ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับการเปิดรับแสงและอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์

2021-01-28
0
11.48 k
ในบทความนี้:

คุณอาจจะเคยลองถ่ายภาพดวงจันทร์โดยใช้สมาร์ทโฟนของคุณ แต่สิ่งที่คุณได้ก็คือภาพที่เบลอหรือไม่ก็ความขาวโพลนที่มองไม่เห็นอะไรเลยเพื่อให้สามารถจับภาพดวงจันทร์ได้อย่างสวยงาม รีบคว้ากล้องถ่ายรูปของคุณขึ้นมาและอ่านคู่มือนี้กันเลย 
 
การถ่ายภาพดวงจันทร์อาจจะฟังดูเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่เชื่อเราเถอะว่า ความพยายามของคุณในการถ่ายภาพยามราตรีที่สุดแสนจะมีความพิเศษนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน ไม่ใช่แค่คุณจะได้ภาพดวงจันทร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจเท่านั้น แต่การสามารถเพิ่มดวงจันทร์ลงในภาพยังเป็นการเพิ่มมิติให้แก่ภาพวิวทิวทัศน์ ตลอดจนเพิ่มทักษะการถ่ายภาพในลักษณะอื่นๆ ของคุณอีกด้วยนับจากอุปกรณ์ไปจนถึงการตั้งค่าและเคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพอื่นๆ คู่มือนี้จะช่วยให้คุณถ่ายภาพดวงจันทร์ได้แบบมือโปรภายในเวลาอันสั้นเท่านั้น  

 

การเตรียมงาน

เช่นเดียวกับการถ่ายภาพประเภทอื่นๆ การเตรียมงานคือสิ่งที่มีความสำคัญ แต่เมื่อคุณต้องการถ่ายภาพดวงจันทร์ คุณจำเป็นต้องเข้าใจช่วงเวลาต่างๆ ของดวงจันทร์ก่อนที่คุณจะเดินดุ่มๆ ออกไปในคืนที่ผิด ดวงจันทร์จะมีช่วงเวลาต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปในหนึ่งเดือน เมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เราจะได้สิ่งที่เรียกว่า “จันทร์ดับ” เนื่องจากไม่มีแสงอาทิตย์ตกลงมาตรงด้านที่ดวงจันทร์หันหน้ามาหาเรา เมื่อดวงอาทิตย์ไม่ตก ด้านดังกล่าวของดวงจันทร์ที่หันหน้ามาหาเราจะสว่างขึ้น ทำให้เราได้เห็นพระจันทร์เต็มดวงเมื่อดวงจันทร์ “โตขึ้น” เราจะเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่า “ข้างขึ้น” และ “ข้างแรม” ซึ่งเป็นสองสิ่งที่ตรงข้ามกัน  

 

ประเภทของดวงจันทร์

  
ดวงจันทร์จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ลักษณะที่ปรากฏหรือระยะห่างจากโลกดังต่อไปนี้:  

  • ซูเปอร์มูน – ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด และสามารถดูมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าพระจันทร์เต็มดวงได้ถึง 14%
  • ไมโครมูน – พระจันทร์อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด และยากต่อการถ่ายภาพมากขึ้นเล็กน้อย
  • พระจันทร์สีน้ำเงิน – เมื่อมีพระจันทร์เต็มดวงมากกว่าหนี่งครั้งในหนึ่งเดือนข้อเท็จจริงขำๆ – พระจันทร์สีน้ำเงินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ จนเป็นที่มาของสำนวน “Once in a blue moon” ที่มีความหมายว่านานๆ ครั้ง นั่นเอง
  • พระจันทร์สีเลือด – เมื่อพระจันทร์ปรากฎขึ้นในช่วงจันทรุปราคาพระจันทร์จะมีลักษณะเป็นสีแดง
  • คราส – เมื่อดวงอาทิตย์ โลกกับดวงจันทร์อยู่ในระนาบเดียวกันอย่างสมบูรณ์แบบ
  • สุริยุปราคา – เมื่อพระจันทร์บดบังดวงอาทิตย์
  • จันทรุปราคา – เมื่อเงาของโลกตกลงไปบนดวงจันทร์

หากต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาต่างๆ ของดวงจันทร์อย่างละเอียด คุณสามารถดูที่เว็บไซต์นี้ได้: https://www.rmg.co.uk/discover/explore/names-full-moons-throughout-year


 เราแนะนำให้คุณดาวน์โหลดแอปต่างๆ อย่าง PhotoPills, The Photographer's Ephemeris หรือเว็บไซต์ต่างๆ อย่าง timeanddate.com และ darksitefinder.com เพื่อช่วยให้คุณสามารถวางแผนและติดตามช่วงเวลาของดวงจันทร์และการพยากรณ์อากาศได้

 

องค์ประกอบ


เครดิตภาพ: @Keithliew
Canon EOS 5D Mark IV, EF 400mm f/5.6L USM, ƒ6.3, ISO400, 1/500 sec, 400mm


เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้วว่า คุณจะออกเดินทางไปถ่ายภาพเมื่อใด คุณจำเป็นจะต้องตัดสินใจว่าคุณจะไปยังที่ใด เมื่อเป็นเรื่องของการถ่ายภาพดวงดาว การกำหนดตำแหน่งล่วงหน้าถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากหากคุณวางแผนว่าจะถ่ายภาพดวงจันทร์โดยให้มีฉากอยู่ที่ส่วนหน้า ประเภทของเลนส์ที่คุณเลือกใช้จะต้องมีผลต่อการปรากฏของดวงจันทร์ 
 

อีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องคำนึงถึงก็คืออัตราส่วนของดวงจันทร์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น คุณอยากให้ดวงจันทร์โดดเด่นที่สุดหรืออยากแค่ให้มีดวงจันทร์ลอยอยู่ในพื้นหลังของภาพเท่านั้น? ในส่วนของการจัดแสงนั้น การรีบออกไปในช่วงหัวค่ำหรือใกล้กับช่วงเช้ามืดมากเกินไปอาจทำให้ภาพของคุณได้รับแสงที่มากเกินไปได้เนื่องจากยังคงมีแสงอยู่มากบนท้องฟ้านั่นเอง ตำแหน่งของดวงจันทร์อาจจะไม่ได้อยู่ในจุดที่คุณอยากจะให้อยู่ ด้วยเหตุนี้ การวางแผนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับคุณสถานการณ์ของแสงสว่างในช่วงพลบค่ำหรือเช้ามืดอาจส่งผลกระทบต่อภาพพื้นหน้าของคุณได้มากโดยที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแต่ละปี

 

อุปกรณ์

การถ่ายภาพดวงจันทร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการลองถ่ายภาพดวงจันทร์ครั้งแรกๆ ของคุณอาจต้องใช้เวลานานสักหน่อยก่อนที่คุณจะคุ้นเคยกับการตั้งค่ากล้องถ่ายรูปของคุณนี่คือสิ่งต่างๆ ที่เราอยากจะแนะนำสำหรับการถ่ายภาพของคุณ: 

  • กล้องถ่ายรูปแบบเปลี่ยนเลนส์ได้
  • เลนส์เทเลโฟโต้ 75-300 มม พิสัยโฟกัสที่คุณเลือกจะส่งผลกระทบต่อการปรากฏของดวงจันทร์ในภาพถ่ายของคุณ ตัวอย่างเช่น ที่ 75 มม. ดวงจันทร์จะดูกลมกลืนในภาพถ่ายของคุณและจะไม่ดูโดดเด่นเกินภาพถ่ายของคุณในขณะที่ที่ 300 มม. คุณจะไม่สามารถจับภาพรายละเอียดของผิวหน้าของดวงจันทร์ได้เลนส์ที่มีพิสัยจะช่วยให้คุณสามารถทดลองใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ มากเกินไป
  • ขาตั้งกล้อง
  • ปุ่มกดชัตเตอร์ระยะไกลจะช่วยลดการสั่น (พึงสังเกตว่านี่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุดหากคุณจะใช้ดวงจันทร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง มิเช่นนั้น คุณสามารถใช้มือที่ค่อนข้างจะนิ่งแทนได้)
  • คบไฟหรือไฟหน้าเพื่อช่วยให้คุณมองเห็นในความมืดได้ดีขึ้น
  • ขนมขบเคี้ยวเพื่อความเพลิดเพลินระหว่างการถ่ายภาพ

วิธีการถ่ายภาพดวงจันทร์

การตั้งค่ากล้องถ่ายรูป:  

  • โหมด – ตั้งค่ากล้องถ่ายรูปของคุณให้อยู่ในโหมดแมนนวล (Manual) 
  • ISO - เริ่มต้นด้วย ISO100 สำหรับการทดสอบภาพ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 200 และตามมาด้วย 400 เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
  • รูรับแสง – ใช้ระหว่าง f/8 - f/11  
  • ความเร็วชัตเตอร์ – เริ่มต้นด้วย 1/125s และทำการทดสอบจนกระทั่งคุณได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการ  
  • โฟกัส – แมนนวลโฟกัส (Manual Focus) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีเลนส์ซึ่งมีพิสัยโฟกัสที่ยาวกว่า และหากคุณอยากจะลองจับภาพโคลสอัพพร้อมรายละเอียดของดวงจันทร์

Looney 11 Rule: 
ในการถ่ายภาพดวงจันทร์นั้น Looney 11 Rule (หรือ Looney f/11) คือวิธีที่จะช่วยคุณในการประมาณค่าการเปิดรับแสงที่ถูกต้องโดยไม่ต้องใช้เครื่องวัดแสง  

กฏก็คือการตั้งค่ารูรับแสงของคุณให้อยู่ที่ f/11 และความเร็วชัตเตอร์ตาม ISO ที่คุณเลือก
ตัวอย่าง: หาก ISO ของคุณเท่ากับ 100 ความเร็วชัตเตอร์ของคุณควรจะเท่ากับ 1/100s และหาก ISO เท่ากับ 200 ความเร็วชัตเตอร์ของคุณควรจะเท่ากับ 1/200s เป็นต้น

 

ขั้นตอน:  
1. วางตำแหน่งกล้องถ่ายรูปของคุณให้หันหน้าไปทางดวงจันทร์ และมองดวงจันทร์ผ่าน Live View 
2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ขาตั้งกล้องของคุณมั่นคง และซูมเข้าไปที่ดวงจันทร์ให้มากที่สุดเท่าที่คุณต้องการ 
3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า การตั้งค่ากล้องถ่ายรูปของคุณถูกต้อง และใช้ปุ่มกดชัตเตอร์ในการถ่ายภาพหากคุณไม่มีปุ่มกดชัตเตอร์ คุณสามารถตั้งค่านาฬิกาจับเวลาเพื่อลดการสั่นได้ 
4. เล่นกับ ISO และความเร็วชัตเตอร์จนกระทั่งคุณได้ภาพที่คุณพึงพอใจ  
5. ใช้การซูมแบบดิจิทัลบนกล้องถ่ายรูปของคุณเพื่อขยายการเล่นย้อนหลังและเพื่อตรวจสอบจุดเบลอในภาพของคุณ 

การถ่ายภาพดวงจันทร์และการให้ดวงจันทร์เป็นส่วนหนึ่งของภาพวิวทิวทัศน์ของคุณไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวอะไรเลยสักนิด!เพียงแค่พึงจำไว้ว่า คุณอาจต้องใช้ชุดแผนการที่แตกต่างกันออกไป และส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ประสบความสำเร็จก็จะได้มาผ่านการทดลองและการฝึกฝน  
 

เคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพ 

  • ใช้แมนนวลโฟกัส (Manual Focus) อยู่เสมอ 
  • พิจารณากฎ Looney 11
  • ใช้ ISO ฐานต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
  • ถ่ายภาพแบบ RAW
  • พิจารณาการจัดวางองค์ประกอบ (การถ่ายภาพเฉพาะดวงจันทร์ ถ่ายให้ดวงจันทร์เป็นส่วนหนึ่งของทัศนียภาพ ฯลฯ)
  • อย่าลืมเตรียมความพร้อมล่วงหน้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอยากจะลองจับภาพดวงจันทร์ในโอกาสสุดพิเศษอย่างในช่วงการเกิดคราสหรือซูเปอร์มูน)

สำหรับบทความที่คล้ายคลึงกัน:
แอปที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้งในระดับที่สูงไปอีกขั้น
3 ฟังก์ชันที่มีประโยชน์ของกล้องถ่ายรูปสำหรับการถ่ายภาพกลางคืน
การถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยเลนส์ RF 15-35mm และ RF 24-240mm

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา