ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part14

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #14: ตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง

2017-05-11
23
49.82 k
ในบทความนี้:

ตำแหน่งกล้องและมุมกล้องคือองค์ประกอบสองประการที่มีผลอย่างมากต่อภาพถ่าย เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพอย่างเห็นได้ชัด การใช้ตำแหน่งกล้องและมุมกล้องที่หลากหลายจะทำให้คุณได้เอฟเฟ็กต์ที่แตกต่างกันในภาพถ่ายของคุณ ในส่วนถัดไป เราจะไปดูตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง ซึ่งแต่ละส่วนจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็นด้วยกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

ตำแหน่งกล้อง: ระดับที่ถือกล้องถ่าย
มุมกล้อง: ทิศทางที่ตั้งกล้องกับวัตถุที่ถ่าย

สิ่งที่ควรจดจำ

- คุณสามารถเปลี่ยนองค์ประกอบภาพของภาพถ่ายได้ตามตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง
- ควรกำหนดตำแหน่งกล้องก่อนเลือกมุมกล้อง
 

ตำแหน่งกล้อง หมายถึง ระดับความสูงในการถือกล้องถ่ายที่สัมพันธ์กับพื้นดิน การถือกล้องในตำแหน่งปกติที่ระดับสายตาเรียกว่า ‘ระดับสายตา’ ส่วนการถือกล้องในตำแหน่งที่สูงกว่าระดับสายตาเรียกว่า ‘ระดับสูง’ และการถือกล้องในระดับต่ำกว่าสายตา เช่น เมื่อคุณอยู่ในท่านั่งยองๆ เรียกว่า ‘ระดับต่ำ

มุมกล้อง หมายถึง ระดับองศาที่เล็งกล้องไปที่ตัวแบบ การเล็งกล้องในระดับแนวนอนไปทางตัวแบบเรียกว่า ‘มุมระดับสายตา การเล็งกล้องโดยหันหน้ากล้องลงเรียกว่า ‘มุมสูง’ และการเล็งกล้องโดยหันหน้ากล้องขึ้นเรียกว่า ‘มุมต่ำ

ประการแรก เมื่อคุณลงมือถ่ายภาพ ให้สังเกตตัวแบบอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจว่าจะถ่ายภาพจากตำแหน่งใด จากนั้น จึงค่อยตัดสินใจเรื่องมุมกล้อง การเปลี่ยนตำแหน่งถ่ายภาพและมุมกล้องช่วยให้คุณได้องค์ประกอบภาพที่ต่างไปจากเดิม เพื่อเน้นถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของตัวแบบ คุณจำเป็นต้องมีแนวทางการนำเสนอภาพในมุมมองที่ต่างออกไป และปรับเปลี่ยนตำแหน่งและมุมกล้องให้สอดรับกัน

 

ตำแหน่งของกล้อง

 

ระดับสูง

ถือกล้องในระดับสูงโดยยกแขนขึ้นเหนือกว่าระดับสายตา หรือยื่นอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นโดยใช้วิธียืนบนสตูลหรือแท่นวางเท้า ตำแหน่งถ่ายภาพนี้จะช่วยเพิ่มความลึกให้กับแบ็คกราวด์ที่คุณถ่าย เมื่อใช้วิธีนี้ร่วมกับมุมสูงจะช่วยเน้นมุมมองเปอร์สเปคทีฟให้เด่นชัด

 

ระดับสายตา

นี่คือตำแหน่งถ่ายภาพมาตรฐานในระดับความสูงที่คุณมองผ่านช่องมองภาพขณะยืนถ่ายภาพ ดังนั้น ภาพที่ปรากฏจะเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่คุณเห็น และนำเสนอสภาพของตัวแบบที่คุณกำลังถ่ายได้อย่างสมจริงที่สุด อย่างไรก็ดี การถ่ายภาพจากตำแหน่งระดับสายตานี้ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกธรรมดาไม่โดดเด่น

 

ระดับต่ำ

การถ่ายภาพระดับต่ำคือ การถือกล้องในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับสายตาของคุณ เนื่องจากวิธีนี้เป็นการถ่ายภาพในมุมที่ต่างออกไปจากที่มองเห็นตามปกติ ภาพที่ได้จึงดูมีพลังและส่งผลกระทบต่ออารมณ์อย่างมาก เมื่อใช้วิธีนี้ร่วมกับมุมต่ำจะช่วยเน้นเอฟเฟ็กต์ให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้น

 

มุม

 

มุมสูง

มุมสูงคือ มุมที่คุณเอียงกล้องลงต่ำไปทางตัวแบบ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่ามุมมองนกหรือเบิร์ดอายวิว เนื่องจากวิธีนี้สามารถเก็บภาพของตัวแบบได้ทั้งหมด ภาพที่ปรากฏจึงแสดงรายละเอียดและถ่ายทอดบรรยากาศโดยรอบที่คุณเห็นได้อย่างชัดเจน เนื่องจากภาพลักษณะนี้มักมีพื้นดินเป็นแบ็คกราวด์ คุณอาจต้องการปรับการเลือกแบ็คกราวด์ด้วยเช่นกัน

 

มุมระดับสายตา

การใช้มุมระดับสายตาเป็นวิธีถ่ายภาพมาตรฐานที่ช่างภาพถือกล้องในระดับความสูงเท่ากับระดับสายตาของคุณแบบตรงๆ ขณะที่คุณถ่ายภาพในระดับสายตาเดียวกันกับตัวแบบ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับสายตาของมนุษย์ทั่วไป ภาพที่ได้จะดูเป็นธรรมชาติและคุ้นเคย และสื่อถึงความรู้สึกที่มั่นคง

 

มุมต่ำ

การถ่ายภาพมุมต่ำคือ วิธีที่คุณเงยกล้องขึ้นด้านบนไปที่ตัวแบบ การถ่ายภาพตัวแบบที่มีความสูงหรืออยู่สูงจากมุมต่ำจะช่วยสร้างมิติความลึกและความน่าเกรงขาม และสื่อถึงความโดดเด่นและหนักแน่นของตัวแบบได้ เนื่องจากภาพลักษณะนี้มักใช้ท้องฟ้าเป็นแบ็คกราวด์ การปรับองค์ประกอบภาพจึงทำได้ง่าย

 

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมกล้อง โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายภาพจากมุมสูงหรือมุมต่ำ?

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง: การเปลี่ยนมุมมองเปอร์สเป็คทีฟ

 

(ซ้าย)
EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/30 วินาที, EV+0.3)/ ISO 160/ WB: อัตโนมัติ
การถ่ายภาพในระดับสายตา
เมื่อถ่ายภาพจากตำแหน่งนี้ สะพานแขวนจะดูมีระยะทางสั้นลงและสูญเสียมิติความลึกไป ทำให้ภาพที่ได้ดูธรรมดาและไม่สื่อถึงความหนักแน่นเท่าใดนัก

(ขวา)
EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/40 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
การถ่ายภาพในระดับต่ำ
ภาพนี้ถ่ายในระดับสายตาขณะอยู่ในท่านั่งยองๆ โดยไม่เปลี่ยนมุมกล้อง สะพานแขวนจึงดูมีระยะทางที่ยาวขึ้นตั้งแต่ต้นจนถึงปลายสะพาน ทำให้สื่อถึงมิติความลึกได้ดี

 

 

(ซ้าย)
EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/40 วินาที, EV+0.7)/ ISO 500/ WB: แสงแดด
การถ่ายภาพที่มุมระดับสายตา
เมื่อใช้การถ่ายภาพที่มุมระดับสายตา ภาพจะดูเป็นธรรมชาติและสมจริงคล้ายกับที่เห็นด้วยตาของตนเอง เอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟจะเห็นได้ไม่ชัดเจนนักหากคุณไม่เปลี่ยนมุมกล้อง

(ขวา)
EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/30 วินาที, EV+0.7)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
การถ่ายภาพมุมสูง
ฉันเอียงกล้องลงไปที่มุมต่ำกว่าระดับสายตา แต่มุมมองเปอร์สเปคทีฟที่ได้ดูเกินจริง บริเวณด้านหน้าของภาพดูกว้างขึ้นและระยะไกลสุดของภาพดูเล็กลง

การเปลี่ยนตำแหน่งของกล้องและมุมที่หันไปทางตัวแบบแม้เพียงเล็กน้อยจะช่วยเพิ่มมุมมองเปอร์สเปคทีฟ ซึ่งทำให้อารมณ์ของภาพเปลี่ยนไปอย่างมาก หากคุณถือกล้องตามปกติเช่นที่เคยทำหรือโดยใช้สัญชาตญาณ คุณมักถ่ายภาพในท่าทางที่สบายๆ โดยใช้ตำแหน่งระดับสายตาและมุมกล้องระดับสายตา การถ่ายภาพลักษณะนี้จะถ่ายทอดความเป็นธรรมชาติของภาพถ่าย และทำให้ภาพดูสมจริงมากยิ่งขึ้นก็จริง แต่หากนำวิธีนี้ไปใช้กับตัวแบบบางประเภทอาจทำให้ภาพดูค่อนข้างธรรมดาและไม่น่าสนใจ ดังนั้น ก่อนถ่ายภาพควรศึกษาตัวแบบของคุณให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อกำหนดตำแหน่งและมุมกล้องที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายภาพ

 

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #7: ตำแหน่งของกล้อง (ระดับ) และมุมกล้องแตกต่างกันอย่างไร
ผลของมุมกล้องบนภาพถ่าย

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา