ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part2

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #2: ความเร็วชัตเตอร์

2017-01-12
22
26.29 k
ในบทความนี้:

ในการถ่ายภาพ คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์และเอฟเฟ็กต์ที่จะเกิดขึ้นกับภาพถ่ายของคุณ แล้วคุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นหรือต่ำลงเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ชนิดใดได้บ้าง เราลองมาดูเอฟเฟ็กต์ที่เกิดจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ในระดับต่างๆ โดยอาศัยตัวอย่างดังต่อไปนี้กัน (เรื่องโดย: Tomoko Suzuki)

 

ความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณ "ควบคุม" การเคลื่อนไหวของตัวแบบในภาพถ่าย

สิ่งที่พึงจดจำ

- ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นจะหยุดตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว
- ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงจะสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว
- คุณสามารถปรับปริมาณแสงโดยการเปิด/ปิดชัตเตอร์
 

ความเร็วชัตเตอร์ (หรือที่เรียกว่าเวลาการเปิดรับแสง) คือระยะเวลาที่ชัตเตอร์ของกล้องเปิดออกเพื่อรับแสงเข้ามายังเซนเซอร์ภาพในตัวกล้อง โดยความเร็วชัตเตอร์จะระบุเป็น 1 วินาที, 1/2 วินาที, 1/4 วินาที... 1/125 วินาที จนถึง 1/250 วินาที ฯลฯ

เมื่อความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้น ระยะเวลาการเปิดรับแสงจะลดลง และเมื่อความเร็วชัตเตอร์ลดลง ระยะเวลาการเปิดรับแสงจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อความเร็วชัตเตอร์ลดต่ำลง ปริมาณแสงที่เข้าสู่กล้องจะเพิ่มมากขึ้น

ความเร็วชัตเตอร์ไม่เพียงให้คุณสามารถปรับปริมาณแสงได้เท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่ถ่ายอีกด้วย โดยเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น คุณจะสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้โดยสิ้นเชิง ในทางกลับกัน เมื่อคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง คุณจะสามารถเบลอตัวแบบในทิศทางที่เคลื่อนไหว และถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของตัวแบบ อาทิเช่น สายน้ำไหล ได้ หรืออีกนัยหนึ่ง ความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณสามารถควบคุมลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่สื่อออกมาในภาพได้

 

ใช้การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เพื่อเปลี่ยนแปลงลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่ถ่าย

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Shutter-priority AE (f/14, 1/10 วินาที, EV+1.3)/ ISO 100
1/10 วินาที

 

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Shutter-priority AE (f/8, 1/160 วินาที, EV+1.3)/ ISO 100
1/160 วินาที

 

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Shutter-priority AE (f/4, 1/2500 วินาที, EV+1.3)/ ISO 400
1/2500 วินาที

 

การปรับความเร็วชัตเตอร์ช่วยให้คุณสามารถควบคุมลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่ถ่ายได้ ไม่ว่าคุณจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ หรือเลือกที่จะถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของตัวแบบโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของตัวแบบด้วย

 

 

แนวคิดที่ 1: ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวและการสั่นของกล้อง

ภาพเบลอมีทั้งหมดสองประเภทด้วยกัน ได้แก่ "ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว" และ "การสั่นไหวของกล้อง" ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเมื่อการเคลื่อนไหวของตัวแบบเร็วกว่าความเร็วชัตเตอร์ และแบ็คกราวด์จะไม่เคลื่อนไหว ดังนั้น จะมีเฉพาะตัวแบบเท่านั้นที่เบลอ ส่วนการสั่นไหวของกล้องนั้นเกิดขึ้นจากมือที่ถือกล้องสั่นไหวขณะลั่นชัตเตอร์ ดังนั้น จึงทำให้ภาพทั้งภาพออกมาเบลอ ในทั้งสองกรณี การเพิ่มความเร็วชัตเตอร์จะช่วยป้องกันภาพเบลอได้

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/22, 1/2 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100
ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว: เฉพาะตัวแบบที่อยู่กึ่งกลางภาพเท่านั้นที่เบลอ

 

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture AE (f/11, 1/6 วินาที, EV+1.0)/ ISO 100
การสั่นไหวของกล้อง: ภาพทั้งภาพออกมาเบลอ

 

 

แนวคิดที่ 2: ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์และจำนวนสต็อป

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเพิ่มความเร็วชัตเตอร์จาก 1/30 วินาทีเป็น 1/60 วินาที ระยะเวลาที่ชัตเตอร์เปิดออกจะลดลง และเราเรียกว่าเป็น "การทำให้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น 1 สต็อป" ในทางตรงกันข้าม เมื่อเราลดความเร็วชัตเตอร์จาก 1/60 วินาทีเป็น 1/30 วินาที เราจะเพิ่มระยะเวลาที่ชัตเตอร์เปิดออกเป็นสองเท่า และเป็นการ "ลดความเร็วชัตเตอร์ลง 1 สต็อป"

โดยทั่วไป เราสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ของกล้อง DSLR ให้ต่างกันระยะละ 1/2 และ 1/3 สต็อป นอกเหนือจากปกติที่ 1 สต็อปได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้ 1/2 สต็อป 1 สต็อปจะแบ่งออกเป็นสองระยะเป็นความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/30 วินาที, 1/45 วินาที และ 1/60 วินาที โดยระหว่างนั้นค่าความเร็วชัตเตอร์ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับปริมาณแสงที่เข้าสู่กล้องได้อย่างละเอียดมากขึ้นโดยใช้ระยะต่างกันที่น้อยลงอย่างเช่นทีละครึ่งสต็อป (1/2 สต็อป) ได้

 

 

ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์: ช่วงความเร็วชัตเตอร์ในแต่ละกล้องแตกต่างกัน

กล้องแต่ละรุ่นจะมีการกำหนดค่าขีดความเร็วชัตเตอร์สูงสุดและต่ำสุดไว้ล่วงหน้า และคุณสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ภายในช่วงที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้อย่างอิสระ ซึ่งหากเป็นกล้องที่มีความเร็วชัตเตอร์สูงที่มีค่าความเร็วสูงสุดที่ 1/8000 วินาที ไม่เพียงคุณจะสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่รวดเร็วในภาพถ่ายได้เท่านั้น แต่คุณยังสามารถเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น (กล่าวคือ ลดค่า f ลง) แม้แต่ฉากที่สว่างจ้าได้ ตลอดจนใช้ให้เป็นประโยชน์ในการถ่ายภาพที่มีวงกลมโบเก้ได้ นอกจากนี้ ในการเปิดรับแสงอัตโนมัติ กล้องรุ่นต่างๆ ยังมีค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่ 30 วินาที ซึ่งหากคุณต้องการลดความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงไปอีกสามารถใช้ฟังก์ชัน “BULB” ได้

 

สำหรับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ระดับต่างๆ โปรดอ่านบทความดังต่อไปนี้
[บทที่ 2] การปรับความเร็วชัตเตอร์เพื่อผลภาพที่มีพลังยิ่งขึ้น
[บทที่ 4] ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์
บทความทั้งสองนี้จะแสดงตัวอย่างเอฟเฟ็กต์แบบต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นหรือต่ำลง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #10: ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะกับการถ่ายภาพยามค่ำคืนที่สุดคือเท่าใด? 
เคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพเส้นแสงจากรถยนต์และทิวทัศน์เมืองยามค่ำคืน

[ตอนที่ 1] เทคนิคการใช้เส้นแสงมาตรฐาน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นแสงที่เกิดจากการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นวิธีในการลดความเร็วชัตเตอร์เพื่อเพิ่มเวลาการเปิดรับแสง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #14: ฉันจะถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้อย่างไร
ถ่ายภาพการเคลื่อนที่ของขบวนรถไฟที่กำลังวิ่งและตัวแบบอื่นๆ ที่กำลังแล่นด้วยความเร็วด้วยศิลปะการแพนกล้อง สำหรับคนที่ชอบความท้าทาย!

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา