ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part10

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #10: รูปแบบภาพ

2017-03-23
7
6.89 k
ในบทความนี้:

ฟังก์ชั่นรูปแบบภาพช่วยให้คุณปรับโทนสีและความเปรียบต่างเพื่อเพิ่มเสน่ห์และความน่าดึงดูดใจให้กับตัวแบบ เมื่อคุณเลือกการตั้งค่ารูปแบบภาพที่เหมาะสมที่สุด คุณจะได้ผลลัพธ์อันสมบูรณ์แบบที่สื่อถึงจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพผ่านทางภาพที่มีชีวิตชีวา (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

รูปแบบภาพให้คุณสามารถเปลี่ยนความเปรียบต่างและโทนสีของภาพได้ดั่งใจนึก

สิ่งที่ควรจดจำ

- สามารถปรับการตั้งค่าเพื่อให้เหมาะกับตัวแบบและจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพของคุณ
- สามารถปรับการตั้งค่าในการตั้งค่าแบบล่วงหน้าได้
 

รูปแบบภาพเป็นฟังก์ชั่นที่ให้คุณสามารถปรับโทนสีและความเปรียบต่างได้ตามต้องการ และเมื่อปรับแล้วภาพที่ได้จะมีโทนสีที่สวยสดใสมากยิ่งขึ้น มีความเปรียบต่างที่คมชัดขึ้นหรือน้อยลงเพื่อให้เหมาะสมกับฉาก มีคนเข้าใจผิดว่าความเปรียบต่างที่คมชัดขึ้นช่วยให้ได้ภาพที่ดียิ่งขึ้น แต่บางครั้ง การใช้โทนสีที่อ่อนลงหรือการลดความเปรียบต่างเพื่อสร้างบรรยากาศที่เงียบสงบและปลอดโปร่งก็ส่งผลให้ภาพมีสีสันที่สวยงามได้เช่นกัน

รูปแบบภาพที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้ามีให้เลือกหลายแบบด้วยกัน ได้แก่ “อัตโนมัติ”, “มาตรฐาน”, “บุคคล” และ “ภาพขาวดำ” คุณสามารถเลือกรูปแบบภาพที่ต้องการได้ตามจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพและตัวแบบของคุณ เพื่อสร้างผลงานภาพถ่ายที่พิเศษไม่เหมือนใคร นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งค่าที่ตั้งไว้ล่วงหน้าได้โดยใช้เมนู [ตั้งค่าละเอียด] ด้วยการปรับแต่งพารามิเตอร์ เช่น ความคมชัดหรือความเปรียบต่าง คุณสามารถสร้างภาพในเชิงศิลป์ที่แตกต่างกันได้หลายแบบ

อัตโนมัติ

มาตรฐาน

 

บุคคล

ภาพวิว

 

Fine Detail

ภาพตามจริง

 

ภาพเป็นกลาง

ภาพขาวดำ

การตั้งค่าทั่วไป: EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 106 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/2000 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

ในการตั้งค่า “อัตโนมัติ” จะเป็นการปรับแต่งโทนสีโดยอัตโนมัติตามฉากในการถ่ายภาพ รูปแบบภาพนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการถ่ายภาพกลางแจ้งหรือภาพวิว เพราะจะถ่ายทอดสีเขียว สีน้ำเงิน และสีแดงออกมาได้อย่างสดใสมีชีวิตชีวา

การตั้งค่า “มาตรฐาน” เป็นการตั้งค่าโทนสีขั้นพื้นฐานที่สุดของกล้องดิจิตอล EOS และโดยทั่วไปมักใช้ถ่ายภาพสวยๆ ได้แทบทุกประเภท

การตั้งค่า “ภาพวิว” ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความคมชัดและโทนสีให้กับภาพ และให้ผลภาพที่ส่งผลทางอารมณ์แก่ผู้ชม

“บุคคล” ให้โทนสีที่นุ่มนวลยิ่งขึ้น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายภาพผู้หญิงและเด็ก เนื่องจากเผยให้เห็นผิวที่กระจ่างใสแลดูมีสุขภาพดี

“Fine Detail” คือรูปแบบภาพที่เพิ่มขึ้นใหม่ล่าสุด และยังเป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์มาก เพราะ “Fine Detail” สามารถถ่ายทอดได้แม้กระทั่งลายเส้นที่อยู่ในรายละเอียดปลีกย่อยและพื้นผิวของตัวแบบได้อย่างสวยงาม

เมื่อคุณใช้ฟังก์ชั่นการตั้งค่ารูปแบบภาพต่างๆ จนเกิดความชำนาญแล้ว คุณจะสามารถถ่ายภาพและได้ผลภาพที่น่าพอใจได้

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง 1: การปรับแต่งรูปแบบภาพ

ซ้าย: การตั้งค่าปกติ
ขวา: โทนสีและความเปรียบต่างที่ผ่านการปรับแต่งแล้ว

การตั้งค่าทั่วไป: EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/1250 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

เราสามารถปรับแต่งรูปแบบภาพที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าได้ โดยในเมนู “ตั้งค่าละเอียด” ให้เลือก “ความคมชัด”, “ความเปรียบต่าง”, “ความอิ่มตัวของสี”, “โทนสี” เพื่อปรับแต่งเอฟเฟ็กต์และได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ

ด้วยการปรับแต่งการตั้งค่าต่างๆ ในเมนูตั้งค่าละเอียด คุณสามารถเปลี่ยนหน้าตาของภาพถ่ายได้

 

A: ความคมชัด/ความเปรียบต่าง
B: โทนสี
C: ความอิ่มตัวของสี

การปรับพารามิเตอร์ในเมนู [ตั้งค่าละเอียด] จะส่งผลต่อภาพถ่ายในด้านต่อไปนี้:

เมื่อค่าใน “ความคมชัด” ปรากฏขึ้น คุณจะเห็นว่าเส้นขอบต่างๆ จะคมชัดขึ้นและภาพจะคมชัดมากๆ
เมื่อคุณเพิ่ม “ความเปรียบต่าง” ไปที่ฝั่ง “+” ภาพจะคมชัดขึ้นและดูโดดเด่นจนให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสามมิติ
และด้วย “โทนสี” การตั้งค่าพื้นฐานจะเข้ากับสีของผิวมนุษย์ ดังนั้น จึงมีประโยชน์มากที่สุดในการปรับแต่งสีผิวของตัวแบบที่เป็นมนุษย์ เมื่อเพิ่มโทนสีไปที่ฝั่ง “+” คุณจะได้โทนสีเหลืองที่ชัดขึ้น และเมื่อปรับไปที่ฝั่ง “-” จะได้โทนสีแดงที่ชัดเจนขึ้น
ส่วน “ความอิ่มตัวของสี” จะเปลี่ยนแปลงความเข้มของสี เมื่อเพิ่มค่าไปที่ฝั่ง “+” จะได้โทนสีที่คมชัดยิ่งขึ้น

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง 2: เอฟเฟ็กต์โทนสี

เอฟเฟ็กต์: ซีเปีย

 

เอฟเฟ็กต์: สีน้ำเงิน

 

เอฟเฟ็กต์: สีม่วง

 

เอฟเฟ็กต์: สีเขียว

การตั้งค่าทั่วไป: EOS M/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/30 วินาที, EV-1)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

การตั้งค่าโทนสีในรูปแบบภาพมีให้เลือกใน “ภาพขาวดำ” คุณสามารถเพิ่มสีสันให้กับภาพขาวดำได้ด้วยฟังก์ชั่นนี้ โดยฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อใช้ทดลองสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่ให้บรรยากาศที่พิเศษไม่เหมือนใคร ตัวอย่างเช่น สีซีเปียสามารถสร้างอารมณ์ที่ชวนให้ถวิลหาอดีต และเฉดสีน้ำเงินสามารถทำให้ภาพดูสงบเยือกเย็น ในขณะที่สีม่วงสร้างความรู้สึกที่หรูหราของชีวิตในเมืองใหญ่ และฉากที่คลาสสิกย้อนยุคเหมาะที่สุดกับสีเขียว

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบภาพ โปรดดูบทความต่อไปนี้:
3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา