EOS 80D เป็นกล้องที่สมบูรณ์แบบสำหรับการถ่ายภาพธรรมชาติ เราลองมาสำรวจภาพต่างๆ ที่่ถ่ายด้วยกล้องรุ่นนี้เพื่อให้เห็นความสามารถของกล้องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น (เรื่องโดย Shirou Hagihara)
EOS 80D: กล้องที่สมบูรณ์แบบสำหรับการถ่ายภาพธรรมชาติ
สำหรับช่างภาพมืออาชีพอย่างผม ซีรีส์กล้อง DSLR ระดับกลางของ Canon เป็นหนึ่งในไม่กี่ซีรีส์ที่ผมมักหยิบมาใช้งานเสมอๆ แม้ว่าจะจัดอยู่ในกล้องระดับกลางที่มีเซนเซอร์ภาพขนาด APS-C แต่ผมยกให้เป็นกล้องระดับสูงเนื่องมาจากคุณสมบัติที่ใช้งานง่ายและให้คุณภาพของภาพที่ดีขณะถ่ายภาพทิวทัศน์ตามธรรมชาติ
*ระบบ AF แบบ Cross-type ทั้งหมด 45 จุดช่วยเพิ่มอิสระในการจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างมาก
การพัฒนาหนึ่งที่ผมชื่นชอบมากที่สุดคือการพัฒนา ระบบ AF การเพิ่มจุด AF ขึ้นเป็น 45 จุดช่วยเพิ่มอิสระในการจัดองค์ประกอบภาพขึ้นไปอีกขั้น จึงเป็นที่ดึงดูดใจผู้ที่ถ่ายภาพแบบถือด้วยมือบ่อยๆ อย่างเช่นผมมากที่สุด
เพราะเมื่อถ่ายภาพแบบถือด้วยมือ บางครั้งผมรู้สึกอยากลองใช้วิธีจัดองค์ประกอบภาพที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครดูบ้าง และเมื่อ AF มีจำนวนเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าจะมีข้อจำกัดในการวางตำแหน่งตัวแบบหลักเพื่อให้อยู่ในช่วงโฟกัสน้อยลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนฉากที่เราสามารถถ่ายแบบถือด้วยมือได้มากขึ้นอย่างมาก
เนื่องจากจุด AF ทั้ง 45 จุดเป็นแบบ Cross-type ทั้งหมด จึงทำให้การโฟกัสมีความแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ กล้องยังสามารถโฟกัสได้รวดเร็ว แม้ในขณะที่คุณใช้จุด AF ที่บริเวณขอบของหน้าจอ อันที่จริงเฉพาะประสิทธิภาพของเซนเซอร์ AF เพียงอย่างเดียวก็ทำให้กล้อง EOS 80D คุ้มค่าเงินที่เสียไปแล้ว
EOS 80D/ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM/ FL: 10 มม. (เทียบเท่า 16 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/30 วินาที, EV+1.7)/ ISO 2000/ WB: แสงแดด
EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 135 มม. (เทียบเท่า 216 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/400 วินาที, EV-0.3)/ ISO 800/ WB: 5,200K
การสั่งการระบบสัมผัสทำให้การถ่ายภาพแบบ Live View เป็นเรื่องง่าย
ชัตเตอร์แบบแตะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพในแบบ Live View เนื่องจากช่วยให้คุณสามารถย้ายจุดโฟกัสได้รวดเร็วกว่ามากเมื่อเทียบกับการใช้ Multi-Controller และยังกำหนดจุดโฟกัสได้แทบจะพร้อมกัน จึงทำให้คุณสามารถถ่ายภาพได้ตามความต้องการ การถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS 80D จึงกลายเป็นเรื่องง่าย
นอกจากนี้ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นยังทำให้กล้องเชื่อถือได้มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ ขณะนี้เมื่อถ่ายภาพในแบบ Live View จำนวนภาพที่สามารถถ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าในระดับอุณหภูมิที่ต่ำหรือปกติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อช่างภาพที่ถ่ายภาพกลางแจ้งได้เป็นอย่างมาก
ความสามารถในการถ่ายทอดรายละเอียดในช่วงความไวแสง ISO ปกติทำได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับกล้องหลัก
ผมไม่รู้สึกว่าคุณภาพของภาพมีปัญหาแต่อย่างใด ในการถ่ายภาพที่ช่วงความไวแสง ISO ปกติ ไม่มีอะไรดีไปกว่าความละเอียดคมชัดและพื้นผิวที่เรียบเนียนอีกแล้ว และด้วยขีดจำกัดสูงสุดของความไวแสง ISO ที่ 16000 กล้องจึงให้ประโยชน์ในแง่ของการถ่ายภาพฉากต่างๆ ได้หลากหลายแบบ
ด้วยเซนเซอร์ภาพขนาด APS-C พร้อมด้วยระยะชัดที่มาก กล้อง EOS 80D จึงให้ผลภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นกล้องที่ถ่ายภาพธรรมชาติ
EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 50 มม. (เทียบเท่า 80 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5, 1/125 วินาที, EV+1.3)/ ISO 200/ WB: 5,200K
EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 115 มม. (เทียบเท่า 184 มม.)/ Aperture-priority AE (f/11, 1/80 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
EOS 80D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 127 มม. (เทียบเท่า 203 มม.)/ Aperture-priority AE (f/4, 1/2,500 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: 5,200K
EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 116 มม. (เทียบเท่า 186 มม.)/ Aperture- priority AE (f/11, 1/5,000 วินาที, EV-1.3)/ ISO 200/ WB: 5,200K
รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!
EOS 80D (เฉพาะบอดี้)
EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM
EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM
EF70-200mm f/4L IS USM
เกิดในปี 1959 ที่เมืองยามานาชิ หลังจากจบการศึกษาจาก Nihon University, Hagihara มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นนิตยสารถ่ายภาพ Fukei Shashin ที่เขาทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ตีพิมพ์ ต่อมาเขาลาออกและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบัน Hagihara ทำงานอยู่ในวงการถ่ายภาพและเขียนผลงานที่เน้นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เขาเป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP)
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดในปี 1959 ที่เมืองยามานาชิ หลังจากจบการศึกษาจาก Nihon University, Hagihara มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นนิตยสารถ่ายภาพ Fukei Shashin ที่เขาทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ตีพิมพ์ ต่อมาเขาลาออกและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบัน Hagihara ทำงานอยู่ในวงการถ่ายภาพและเขียนผลงานที่เน้นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เขาเป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP)
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation