ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part4

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #4: การชดเชยแสง

2017-01-26
10
22.74 k
ในบทความนี้:

การชดเชยแสงเป็นฟังก์ชันที่คุณสามารถใช้เพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าการเปิดรับแสงของกล้อง (ระดับแสงที่เหมาะสมซึ่งกำหนดโดยกล้อง) ให้เป็นค่าที่คุณต้องการได้ ต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักกับฟังก์ชันนี้กันให้มากขึ้น พร้อมกับเรียนรู้วิธีที่จะทราบว่าตัวแบบต่างๆ ควรมีการชดเชยแสงเป็นบวกหรือเป็นลบ (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

การชดเชยแสงเป็นฟังก์ชันที่คุณสามารถใช้เพื่อเปลี่ยนค่าความสว่างของภาพ ("ระดับแสงที่เหมาะสม") ที่เกิดจากการตั้งค่าของกล้อง

สิ่งที่พึงจดจำ

- การเปิดรับแสงขึ้นอยู่กับการสะท้อนแสงของตัวแบบ
- ใช้การชดเชยแสงเป็นบวกเมื่อตัวแบบสะท้อนแสงได้ดีมากๆ และใช้การชดเชยแสงเป็นลบเมื่อตัวแบบสะท้อนแสงได้ไม่ดี
 

การชดเชยแสงเป็นฟังก์ชันที่ให้คุณสามารถเปลี่ยนค่าความสว่างที่เกิดจากระดับแสงที่เหมาะสมที่กำหนด โดยกล้องได้ (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โปรดดูที่ พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #3: การเปิดรับแสง) เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ก่อนอื่นเราลองมาดูกันว่ากล้องสามารถวัดค่าการเปิดรับแสงได้อย่างไร

กล้องมีตัววัดปริมาณแสงในตัวซึ่งทำหน้าที่กำหนดระดับแสงที่ "เหมาะสม" โดยกำหนดตามปริมาณของแสงสว่างที่สะท้อนจากตัวแบบ (เช่น การสะท้อนแสงของตัวแบบ) ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า "การวัดแสง" การวัดแสงนี้สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน แต่โหมดวัดแสงที่นิยมใช้กันมากที่สุดเรียกว่า "การวัดแสงแบบประเมินทั้งภาพ" ในโหมดนี้ ระบบวัดแสงจะแบ่งพื้นที่ในภาพทั้งหมดออกเป็นโซนต่างๆ และวัดค่าความสว่างในแต่ละโซนเพื่อหาค่าเฉลี่ย การวัดแสงแบบประเมินทั้งภาพนี้มีประสิทธิภาพในการหาระดับแสงที่เหมาะสมที่กำหนดโดยกล้องในฉาก แทบทุกประเภท

อย่างไรก็ดี ระดับแสงที่เหมาะสมที่กำหนดโดยกล้องไม่ทำให้เราได้ค่าความสว่างที่เหมาะสมสำหรับฉากนั้นๆ เสมอไป หากตัวแบบมีสีดำ (หรือใกล้เคียงกับสีดำ) กล้องส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเปิดรับแสงมากเกินไป จึงทำให้ภาพออกมาสว่างจ้า ในทางกลับกัน หากตัวแบบมีสีขาว (หรือใกล้เคียงกับสีขาว) กล้องส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเปิดรับแสงน้อยเกินไป และส่งผลให้ภาพที่ออกมาดูมืด นั่นเป็นเพราะว่าสีขาวสามารถสะท้อนแสงได้สูง (สะท้อนแสงมาก) ขณะที่สีดำสะท้อนแสงได้ต่ำ (สะท้อนแสงน้อย)

ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับค่าความสว่างด้วยตนเองเพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยปกติ การชดเชยแสงจะถูกตั้งค่าไว้ที่ตำแหน่ง “0” แต่คุณสามารถปรับค่าโดยใช้วงแหวนหรือปุ่มชดเชยแสงได้ โดยเราจะชดเชยแสงไปที่ช่วงค่า “+” สำหรับตัวแบบที่สะท้อนแสงสูง และชดเชยแสงไปที่ช่วงค่า “-” สำหรับตัวแบบที่สะท้อนแสงต่ำ ถึงอย่างนั้น การชดเชยแสงไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ดังนั้น คุณจึงสามารถใช้ฟังก์ชันนี้เพื่อปรับความสว่างในภาพให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายเชิงสร้างสรรค์หรือตามความชอบของคุณได้เช่นกัน

 

ฉากที่ต้องใช้การชดเชยแสง

การชดเชยแสงเป็นบวก (+)
ตัวแบบที่ถ่ายในสภาวะย้อนแสง ตัวแบบที่สะท้อนแสงสูง (สีขาวหรือสีที่ใกล้เคียงสีขาว) และเลนส์ที่มีความสว่างจะส่งผลทำให้ภาพถ่ายที่ได้ดูมืดกว่าฉากที่ปรากฎจริงเมื่อเรามองด้วยตาเปล่า ในกรณีนี้ ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นบวก

 

การชดเชยแสงเป็นลบ (-)
ตัวแบบที่สะท้อนแสงต่ำ (สีดำหรือสีที่ใกล้เคียงสีดำ) และฉากที่มืดจะทำให้ภาพดูสว่างกว่าฉากที่ปรากฎจริงเมื่อเรามองด้วยตาเปล่า ซึ่งจะทำให้รายละเอียดของสีดูสว่างจ้าเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ถ่ายฉากที่มีสภาพแวดล้อมมืดสลัว เช่น ยามพระอาทิตย์ตกดิน การใช้การชดเชยแสงเป็นลบจะช่วยให้คุณคืนสีสันในภาพถ่ายให้เหมือนเดิมได้

 

โดยปกติค่าการเปิดรับแสงจะระบุเป็นหน่วย EV
ช่วงการชดเชยแสงในกล้องแต่ละรุ่นจะแตกต่างกัน แต่โดยปกติแล้วจะมีค่าอยู่ระหว่าง EV-5.0 ถึง EV+5.0 การตั้งค่าการชดเชยแสงไปที่ 1 EV ในทิศทางบวก (EV+1.0) จะเพิ่มความสว่างถึงสองเท่าของปริมาณจริง ขณะที่การตั้งค่าไปที่ 1 EV ในทิศทางลบ (EV-1.0) จะทำให้ความสว่างลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณจริง โดย 1 EV จะเทียบเท่ากับ 1 f-stop

 

 

แนวคิดที่ 1: “+” สำหรับสีขาว, “-” สำหรับสีดำ

สีขาวหรือตัวแบบที่มีสีขาว เช่น หาดทรายสีอ่อนหรือฉากที่เต็มไปด้วยหิมะจะมีการสะท้อนแสงสูง นั่นหมายความว่าฉากเหล่านั้นจะดูมืดหากคุณถ่ายภาพในโหมดปรับระดับแสงอัตโนมัติ ดังนั้น สำหรับตัวแบบดังกล่าว ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นบวก (+) หากส่วนที่มีสีขาวนั้นครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพ คุณอาจจำเป็นต้องตั้งค่าการชดเชยแสงเป็นบวกมากๆ

การชดเชยแสง: EV±0

การชดเชยแสง: EV+1.0

ซ้าย: EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual
ขวา: EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/100 วินาที, EV+1.0)/ ISO 100/ WB: Manual

ในทางตรงกันข้าม ตัวแบบที่เป็นสีดำหรือใกล้เคียงกับสีดำ เช่น ภาพทิวทัศน์กลางคืนซึ่งมีส่วนที่มีเงาหลายจุดมักถ่ายออกมาดูสว่างและมีแสงจ้ามากกว่าฉากจริงที่เราเห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้น หากคุณต้องการให้ฉากดูเคร่งขรึมมากขึ้น ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นลบ (-) อย่างเพียงพอ เพื่อให้ส่วนที่สว่างที่สุดของภาพดูมืดลงเล็กน้อย การชดเชยแสงเป็นลบยังเหมาะกับการทำให้สีสันในภาพดูเข้มขึ้น จึงควรทดลองใช้เมื่อถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินในครั้งต่อไป

 

การชดเชยแสง: EV±0

การชดเชยแสง: EV-1.0

ซ้าย: EOS M/ EF-M22mm f/2 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่าฟอร์ตแมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/50 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ขวา: EOS M/ EF-M22mm f/2 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่าฟอร์ตแมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/100 วินาที, EV-1.0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

 

แนวคิดที่ 2: ระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติ

สำหรับฉากที่ยากต่อการกำหนดค่าการเปิดรับแสง ให้ใช้ฟังก์ชันระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติ (AEB) ฟังก์ชันนี้จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายฉากเดียวกันได้ถึง 3 ภาพ (หรือมากกว่านั้น) โดยใช้การเปิดรับแสงที่แตกต่างกันในแต่ละภาพ ซึ่งขนาดความแตกต่างในการเปิดรับแสงระหว่างภาพแต่ละภาพนั้นจะขึ้นอยู่กับกล้องที่ใช้ แต่คุณสามารถถ่ายภาพที่มีความแตกต่างกันได้น้อยมากถึง 1/3 ของ f-stop และเมื่อคุณถ่ายภาพเสร็จแล้ว คุณสามารถเลือกภาพที่คุณคิดว่ามีการเปิดรับแสงที่สมบูรณ์แบบได้

การตั้งค่านี้ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ 2 ภาพ ที่ต่างกันระยะละละ EV±2.0

 

การชดเชยแสง: EV+1.0
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Program AE (f/8, 1/320 วินาที, EV+1.0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 

การชดเชยแสง: EV±0
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Program AE (f/8, 1/640 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 

การชดเชยแสง: EV-1.0
EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 200 มม./ Program AE (f/8, 1/1250 วินาที, EV-1.0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ฉันถ่ายฉากที่มีแสงย้อนโดยใช้ AEB ที่ต่างกันระยะละ EV±1.0 ค่าการเปิดรับแสงที่ดีที่สุดสำหรับภาพนี้คือ EV+1.0 การตั้งค่า AEB ที่ต่างกันระยะละ 1/3 หรือ 1/2 สต็อปจะช่วยให้ฉันสามารถถ่ายภาพที่มีการเปิดรับแสงที่แตกต่างกันเล็กน้อย และสามารถเลือกภาพที่เหมาะที่สุดในภายหลังได้

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา