ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพน้ำตก: ควรหยุดการเคลื่อนไหวหรือเบลอภาพดีกว่ากัน

2017-03-23
2
9.98 k
ในบทความนี้:

เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพน้ำตก การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์คือสิ่งสำคัญที่ต้องตัดสินใจ ซึ่งมีผลต่อภาพถ่ายที่คุณได้รับ แน่นอนว่ามีช่างภาพจำนวนมากรู้สึกไม่แน่ใจว่าควรถ่ายภาพเบลอของสายน้ำไหล หรือบันทึกภาพสายน้ำไหลที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ซึ่งเมื่อคุณพิจารณาถึงรูปแบบของน้ำตกและทิศทางของแสงแล้วจะพบว่าการสื่ออารมณ์ภาพในเชิงศิลป์มีหลากหลายวิธีจนแทบนับไม่ถ้วน ในบทความนี้ เราจะมาดูเทคนิคที่เกี่ยวข้องซึ่งสองช่างภาพใช้ในการถ่ายภาพสายน้ำของน้ำตกที่งดงามจับตากัน (เรื่องโดย: Komei Motohashi, Fumio Tomita)

 

การหยุดสายน้ำไหล: ใช้แสงย้อนครึ่งหนึ่งเพื่อดึงเอาความแรงของน้ำตกชั่วขณะหนึ่งออกมา

1/1,250 วินาที
EOS 5D Mark II/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/1,250 วินาที, EV-0.7)/ ISO 1250/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Komei Motohashi

Komei Motohashi กล่าวว่า:

“น้ำตกจะไม่ไหลในอัตราคงที่ แต่ไหลเป็นจังหวะที่แตกต่างกันอย่างมาก ขึ้นอยู่กับความสูง ปริมาณ แรงดัน และรูปแบบ (แนวตั้ง แนวนอน เป็นชั้นๆ) ของน้ำตก และไหลในอัตราที่เร็วหรือช้าซ้ำแล้วซ้ำอีก

ในภาพนี้ ผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงถึง 1/1,250 วินาที เพื่อบันทึกภาพน้ำตกได้อย่างชัดเจนในชั่วขณะหนึ่ง ภาพนี้ถ่ายจากส่วนล่างของน้ำตกนาชิในจังหวัดวะกะยะมะ ซึ่งเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น ลำแสงที่ทำให้เกิดแสงย้อนครึ่งหนึ่งช่วยให้น้ำตกที่สาดกระเซ็นดูโดดเด่นน่าประทับใจ อีกทั้งยังสื่อถึงพลังและความแรงของน้ำตก เมื่อเราใช้แสงที่ส่องจากด้านหน้า ภาพจะไม่มีแสงเงาและความมีมิติ ซึ่งหมายความว่าเราจะไม่สามารถถ่ายทอดความแรงของน้ำตกได้อย่างเพียงพอ”

 

เคล็ดลับ: ภาพน้ำตกที่ถ่ายโดยใช้แสงย้อนครึ่งหนึ่งและภาพน้ำตกที่ใช้แสงที่ส่องจากด้านหน้ามีความน่าสนใจแตกต่างกัน

แสงที่ส่องจากด้านหน้า
EOS 5D/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 30 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 1/20 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย Komei Motohashi

เมื่อถ่ายภาพน้ำตก การใช้แสงย้อนครึ่งหนึ่งจะทำให้ตัวแบบของคุณดูโดดเด่นน่าประทับใจ คุณจึงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกแบบสามมิติได้ ในทางกลับกัน คุณอาจถ่ายภาพโดยใช้แสงที่ส่องจากด้านหน้าได้หากมีรุ้งกินน้ำปรากฏขึ้นที่น้ำตก นั่นเป็นเพราะหากไม่มีดวงอาทิตย์ (หรือดวงจันทร์) อยู่ด้านหลังของช่างภาพ รุ้งกินน้ำอาจเห็นได้ไม่ชัดเจนนักแม้ว่าจะมีอยู่ก็ตาม

 

การเบลอสายน้ำไหล: ถ่ายภาพระยะใกล้โดยใช้ช่วงเทเลโฟโต้เพื่อเน้นถึงพลังและความมีชีวิตชีวาของน้ำตก

1/30 วินาที
EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 4000/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย Fumio Tomita

Fumio Tomita กล่าวว่า:

“เมื่อถ่ายภาพน้ำตก ปริมาณน้ำและความเร็วของน้ำตกที่ไหลลงมาจะแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าคุณจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงหรือต่ำ การใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อดึงให้คุณอยู่ใกล้กับน้ำตกมากขึ้นจะทำให้สามารถเปลี่ยนองค์ประกอบภาพได้ง่ายขึ้น

เมื่อใช้มุมรับภาพที่กว้าง ส่วนของเฟรมภาพที่ปกคลุมด้วยน้ำตกจะมีขนาดเล็กลง ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสายน้ำไหลได้ยากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเปรียบต่างที่เด่นชัด ช่างภาพมากมายจะเลือกถ่ายภาพน้ำตกในวันที่เมฆครึ้มหรือวันที่มีฝนตก แต่คุณอาจได้ภาพถ่ายที่น่าสนใจในวันที่มีอากาศแจ่มใสขณะที่แสงแดดสาดส่องผ่านน้ำตกได้เช่นกัน โดยการถ่ายภาพน้ำตกที่กระเด็นจากก้อนหินในระยะใกล้ขณะที่แสงแดดส่องกระทบ”

 

เคล็ดลับ: หากแบ็คกราวด์สว่าง ส่วนที่เป็นสีขาวของน้ำตกอาจถูกถ่ายทอดออกมาเป็นสีขาวในภาพ

EOS 5D Mark II/ EF17-35mm f/2.8L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (f/18, 6 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย Fumio Tomita

เมื่อถ่ายภาพน้ำตกด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ หากแบ็คกราวด์สว่าง สีขาวนุ่มนวลของน้ำตกอาจไม่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นสีขาวบริสุทธิ์ในภาพ ดังนั้น วิธีที่ดีคือควรเลือกแบ็คกราวด์ที่ดูมืดหากสามารถทำได้ นอกจากนี้ อาจเกิดส่วนที่สว่างเกินไปหากคุณเปิดรับแสงมากเกินไปเป็นเวลานานๆ ดังนั้น คุณควรตรวจสอบคำเตือนภาพสว่างบนจอหลังจากถ่ายภาพ

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Fumio Tomita

เกิดที่กรุงโตเกียว หลังจบการศึกษาจาก Tokyo College of Photography เขาได้เรียนถ่ายภาพจากช่างภาพภูเขา ก่อนจะผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ เขาเชี่ยวชาญการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติในประเทศญี่ปุ่น

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Komei Motohashi

เกิดที่โยโกฮาม่า จังหวัดคานากาวะเมื่อปี 1945 Motohashi ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีห้องมืดที่ Tokyo College of Photography เขากำลังจัดทำคอลเลกชันภาพถ่ายที่มีชื่อธีมว่า "Breath of Nature" (ลมหายใจแห่งธรรมชาติ) ซึ่งเป็นผลงานที่รวบรวมลักษณะเด่นทางธรรมชาติและสภาพอากาศที่ไม่เหมือนใครของประเทศญี่ปุ่น ผ่านมุมมองทางธรรมชาติที่เขาได้พบในเทือกเขาต่างๆ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา