ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part9

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #9: โหมด AF

2017-03-16
9
14.76 k
ในบทความนี้:

เมื่อจับโฟกัสที่ตัวแบบ สิ่งสำคัญคือการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตัวแบบ และไม่พลาดการถ่ายภาพในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องรู้จักโหมดโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับตัวแบบที่อยู่นิ่งกับที่ และโหมดที่ใช้กับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว เราลองมาทำความรู้จักกับโหมด AF ทั้งสามแบบกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

เลือกโหมด AF ที่เหมาะสมกับลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบมากที่สุด

สิ่งที่ควรจดจำ

- เมื่อตัวแบบอยู่นิ่งกับที่ เลือกใช้ One Shot AF
- เมื่อตัวแบบกำลังเคลื่อนไหว เลือกใช้ AI Servo AF
- เมื่อไม่สามารถคาดคะเนการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้ เลือกใช้ AI Focus AF
 

โหมด AF มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์การถ่ายภาพมากที่สุด ได้แก่ One Shot AF, AI Servo AF และ AI Focus AF โดยสามารถสลับใช้งานระหว่าง One Shot AF และ AI Servo AF ได้

เมื่อใช้งานโหมด One Shot AF ให้กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง เมื่อจับโฟกัสแล้ว ต่อไปกล้องจะทำการตั้งโฟกัส โหมด AF นี้เหมาะมากที่สุดสำหรับใช้ถ่ายภาพตัวแบบที่อยู่นิ่งกับที่ ในส่วนของโหมด AI Servo AF นั้น AF จะทำงานเมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง และรักษาโฟกัสบนตัวแบบอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน Al Focus AF เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ถ่ายภาพตัวแบบที่ไม่สามารถคาดเดาการเคลื่อนไหวได้ ในโหมดนี้ กล้องจะสลับใช้งานระหว่าง One Shot AF กับ AI Servo AF ตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบ ซึ่งเราควรใช้โหมด AF ให้เหมาะกับสถานการณ์

 

One Shot AF

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/6400 วินาที, EV+1)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ข้อดี: จับและตั้งโฟกัสได้ง่าย
ข้อเสีย: หลุดโฟกัสได้ง่ายหากตัวแบบเคลื่อนที่

จับโฟกัสโดยกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งจนกว่าจะจับโฟกัสได้ จากนั้นกล้องจะตั้งโฟกัส โหมดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายภาพตัวแบบที่อยู่นิ่ง เช่น บนท้องถนน ภาพสิ่งของบนโต๊ะ และภาพทิวทัศน์ อย่างไรก็ดี หากตัวแบบเคลื่อนที่ไปหลังจากตั้งโฟกัสแล้ว ภาพจะหลุดโฟกัสทันที

 

AI Servo AF

EOS 7D Mark II/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 135 มม. (เทียบเท่ากับ 216 มม.)/ Aperture-priority AE (f/4, 1/1250 วินาที, EV±0)/ISO 160/ WB: อัตโนมัติ

ข้อดี: สามารถรักษาโฟกัสไว้ที่ตัวแบบที่เคลื่อนที่ได้
ข้อเสีย: จับโฟกัสในจุดหรือสถานที่ที่แน่นอนตามที่ต้องการได้ยาก

กล้องจะจับโฟกัสอย่างต่อเนื่องขณะที่คุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง โหมดนี้จึงเหมาะมากที่สุดสำหรับถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ออกไปหรือเข้าหากล้องอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เราอาจได้องค์ประกอบภาพที่สมบูรณ์แบบตามต้องการได้ยาก เนื่องจากการได้โฟกัสที่ดีเยี่ยมไม่ใช่เรื่องง่าย

 

AI Focus AF

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/5, 1/160 วินาที, EV+0.3)/ ISO 160/ WB: แสงแดด

ข้อดี: เหมาะที่สุดสำหรับตัวแบบที่มีการเคลื่อนที่ไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดเดาได้
ข้อเสีย: ยากที่จะกำหนดว่ากำลังใช้งานโหมดอะไรอยู่ในขณะนั้น

เมื่อใช้โหมด AI Focus AF กล้องจะสลับใช้งานระหว่างโหมด One Shot AF กับ AI Servo AF โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตัวแบบกำลังเคลื่อนไหวหรืออยู่นิ่งกับที่ โหมดนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับถ่ายภาพตัวแบบที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น สัตว์และเด็กๆ ซึ่งอาจวิ่งเล่นไปมาชั่วขณะหนึ่งและอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับเขยื้อนในอีกไม่กี่นาทีต่อมา จึงทำให้เรากำหนดองค์ประกอบภาพด้วยโหมดนี้ได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับโหมด One Shot AF เนื่องจากต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการรักษาโฟกัส

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง: โหมดการเลือกพื้นที่ AF

AF จุดเดียว

โซน AF

การเลือก AF อัตโนมัติ

โหมดการเลือกพื้นที่ AF คือฟังก์ชั่นที่กำหนดพื้นที่เฟรม AF ขณะจับโฟกัส คุณสามารถเลือกทำการโฟกัสอัตโนมัติโดยใช้จุดจุดเดียวหรือทั้งโซนได้ แม้ว่าชนิดของฟังก์ชั่นจะแตกต่างกันไปในกล้องแต่ละรุ่น แต่ส่วนใหญ่แล้วกล้องระดับเริ่มต้นมักมีโหมด AF อย่างน้อยสามแบบให้เลือกใช้งานดังที่กล่าวข้างต้นคือ AF จุดเดียว, โซน AF และการเลือก AF อัตโนมัติ หากเน้นการจับโฟกัสที่จุดใดจุดหนึ่ง AF จุดเดียวจะใช้งานได้ดี หากคุณใช้โซนเพื่อจับโฟกัส ควรเลือกการเลือก AF อัตโนมัติ สำหรับการใช้งานอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ให้ใช้โซน AF

สิ่งสำคัญคือคุณต้องทราบว่าจะเลือกใช้โหมดการเลือกพื้นที่ AF ชนิดใดให้เหมาะกับขนาดและลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวแบบ หากถ่ายภาพตัวแบบหรือฉากที่มีขนาดเล็ก ซึ่งจำเป็นต้องใช้การโฟกัสที่แม่นยำสูง ให้ใช้ AF จุดเดียว หากถ่ายภาพตัวแบบที่ไม่สามารถคาดเดาการเคลื่อนไหวได้ ให้ใช้การเลือก AF อัตโนมัติ สำหรับฉากที่ต้องพิจารณาทั้งตัวแบบที่เคลื่อนไหวและการจัดองค์ประกอบภาพที่ดี โซน AF นับว่าเหมาะที่สุด

 

การผสมผสานที่ลงตัว 1: AF จุดเดียวและ One Shot AF

AF จุดเดียวใช้ถ่ายภาพโดยให้กล้องกำหนดว่าจุด AF ใดจะให้โฟกัสที่ดีที่สุด โหมดนี้สามารถใช้งานได้ดีหากคุณต้องการโฟกัสที่จุดใดจุดหนึ่งของตัวแบบอย่างแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผสานรวมกับ One Shot AF

การผสมผสานสองโหมดนี้ไม่เพียงให้คุณสามารถจับโฟกัสที่บริเวณที่ต้องการในฉากที่มีระยะชัดลึกเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สามารถจับโฟกัสแบบ Pinpoint ในฉากต่างๆ ที่มีความชัดตื้นได้อย่างคมชัด เช่น เมื่อถ่ายภาพดอกไม้หรือภาพระยะใกล้ อีกด้วย

EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/100 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ในภาพนี้ ฉันจับโฟกัสบนตัวแบบที่อยู่ตรงกลางภาพ และทำให้บริเวณด้านหน้าและด้านหลังของตัวแบบอยู่นอกโฟกัส หากคุณพยายามสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์ การใช้งาน One Shot AF + AF จุดเดียวจะเป็นประโยชน์ที่สุด

 

EOS M3/ EF-M28mm f/3.5 Macro IS STM/ FL: 28 มม. (เทียบเท่ากับ 45 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที, EV+0.3)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ

ในการถ่ายภาพดอกไม้ การโฟกัสที่แม่นยำสูงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจับโฟกัสที่กลีบดอกไม้ ฉันเลือกใช้ One Shot AF + AF จุดเดียว

 

การผสมผสานที่ลงตัว 2: AI Servo AF และการเลือก AF อัตโนมัติ

เมื่อเปิดใช้งานการเลือก AF อัตโนมัติ กล้องจะเลือกจุด AF ที่ดีที่สุดโดยอัตโนมัติเโดยเลือกจากจุด AF ที่มีให้ใช้งานทั้งหมด โดยหลักแล้ว กล้องจะจับโฟกัสบนตัวแบบที่อยู่ใกล้กับกล้องมากที่สุด

หากคุณเลือกจุดๆ เดียวเพื่อทำการโฟกัส บางครั้งการรักษาโฟกัสไว้บนตัวแบบอย่างต่อเนื่องอาจทำได้ยาก จุดนี้เองที่การเลือก AF อัตโนมัติจะเป็นประโยชน์เมื่อคุณถ่ายภาพสัตว์หรือถ่ายภาพกีฬา ซึ่งการรักษาโฟกัสบนตัวแบบที่เคลื่อนไหวโดยใช้จุด AF เพียงจุดเดียวทำได้ยาก เมื่อถ่ายฉากที่มีตัวแบบที่เคลื่อนไหวในโหมด AI Servo AF การเปิดใช้ฟังก์ชั่นการเลือก AF อัตโนมัติร่วมด้วยจะช่วยให้คุณได้โฟกัสที่ดีที่สุด เนื่องจากจะเป็นการจับโฟกัสอัตโนมัติบนพื้นที่ทั้งหมด

EOS 5D Mark III/ EF40mm f/2.8 STM/ FL: 40 มม./ Aperture-priority AE (f/14, 1/1600 วินาที, EV-0.3)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ

ฉันถ่ายภาพนกนางนวลตัวหนึ่งที่บินโฉบขึ้นมาอย่างกะทันหัน โดยตั้งค่ากล้องไว้ที่การเลือก AF อัตโนมัติ และโหมด AI Servo AF เมื่อใช้การเลือก AF อัตโนมัติ จุด AF ต่างๆ จะเริ่มจับโฟกัส จึงเพิ่มโอกาสที่เราจะได้โฟกัสที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ฟังก์ชั่นนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ถ่ายภาพแบบฉับพลันดังเช่นในภาพนี้

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา