ทำความเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์: วิธีหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น
เคยไหมที่คุณถ่ายภาพส่วนที่สว่างในท้องฟ้าแล้วภาพออกมาดูขาวโพลนและสว่างจ้า แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วไม่ได้สว่างขนาดนั้น นั่นเป็นเพราะว่าช่วงสีและโทนที่กล้องสามารถจับภาพได้ (หรือที่เรียกกันว่า “ช่วงไดนามิกเรนจ์”) นั้นแคบกว่าช่วงไดนามิกเรนจ์ของสายตามนุษย์ มาดู 4 บทเรียนสั้นๆ ต่อไปนี้ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์ได้ดีขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแสงสว่างโพลนและรักษารายละเอียดได้มากขึ้น (เรื่องโดย Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L USM/ FL: 150 มม./ โหมด Aperture-priority (f/6.3, 5 วินาที, EV ±0)/ ISO 100/ WB: แสงในร่ม
บทเรียนที่ 1: เรียนรู้การระบุบริเวณที่สามารถมีแสงสว่างโพลนได้
โดยทั่วไป ภาพถ่ายที่มีการเปิดรับแสงเหมาะสมจะไม่มีแสงสว่างโพลนหรือส่วนที่มืดเกินไป แต่จะมีโทนสีต่างๆ ภายในช่วงไดนามิกเรนจ์ของกล้อง อย่างไรก็ตาม มีฉากบางประเภทที่สามารถมีแสงสว่างโพลนได้บ้าง
ตัวอย่างเช่น เมื่อถ่ายภาพโดยหันเข้าหาดวงอาทิตย์โดยตรง ไม่มีทางที่คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแสงสว่างโพลนบนดวงอาทิตย์ได้ หากคุณพยายามลดแสงสว่างโพลน ภาพโดยรวมจะขาดสมดุล
ในขณะเดียวกัน แม้ว่าตัวแบบอื่นๆ เช่น น้ำตก ลำธาร หรือ ทะเลหมอก จะเกิดแสงสว่างโพลนได้ง่ายเช่นกัน แต่ยังคงรายละเอียดในส่วนที่สว่างซึ่งสำคัญต่อฉากนั้นๆ สำหรับฉากดังกล่าว คุณจะต้องระมัดระวังในการเปิดรับแสงและถ่ายให้มืดกว่าระดับแสงที่ “เหมาะสม” ตามปกติเล็กน้อย
ตัวอย่างที่ 1: ทะเลหมอกท่ามกลางแสงอาทิตย์ยามเช้า
1) ดวงอาทิตย์: แสงสว่างโพลนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
2) ทะเลหมอก: หลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนในตำแหน่งนี้
มีการไล่สีอย่างเป็นธรรมชาติรอบๆ ดวงอาทิตย์ ปล่อยแสงสว่างโพลนไว้ตามปกติเพื่อรักษาสมดุล อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของก้อนเมฆคือสิ่งที่ทำให้ทะเลหมอกน่าประทับใจมาก ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการรักษารายละเอียดส่วนนี้ไว้
ตัวอย่างที่ 2: แสงอาทิตย์ในป่า
1) ใบไม้และใยแมงมุมที่ถูกแสงอาทิตย์ส่องโดยตรง: แสงสว่างโพลนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
2) แสงอาทิตย์ หลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนในตำแหน่งนี้
ภาพนี้สื่ออารมณ์ได้ดีเนื่องจากแสงที่ตกกระทบลงบนหมอก ตรวจดูให้แน่ใจว่ารายละเอียดในแสงอาทิตย์ยังคงอยู่ แสงสว่างโพลนในข้อ 1) แสดงให้เห็นรูปทรงของใยแมงมุม ดังนั้น แสงสว่างโพลนจึงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
เรียนรู้วิธีใช้ร่มสีดำธรรมดาเพื่อช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับภาพถ่ายแสงอาทิตย์ใน:
2 สิ่งในชีวิตประจำวันที่สามารถเปลี่ยนโฉมภาพถ่ายของคุณ
ดูเพิ่มเติมได้ที่: พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง
บทเรียนที่ 2: ใช้ฮิสโตแกรมเพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวการเปิดรับแสง
ฮิสโตแกรม หมายถึง กราฟที่แสดงการกระจายตัวของพิกเซลในภาพถ่ายตามความสว่างของพิกเซล หากภาพของคุณมีหลายพิกเซลที่สว่างและได้รับแสงมากเกินไป จุดสูงสุดของฮิสโตแกรมจะอยู่ทางขวาสุด พยายามอย่าปล่อยให้ฮิสโตแกรมถูกตัดออกที่ด้านขวา
แสงสว่างโพลน
ภาพนี้ถ่ายโดยเปิดรับแสงสำหรับบอลลูน แต่ภาพที่ได้ดูสว่างเกินไป ซึ่งดูได้จากฮิสโตแกรม สังเกตว่าฮิสโตแกรมเอียงไปทางด้านขวา จุดสูงสุดถูกตัดออกที่ด้านขวา ซึ่งหมายความว่ามีพิกเซลสีขาวจำนวนมากและมีแสงสว่างโพลนเกิดขึ้น
ไม่มีแสงสว่างโพลน
ภาพถ่ายนี้เปิดรับแสงสำหรับท้องฟ้า รายละเอียดของก้อนเมฆยังคงอยู่ จุดสูงสุดของฮิสโตแกรมไม่ได้อยู่ใกล้ทางขวาสุด ที่จริงแล้ว พิกเซลทั้งหมดอยู่ห่างจากมุมต่างๆ อย่างชัดเจน เรียกได้ว่าเป็นระดับแสง “มาตรฐาน”
เคล็ดลับ: ใช้ขาตั้งกล้อง
หากคุณถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือ อาจเป็นเรื่องยากที่จะจัดองค์ประกอบภาพไปพร้อมกับการใช้ฮิสโตแกรมเพื่อแก้ไขการเปิดรับแสง ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย
บทเรียนที่ 3: ใช้ระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติเพื่อถ่ายภาพเดียวกันแต่มีความสว่างแตกต่างกัน
เมื่อใช้ฟังก์ชันระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติ (AEB) จะสามารถถ่ายภาพเดียวกันโดยเปิดรับแสงสามระดับและมีความสว่างต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เพียงกดปุ่มเดียว ฟังก์ชันนี้เหมาะสำหรับฉากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อคุณไม่แน่ใจว่าค่าการเปิดรับแสงระดับใดจะให้ผลดีที่สุด จากนั้น คุณสามารถเลือกภาพถ่ายที่มีระดับแสดงเหมาะสมที่สุด
EV -1
EV ±0
EV +1
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #4: การชดเชยแสง
ข้อควรรู้: คุณสามารถผสานภาพที่เปิดรับแสงแบบ AEB ในซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพเพื่อสร้างภาพ HDR (High Dynamic Range) ได้
บทเรียนที่ 4: ถ่ายภาพในรูปแบบ RAW แล้วปรับเปลี่ยนในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ
ไฟล์ภาพ RAW มีข้อมูลมากกว่าที่คุณเห็นจากภาพตัวอย่างใน Live View/EVF อยู่มาก คุณสามารถฟื้นฟูรายละเอียดจำนวนมากจากไฟล์รูปแบบนี้ในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ แต่ในขอบเขตที่ขึ้นอยู่กับสภาพการถ่ายภาพด้วย อย่าลืมดูฮิสโตแกรมขณะแก้ไขภาพถ่าย!
การแก้ไขแสงสว่างโพลน
ขั้นตอนที่ 1: ตรวจดูฮิสโตแกรมว่ากราฟถูกตัดออกทางด้านขวาสุดหรือไม่
ขั้นตอนที่ 2: ลดพารามิเตอร์ “ไฮไลต์” และ/หรือ “สีขาว” ลง
คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับรูปแบบ HDR PQ HEIF บ้างไหม ดูเหตุผลที่ทำให้รูปแบบนี้เป็นรูปแบบภาพแห่งอนาคตได้ใน:
HDR PQ HEIF: ก้าวข้ามขีดจำกัดของภาพแบบ JPEG
วิธีตรวจสอบว่ามีแสงสว่างโพลนหรือไม่
1. แสดงฮิสโตแกรมในระหว่างเปิดดูภาพ
คุณสามารถแสดงตารางฮิสโตแกรมและ RGB เมื่อเปิดดูภาพ วิธีนี้จะช่วยให้เห็นว่าภาพของคุณมีแสงสว่างโพลนจากการเปิดรับแสงมากเกินไปหรือไม่
เคล็ดลับ: โดยปกติแล้วคุณสามารถสลับหน้าจอดูภาพต่างๆ ด้วยการกดปุ่ม “INFO” ที่ด้านหลังกล้อง หากยังไม่สามารถแสดงฮิสโตแกรมได้ ให้กดปุ่ม “MENU” ไปที่แท็บ “ดูภาพ” (สีฟ้า) แล้วมองหาข้อความ “แสดงข้อมูลการดูภาพ” เพื่อให้แน่ใจว่าหน้าจอฮิสโตแกรมเปิดใช้งานอยู่
2. ใช้ประโยชน์จากการเตือนบริเวณสว่างโพลน
หากกล้องของคุณมีฟังก์ชันเตือนบริเวณสว่างโพลน ให้เปิดใช้งาน บริเวณที่มีแสงสว่างโพลนในภาพถ่ายจะกะพริบเป็นสีดำเมื่อดูภาพ (ด้วยเหตุนี้ บริเวณดังกล่าวจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แสงกะพริบ” หรือ “ลายม้าลาย”) ในกล้องรุ่นที่ไม่มีฟังก์ชัน “เตือนบริเวณสว่างโพลน” บริเวณที่มีแสงสว่างโพลนจะกะพริบเป็นสีดำเช่นกันในหน้าจอดูภาพที่แสดงฮิสโตแกรม
หากบริเวณส่วนใหญ่ของภาพกะพริบเป็นสีดำ แสดงว่าควรถ่ายภาพใหม่โดยเปิดรับแสงให้มืดลง
การถ่ายภาพสะท้อนอาจเป็นการทดสอบทักษะของคุณเกี่ยวกับจุดที่ควรเปิดรับแสงและวิธีเปิดรับแสงที่เหมาะสม เรียนรู้วิธีถ่ายภาพของช่างภาพมืออาชีพได้ที่นี่:
ภาพสะท้อน: ปราสาทยามค่ำคืนพร้อมเอฟเฟ็กต์ภาพทรอมพลุยล์
ภาพสะท้อน: ภูเขาไฟฟูจิสีแดงเจิดจ้า (พร้อมเคล็ดลับการรีทัช)
ภาพสะท้อน: รถจักรไอน้ำเคลื่อนที่ผ่านพระอาทิตย์ตกอันงดงาม
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club
www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi