ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 4] ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์

2014-06-19
24
43.82 k
ในบทความนี้:

ความเร็วชัตเตอร์ หมายถึง ระยะเวลาที่ชัตเตอร์ของกล้องเปิดออกเพื่อรับแสงเข้ามายังเซนเซอร์ในตัวกล้องขณะถ่ายภาพ คุณจึงควบคุมการถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

 

หลักการและผลการทำงานของความเร็วชัตเตอร์

ความเร็วชัตเตอร์มีผลต่อภาพถ่ายของคุณ

เมื่อกำหนดความเร็วชัตเตอร์ให้ทำงานเร็ว ชัตเตอร์จะช่วยหยุดสิ่งที่เคลื่อนไหวให้นิ่งสนิท เมื่อกำหนดให้ชัตเตอร์ช้า จะเกิดเอฟเฟ็กต์ “Motion Blur (ภาพเบลอขณะเคลื่อนไหว)” เพื่อแสดงการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในภาพ

นอกจากจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่ปรากฏในภาพแล้ว ความเร็วชัตเตอร์ยังควบคุมระยะเวลาการรับแสงของเซนเซอร์ภาพ ซึ่งจะกำหนดปริมาณแสงต่อไป เพื่อให้ยังคงปริมาณแสงที่ตกกระทบบนพื้นที่เซนเซอร์ภาพที่เหมาะสมไว้ จะต้องลดขนาดรูรับแสงลงหากต้องการเปิดชัตเตอร์ค้างไว้เพื่อรับแสงยาวนานขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น รูรับแสงจะต้องเปิดกว้างขึ้นเพื่อจะเปิดรับแสงได้มากกว่า โดยสรุป ความเร็วชัตเตอร์มีความสัมพันธ์กับค่ารูรับแสงอย่างใกล้ชิดและเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ภาพสวย

ความเร็วชัตเตอร์สูง

Aperture-priority AE (f/5.6, 1/4000 วินาที)

ที่ความเร็ว 1/4000 วินาที การเคลื่อนไหวของตัวผู้เล่นและทรายในอากาศดูนิ่งเป็นน้ำแข็ง

ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

 

Shutter-priority AE (f/8, 2 วินาที)

ในตัวอย่างนี้ ชัตเตอร์ถูกเปิดค้างไว้นาน 2 วินาที จึงทำให้เกิดเส้นแสงเป็นทางยาวจากไฟหน้าและไฟท้ายของรถราพาหนะต่างๆ

 
 

อารมณ์ภาพเปลี่ยนแปลงตามความเร็วชัตเตอร์

จากตัวอย่างด้านล่าง เราบอกได้ว่า ระยะเวลาของความเร็วชัตเตอร์นั้นมีผลต่อการถ่ายทอดอารมณ์ของภาพภาพหนึ่งอย่างมากทีเดียว น้ำตกดูมีพลังการเคลื่อนไหวเมื่อถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงๆ (ภาพตัวอย่างถ่ายที่ความเร็ว 1/400 วินาที) ขณะที่ Motion Blur ซึ่งเกิดเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะรังสรรค์บรรยากาศอีกแบบที่ดูสงบเยือกเย็น (ภาพตัวอย่างถ่ายที่ความเร็ว 0.5 วินาที)

 

ที่ 1/400 วินาที

 

ที่ 0.5 วินาที

 

คุณสามารถควบคุมการถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของตัวแบบที่ไม่อยู่นิ่งตามต้องการได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ จะหยุดสิ่งที่เคลื่อนไหวให้นิ่งสนิท ขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสามารถใช้ถ่ายทอดภาพของการเคลื่อนไหวเหล่านั้นด้วยการสร้าง Motion Blur ให้กับตัวแบบ

ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงคู่กับโหมดการถ่ายภาพต่อเนื่อง

 

ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ นั้นเหมาะกับการถ่ายภาพตัวแบบที่มีการเคลื่อนไหวอย่างกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว ในภาพตัวอย่างนี้ ผมใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องควบคู่กับการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อถ่ายทอดการเคลื่อนไหวที่มีพลังในภาพถ่ายต่อเนื่องชุดนี้ ภาพที่ออกมาดูดึงดูดใจ เพราะไม่เพียงแค่มองเห็นความต่อเนื่องจากการเคลื่อนที่ของเรือเท่านั้น แต่ยังมองเห็นได้จากคลื่นน้ำที่สาดกระเซ็นอีกด้วย

 
Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา