ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part12

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #12: ช่องมองภาพ

2017-04-13
6
12.83 k
ในบทความนี้:

เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพ องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของกล้องคือช่องมองภาพ ในปัจจุบัน มีกล้องหลายรุ่นที่ไม่มีช่องมองภาพ มีแต่เพียงการถ่ายภาพแบบ Live View เท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อคุณมีประสบการณ์การถ่ายภาพมากขึ้น คุณจะตระหนักได้ว่าการถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพมีผลต่อภาพถ่ายของคุณอย่างมาก ในบทความนี้ เราลองมาทำความรู้จักกับช่องมองภาพกัน (เรื่องโดย: Tomoko Suzuki)

 

ช่องมองภาพแบบออพติคอลช่วยให้คุณมุ่งความสนใจไปที่ตัวแบบได้

สิ่งที่ควรจดจำ

- ป้องกันแสงจากภายนอกไม่ให้รบกวนการถ่ายภาพของคุณ
- ช่วยให้คุณมุ่งความสนใจไปที่ตัวแบบได้โดยไม่มีสิ่งรบกวนความสนใจ
- ติดตามตัวแบบที่เคลื่อนไหวได้ง่าย
 

ช่องมองภาพคือหน้าต่างจอเล็กในกล้องที่สามารถมองผ่านเข้าไปเพื่อจัดองค์ประกอบภาพและจับโฟกัสที่ตัวแบบได้ ความแตกต่างระหว่างการถ่ายภาพแบบ Live View ซึ่งคุณสามารถใช้จอภาพ LCD และการถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพ คือ เมื่อถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพ จะมีการป้องกันแสงจากภายนอกไม่ให้ส่งผลต่อการมองเห็นภาพบนหน้าจอ คุณจึงมุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่ตัวแบบที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการติดตามตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว

กล้องดิจิตอลติดตั้งช่องมองภาพสองแบบ ได้แก่ ช่องมองภาพแบบออพติคอล (OVF) และช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF)

ส่วนใหญ่ช่องมองภาพแบบออพติคอล (OVF) มักพบในกล้อง DSLR เช่น EOS 77D และ EOS 1300D ในกล้องรุ่นดังกล่าว แสงที่เดินทางผ่านเลนส์จะสะท้อนบนกระจกและเข้าไปในช่องมองภาพ ช่วยให้คุณถ่ายภาพขณะมองภาพจริงไปพร้อมกันได้ ข้อดีของระบบนี้ก็คือ คุณสามารถติดตามตัวแบบที่เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น และมองเห็นสีสันได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม เนื่องจากกระจกเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยในการสะท้อนแสง จึงส่งผลต่อข้อจำกัดในการออกแบบกล้องให้มีขนาดที่กะทัดรัด นอกจากนี้ ยังไม่สามารถตรวจสอบเอฟเฟ็กต์สมดุลแสงขาวและการชดเชยแสงก่อนถ่ายภาพได้

ในขณะที่โดยปกติช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) มักพบในกล้องมิเรอร์เลส อาทิ EOS M5 ซึ่งจะฉายภาพที่ถ่ายด้วยเซนเซอร์ภาพลงบนแผงหน้าจอ LCD ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และกลายเป็นภาพที่คุณเห็นเมื่อมองผ่าน EVF เนื่องจากช่องมองภาพชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้กระจกเพื่อสะท้อนแสง ดังนั้น จึงสามารถออกแบบกล้องให้มีขนาดกะทัดรัดมากยิ่งขึ้นได้ อีกทั้งคุณยังสามารถขยายภาพบนพื้นที่โฟกัสให้ใหญ่ขึ้น และตรวจสอบเอฟเฟ็กต์การปรับค่าโทนสีและความสว่างก่อนถ่ายภาพได้ อย่างไรก็ดี เนื่องจาก EVF ใช้พลังงานมากกว่า ดังนั้น จึงอาจต้องใช้แบตเตอรี่มากกว่าเดิมเล็กน้อย

 

ช่องมองภาพออพติคอล

คุณสมบัติส่วนใหญ่ในกล้อง DSLR

EOS 77D
ข้อดี

- สามารถดูตัวแบบจริงได้
- ง่ายในการติดตามตัวแบบที่เคลื่อนไหว
- ตรวจจับโทนสีได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ข้อเสีย
- มีข้อจำกัดในการออกแบบกล้องให้มีขนาดกะทัดรัด
- ไม่สามารถตรวจสอบเอฟเฟ็กต์สมดุลแสงขาวและการชดเชยแสงก่อนลั่นชัตเตอร์

 

ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์

คุณสมบัติส่วนใหญ่ในกล้องมิเรอร์เลส

EOS M5
ข้อดี

- สามารถออกแบบกล้องให้มีขนาดกะทัดรัดมากขึ้น
- สามารถขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นเพื่อจับโฟกัส
- สามารถตรวจสอบเอฟเฟ็กต์สมดุลแสงขาวและการชดเชยแสงก่อนลั่นชัตเตอร์

ข้อเสีย
- ใช้พลังงานมากขึ้นเล็กน้อย

 

แนวคิดที่ 1: การถ่ายตัวแบบที่เคลื่อนไหวด้วย OVF

EOS-1D X Mark II/ EF500mm f/4L IS II USM/ FL: 500 มม./ Manual exposure (f/11, 1/320 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

เหตุผลที่ OVF มอบประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในการถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวเพราะผลของความสามารถในการใช้ Phase detection AF เนื่องจาก Phase detection AF ตามระนาบภาพสามารถจับโฟกัสด้วยความเร็วสูงเป็นพิเศษ จึงเป็นโหมด AF ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ คนส่วนใหญ่เชื่อมโยงการถ่ายตัวแบบที่เคลื่อนไหวเข้ากับการใช้ช่องมองภาพแบบออพติคอลโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี เมื่อเปิดตัว Dual Pixel CMOS AF ที่นำ Phase detection AF ตามระนาบภาพมาใช้ ขณะนี้เราจึงสามารถถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวด้วยการใช้ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EOS M5 สามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วต่อเนื่องที่ 7 fps และสามารถใช้ DIGIC 7 ซึ่งเป็นระบบประมวลผลภาพใหม่ล่าสุด จึงทำให้บันทึกภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวด้วยความแม่นยำสูงได้

สำหรับการเปิดตัว Phase Detection AF หรือที่เรียกว่า AF ตรวจจับแบบ Phase-Difference โปรดดูที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #11: Phase Detection AF

 

แนวคิดที่ 2: ตรวจสอบเอฟเฟ็กต์ด้วย EVF ก่อนการถ่ายภาพ

(ซ้าย)
WB: อัตโนมัติ
การชดเชยแสง: EV±0
แสงย้อนที่ส่องเข้ามาทางหน้าต่างทำให้โคมไฟในภาพดูมืด นี่เป็นสถานการณ์ที่คุณอาจใช้การชดเชยแสงเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ที่สว่างขึ้นได้

(ขวา)
WB: แสงแดด
การชดเชยแสง: EV+1.0
ตั้งค่าการชดเชยแสงเป็น EV+1.0 และ WB เป็นแสงแดด ในตัวอย่างนี้ EVF ช่วยให้ทราบได้ว่าภาพถ่ายดูสว่างเกินไป ก่อนที่จะลงมือถ่ายภาพ

ทั้งสองภาพ: EOS M/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/320 วินาที)/ ISO 100

 

ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์คือ ในระหว่างถ่ายภาพ ช่องมองภาพนี้ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบเอฟเฟ็กต์จากการเปลี่ยนการตั้งค่าก่อนลงมือถ่ายภาพจริงได้ ดังนั้น EVF จึงมีความได้เปรียบมากกว่า OVF ซึ่งทำให้คุณต้องตรวจสอบภาพถ่ายหลังจากถ่ายภาพซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา