การโฟกัสเป็นพื้นฐานหนึ่งในการถ่ายภาพและส่งผลต่อภาพถ่ายของคุณอย่างมาก แม้ว่าการทำงานของโฟกัสจะเป็นเรื่องที่ไม่สลับซับซ้อน แต่จะดียิ่งกว่าหากมีความเข้าใจหลักเบื้องต้นและเรียนรู้การโฟกัสให้แม่นยำผ่านการฝึกฝน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
หน้า: 1 2
ทำความเข้าใจระบบกลไกเพื่อการโฟกัสที่ถูกต้อง
กล้องดิจิตอล SLR ตามท้องตลาดในปัจจุปันส่วนมากจะสร้างขึ้นมาพร้อมกลไก “โฟกัสอัตโนมัติ (AF)” คุณสมบัติที่สะดวกต่อการใช้งานที่ช่วยให้จับโฟกัสได้ง่ายๆ เพียงกดปุ่มชัตเตอร์ ถึงจะเป็นเช่นนั้น แต่ช่างภาพจำเป็นต้องมี “จุดมุ่งหมาย” ที่ชัดเจนว่าต้องการสร้างโฟกัสตรงจุดใด เพราะกล้องไม่ได้ออกแบบมาเพื่อจับโฟกัสในจุดที่ต้องการได้แบบอัตโนมัติ คุณอาจทำการโฟกัสได้ถูกต้องเมื่อเข้าใจถึงตรรกะการทำงานนี้
จุด AF / จุดที่ต้องการสร้างโฟกัสระหว่างการโฟกัสอัตโนมัติ
จุดที่สามารถทำการโฟกัสอัตโนมัติได้นั้นจะมีกรอบสี่เหลี่ยมระบุไว้บนหน้าจอในช่องมองภาพ ในโหมดการเลือกอัตโนมัติ จุดที่มีการโฟกัสจะกะพริบเป็นสีแดงและมีเสียง “บี๊บ” นอกจากนี้ คุณยังสามารถจับโฟกัสโดยเลือกจุด AF ด้วยตนเองได้อีกด้วย
เลือกจุดที่คุณต้องการจับโฟกัส
[1] เล็งกล้องไปที่ตัวแบบและกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
เมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งแล้ว กลไกการโฟกัสอัตโนมัติก็เปิดทำงานและเริ่มทำการโฟกัส
[2] โฟกัสตกลงตรงจุดที่ไม่ต้องการ
เสียง “บี๊บ” จะดังขึ้นเพื่อบอกว่ากล้องจับโฟกัสแล้ว แต่ในโหมดเลือกจุด AF อัตโนมัตินี้ โฟกัสจะอยู่ที่วัตถุซึ่งใกล้กล้องมากที่สุดโดยอัตโนมัติ
[3] กดปุ่มเลือกจุด AF
หากมีจุดที่คุณต้องการโฟกัส ให้กดปุ่มเลือกจุด AF
[4] จุด AF จะเป็นสีแดง
เมื่อกดปุ่มเลือกจุด AF จุด AF ทั้งหมดก็จะเป็นสีแดง
[5] หมุนวงแหวนควบคุมหลัก
หมุนวงแหวนควบคุมหลักเพื่อเลือกจุด AF หนึ่งจุดจากจุดที่มีไฟกะพริบด้วยตนเอง
[6] เลื่อนกรอบ AF ที่เป็นสีแดง
ขณะที่มองดูผ่านช่องมองภาพ หมุนวงแหวนควบคุมหลักเพื่อเลื่อนกรอบ AF สีแดง และหยุดเมื่อตรงกับตำแหน่งที่คุณต้องการจับโฟกัส
[7] กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งอีกครั้ง
กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งอีกครั้งเพื่อจับโฟกัส เมื่อได้ยินเสียง “บี๊บ” และตรวจดูภาพในช่องมองภาพแล้ว ก็ถึงเวลากดปุ่มชัตเตอร์จนสุดเพื่อถ่ายภาพ
เลือกโหมด AF ตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบ
เมื่อใช้ AF ในการโฟกัส สิ่งสำคัญคือจะต้องเลือกโหมดที่เหมาะสมกับตัวแบบที่ต้องการถ่ายภาพให้มากที่สุด กล้องซีรีย์ EOS จาก Canon มอบการใช้งาน AF ได้ถึง 3 โหมดตามปัจจัยเพื่อการพิจารณา เช่น การเคลื่อนไหวและความเร็วของตัวแบบ
กดปุ่ม “Q” เพื่อแสดงเมนู Quick Control เลือกโหมด AF (การตั้งค่าเริ่มต้น: One Shot) และกดปุ่ม “Q” อีกครั้ง
ในโหมด One Shot AF กลไกการโฟกัสอัตโนมัติจะหยุดทำงานเมื่อจับโฟกัสบนวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้แล้วและจะล็อกตำแหน่งโฟกัสไว้ชั่วคราว นี่เป็นคุณสมบัติอเนกประสงค์ที่เหมาะกับวัตถุที่เคลื่อนไหวน้อย
ONE SHOT
ในโหมด One Shot AF กลไกการโฟกัสอัตโนมัติจะหยุดทำงานเมื่อจับโฟกัสบนวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้แล้วและจะล็อกตำแหน่งโฟกัสไว้ชั่วคราว นี่เป็นคุณสมบัติอเนกประสงค์ที่เหมาะกับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวน้อย
เหมาะสำหรับ
- ภาพถ่ายบุคคล
- ภาพทิวทัศน์
AI SERVO
AI Servo คือ โหมด AF ที่จะรักษาโฟกัสบนตัวแบบโดยอัตโนมัติ ขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งแล้ว เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว ซึ่งจะสามารถรักษาโฟกัสที่ตัวแบบ แม้ขณะที่ตัวแบบกำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้กล้องด้วยความเร็วสูง
เหมาะสำหรับ
- ภาพกีฬา
- ภาพสัตว์
AI FOCUS
หนึ่งในลักษณะของ AI Focus คือ จุด AF หลายจุดถูกใช้ในการโฟกัสพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ ยังสลับเป็น AI Servo โดยอัตโนมัติตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบ จึงเป็นประโยชน์กับตัวแบบที่มีการเคลื่อนไหวที่คาดเดาไม่ได้
เหมาะสำหรับ
- ภาพสตรีท
- ภาพเด็ก
คืนการตั้งค่าเมื่อถ่ายภาพเสร็จ
หลังจากที่คุณถ่ายภาพเสร็จโดยใช้จุด AF ที่เลือกด้วยตนเอง อย่าลืมที่จะคืนค่าการเลือกจุด AF ให้เหมือนเดิม จุด AF ทั้งหมดควรกะพริบเมื่ออยู่ในตำแหน่งการเลือกอัตโนมัติ การปรับจุด AF ที่เลือกเองไว้ที่กึ่งกลางจะช่วยลดความกังวลเมื่อคุณเริ่มถ่ายภาพถัดไป แต่ทั้งนี้ คุณสามารถเลือกจุดเริ่มต้นได้ตามต้องการ
เมื่อเลือกจุด AF แล้ว คุณสามารถสลับไปยังจุด AF อื่นได้โดยหมุนวงแหวนควบคุมหลัก
ตำแหน่งที่จุด AF ทั้งหมดที่กะพริบขึ้นคือตำแหน่งที่มีการเลือกจุด AF อัตโนมัติ
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย