น อัตโนมัติ
เกิดปี 1983 ในโอซาก้า ช่างภาพ ทำงานในงานถ่ายภาพนิตยสารและโฆษณา เขียนหนังสือ เวิร์คช็อปการถ่ายภาพ และอื่นๆ