EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM คือเลนส์ซูมที่ให้คุณเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพเทเลโฟโต้ได้อย่างเต็มที่ในราคาที่สมเหตุสมผล นี่จึงเป็นเลนส์ชิ้นหนึ่งที่ผมขอแนะนำ หากสิ่งสำคัญที่คุณกำลังมองหาในเลนส์ซูมเทเลโฟโต้คือความคล่องตัว อย่าพลาดอ่านรีวิวเลนส์ที่ใช้กับกล้อง EOS 80D นี้กัน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
ข้อดีหลัก
- ด้วยน้ำหนักประมาณ 375 กรัม จึงเป็นเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาที่พกพาได้สะดวก
- เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพมาโครเทเลโฟโต้เช่นกัน ด้วยระยะการถ่ายภาพต่ำสุด 0.85 ม.
250 มม.
EOS 80D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 250 มม. (เทียบเท่า 400 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที, EV-1)/ ISO 100/WB: อัตโนมัติ
แม้ว่าจะเป็นเลนส์ที่ไม่ให้ความสว่าง แต่ให้ความคมชัดเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างสุด และยังไม่มีความคลาดสีที่บริเวณขอบแก้วอีกด้วย สิ่งหนึ่งที่ทำให้เลนส์ชนิดนี้พิเศษอย่างมากคือ STM ซึ่งทำให้การโฟกัสเกือบจะเงียบเชียบ ซึ่งหมายความว่าคุณไม่ต้องคัดเลือกฉากที่จะใช้กับเลนส์นี้อีกต่อไป
84 มม.
EOS 80D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 84 มม. (เทียบเท่า 134.4 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/5, 1/2,000 วินาที, EV-1)/ ISO 100/WB: อัตโนมัติ
ช่วงมุมกว้างมีประโยชน์เมื่อคุณต้องการเข้าใกล้ตัวแบบที่อยู่ห่างออกไปเล็กน้อยพอสมควร เมื่อถ่ายภาพด้วยรูรับแสงกว้างสุด เราสามารถสร้างภาพโบเก้ที่สอดคล้องกันด้วยตัวแบบที่แยกออกจากแบ็คกราวด์อย่างชัดเจน ด้วยพลังในการถ่ายทอดภาพสูงซึ่งตรงกันข้ามกับราคา เลนส์ชนิดนี้จึงคุ้มค่าคุ้มราคาอย่างแท้จริง
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้น้ำหนักเบาที่พกพาได้อย่างดีเยี่ยม
EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM ที่ใช้เลนส์ STM แบบลีดสกรูนี้เป็นเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ที่สามารถใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยม การดีไซน์ออพติคอลของเลนส์ใช้ระบบการโฟกัสด้านหลัง ซึ่งทำให้สามารถถ่ายภาพด้วยระยะการถ่ายต่ำสุดที่ 85 ซม. เลนส์ยังใช้งานได้อย่างสะดวกแม้แต่ภายในอาคาร ซึ่งคุณมักประสบปัญหาในการถ่ายภาพในระยะการถ่ายที่ไกลยิ่งขึ้น จึงช่วยให้คุณถ่ายทอดลักษณะท่าทางที่เป็นธรรมชาติของผู้คนและสัตว์ต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ด้วยการตอบสนองที่ฉับไว STM จึงสามารถจับโฟกัสภาพโบเก้ขนาดใหญ่ด้วยความเร็วสูงได้อย่างคมชัด จึงเป็นเลนส์ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายองค์ประกอบภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในทันทีอีกด้วย ในภาพรวม เมื่อกล่าวถึงประสิทธิภาพของเลนส์ แม้ว่าคนส่วนใหญ่มักพูดถึงเรื่องความสว่างของค่า f และความยาวช่วงโฟกัสเท่านั้น แต่ผมขอแนะนำเลนส์ชนิดนี้หากสิ่งสำคัญที่คุณกำลังมองหาในเลนส์ซูมเทเลโฟโต้คือความคล่องตัว
ด้วยช่วงทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับ 88-400 มม. คุณจะสนุกไปกับการทดลองใช้เอฟเฟ็กต์เลนส์อัลตร้าเทเลโฟโต้ที่ฝั่งเทเลโฟโต้ และอาจไม่ต้องสงสัยเลยว่าน้ำหนักที่มีเพียง 375 กรัมนั้นจะมีประโยชน์เพียงใด แม้ว่าเลนส์จะมีอัตราการซูมสูงมากก็ตาม
คุณภาพของภาพถ่ายตลอดช่วงการซูมยังอยู่ในระดับสูง ช่วยให้คุณสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ที่เหนือความคาดหมายได้เมื่อคุณเข้าใกล้ตัวแบบที่ฝั่งเทเลโฟโต้ การโฟกัสแบบแมนนวลโดยใช้วงแหวนโฟกัสแบบอิเล็กทรอนิกส์ยังทำได้ง่าย จึงใช้งานโฟกัสได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ระบบป้องกันภาพสั่นไหวช่วยแก้ไขการสั่นไหวได้ถึง 3.5 สต็อป คุณจึงสามารถถ่ายภาพแบบถือด้วยมือได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ใกล้เคียงกับ 1/30 - 1/40 วินาทีที่ฝั่งเทเลโฟโต้
คำแนะนำ: ลดปัญหาการสั่นไหวของตัวแบบด้วย [ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุด – อัตโนมัติ ]
แม้ว่าปัญหากล้องสั่นสามารถชดเชยด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้ แต่จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อลดการสั่นไหวของตัวแบบด้วย เมื่อใช้โหมด Program AE หรือโหมดระบุค่ารูรับแสง ให้เลือก [อัตโนมัติ] จากเมนู [ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุด] ภายใต้ [การตั้งค่าความไวแสง ISO] และตั้งค่าความเร็วเป็น "เร็วขึ้น" เพื่อเปลี่ยนบรรทัดของโปรแกรมและลดการสั่นไหวของตัวแบบได้ดียิ่งขึ้น
EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM
(เทียบเท่า 88 - 400 มม. เมื่อใช้งานกับกล้อง EOS 80D)
โครงสร้างของเลนส์: 12 กลุ่ม 15 ชิ้นเลนส์
ระยะการถ่ายภาพใกล้สุด: 0.85 ม.
ถ่ายภาพได้สูงสุด: 0.29 เท่า
อัตราส่วนฟิลเตอร์: φ58 มม.
เส้นผ่านศูนย์กลาง x ความยาวสูงสุด: ประมาณ φ70×111.2 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 375 กรัม
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
แผนภาพโครงสร้างเลนส์
A: เลนส์ UD
B ระบบป้องกันภาพสั่นไหว
เลนส์ฮูด: ET-63 (ขายแยกต่างหาก)
Ryosuke Takahashi
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย
Digital Camera Magazine
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation