ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #14: ฉันจะถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้อย่างไร

2016-07-14
2
4.46 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพแบบแพนกล้องช่วยให้คุณถ่ายภาพตัวแบบได้อย่างแม่นยำพร้อมกับสร้างแบ็คกราวด์ที่มีความต่อเนื่อง แต่คุณจะมีวิธีถ่ายภาพให้ดูเหมือนจริงและมีชีวิตได้อย่างไร ในบทความนี้ ผมจะแนะนำวิธีการจัดเตรียมและการขยับกล้องเพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ยอดเยี่ยม (เรื่องโดย:  Yuya Yamasaki)

 

ขยับกล้องไปตามตัวแบบ

เทคนิคที่อยู่เบื้องหลังการถ่ายภาพแบบแพนกล้องนั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจ หลักการและผลการทำงานของความเร็วชัตเตอร์ เมื่อคุณถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ หลักการง่ายๆ โดยทั่วไปคือ ใช้ชัตเตอร์ความเร็วสูงเพื่อไม่ให้ตัวแบบดูเบลอ อย่างไรก็ดี ตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่ในภาพนั้นๆ จะดูเหมือนกับหยุดนิ่ง และผู้ชมมักไม่รู้สึกถึงความเร็วของตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว

ในทางตรงกันข้าม การถ่ายภาพแบบแพนกล้องโดยทั่วไปจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำไปพร้อมกับการขยับกล้องไปตามตัวแบบ ซึ่งหากจังหวะเวลามีความเหมาะสม เซนเซอร์ภาพจะสามารถจับภาพตัวแบบที่หยุดนิ่งและไม่เบลอได้ ในขณะที่แบ็คกราวด์จะมีภาพเบลอของการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น เนื่องจากคุณขยับกล้องไปพร้อมกับเปิดชัตเตอร์ไปด้วยนั่นเอง นี่จึงทำให้ภาพที่ได้ดูราวกับคุณกำลังติดตามตัวแบบด้วยตาของคุณเอง และดึงดูดให้คุณเกิดความรู้สึกร่วมในฉากนั้นๆ

การถ่ายภาพแบบแพนกล้องเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษแต่อย่างใด อีกทั้งคุณยังสามารถถ่ายภาพที่สร้างความรู้สึกถึงความเร็วของตัวแบบได้ค่อนข้างง่าย นอกจากเทคนิคดังกล่าวจะใช้สำหรับถ่ายภาพรถไฟและกีฬาแข่งรถแล้ว ยังใช้ได้กับตัวแบบที่หลากหลาย อาทิเช่น เด็กๆ และสัตว์เลี้ยงที่กำลังวิ่งเล่นไปมา ดังนั้น คุณจึงควรลองนำไปใช้งานกันนะครับ

 

ความเร็วชัตเตอร์: 1/8 วินาที

EOS-1D X/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL:  35 มม./ Manual Exposure (f/22, 1/8 วินาที)/ ISO 50/ WB: แสงแดด
นอกเหนือจากความรู้สึกของการวิ่งไปด้วยความเร็วสูงแล้ว รั้วและราวกั้นที่อยู่ด้านหน้ารถไฟยังถูกทำให้เบลออีกด้วย ซึ่งจากภาพถ่ายที่ได้คุณอาจไม่คิดว่าจะมีวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นปรากฏใกล้ๆ กับจุดที่ถ่ายภาพ

 

ความเร็วชัตเตอร์: 1/5,000 วินาที

EOS-1D X/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL:  65 มม./ Manual Exposure (f/4, 1/5,000 วินาที)/ ISO 800/ WB: แสงแดด
เมื่อคุณถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์สูง รถไฟที่กำลังเคลื่อนที่จะดูเหมือนจอดนิ่ง ภาพจึงไม่สื่อถึงพลังมากเท่าที่ควร และดึงดูดความสนใจของผู้ชมน้อยลง

 

จุดที่ 1:  วิธีจัดเตรียมและขยับกล้อง

ขยับกล้องตามแนวนอน

 

ขยับกล้องตามแนวตั้ง

 

ก่อนอื่น ปล่อยไหล่ตามสบายไม่เกร็ง จากนั้นให้ส่วนเอวเคลื่อนที่ไป (ให้ส่วนมือนิ่ง) ขณะถือกล้อง ยืนหันหน้าไปทางตำแหน่งที่คุณจะถ่ายภาพ แยกเท้าออกประมาณหนึ่งช่วงไหล่ จากนั้นให้ส่วนเอวหมุนไปตามทิศทางที่รถไฟจะวิ่งเข้ามา โดยทั่วไป คุณควรจับเวลาการเคลื่อนไหวของส่วนเอวไปจนถึงการเคลื่อนไหวของรถไฟ โดยห้ามขยับข้อศอกหรือมือ

ในการเคลื่อนที่ขนานไปกับเส้นการเคลื่อนไหวของรถไฟนั้น ให้ถือกล้องโดยให้ข้อศอกทั้งสองข้างหันไปในทิศทางที่ขบวนรถไฟจะแล่นเข้ามา จนกระทั่งรถไฟวิ่งเข้ามาใกล้จึงค่อยๆ เก็บข้อศอกพร้อมกับหมุนช่วงเอวไปด้วย และเพื่อให้ทันกับการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของขบวนรถไฟ ผมขอแนะนำให้คุณหมุนทั้งส่วนเอวและข้อศอก พร้อมทั้งสะบัดเข่าและข้อมือไปในทิศทางเดียวกันด้วย

 

จุดที่ 2: หันหน้าไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการจะถ่ายภาพ จากนั้นแยกเท้าออกประมาณหนึ่งช่วงไหล่

หันหน้าไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการจะถ่ายภาพ จากนั้นแยกเท้าออกประมาณหนึ่งช่วงไหล่ สำหรับขบวนรถไฟ ปริมาณการเคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นขณะที่รถไฟแล่นผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะวิ่งเข้ามาในแนวนอนหรือมุมเฉียง ดังนั้น คุณจำเป็นต้องจำไว้ว่าคุณจะต้องค่อยๆ ขยับกล้องให้เร็วขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือเล็งจุดที่คุณต้องการโฟกัสไว้

 

จุดที่ 3:  ระดับความยากจะเปลี่ยนแปลงไปตามความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์และทางยาวโฟกัส

ที่ความเร็วชัตเตอร์ที่เท่ากัน คุณต้องขยับเลนส์เทเลโฟโต้มากขึ้นภายในช่วงระยะเวลาเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เลนส์มุมกว้าง ปกติแล้วยิ่งคุณถ่ายภาพระยะไกลมากขึ้นเท่าใด ระดับความยากในการถ่ายภาพจะสูงมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อผสานกับข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นจากความเร็วชัตเตอร์ด้วยแล้ว การถ่ายภาพแบบแพนกล้องด้วยเลนส์เทเลโฟโต้และความเร็วชัตเตอร์ต่ำยิ่งทำให้การถ่ายภาพแบบแพนกล้องมีความท้าทายมากที่สุดอีกด้วย

 

คำแนะนำ: ส่วนแบ็คกราวด์จะมีความเบลอแตกต่างกันไปตามความเร็วชัตเตอร์

เมื่อถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง แม้ว่าการขยับกล้องจะไม่ตรงตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบเล็กน้อย แต่ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นเล็กน้อยมากจนสังเกตไม่เห็น ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าการขยับกล้องทำได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และทำให้การถ่ายภาพแบบแพนกล้องประสบความสำเร็จอย่างง่ายดาย อย่างไรก็ดี เนื่องจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงจะไม่ทำให้แบ็คกราวด์เบลอมากนัก ดังนั้น การเน้นความรู้สึกถึงความเร็วจึงเป็นเรื่องยาก

ในทางกลับกัน เมื่อคุณถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ วิธีนี้จะทำให้แบ็คกราวด์เบลอมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความรู้สึกถึงความเร็วในภาพได้อย่างมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากชัตเตอร์จะถูกเปิดค้างไว้นานขึ้นกว่าเดิม คุณจึงจำเป็นต้องคงการเคลื่อนที่ให้ตรงกับตัวแบบตลอดเวลา ดังนั้น ระดับความยากในการถ่ายภาพก็จะเพิ่มขึ้น

ผมจึงแนะนำให้ถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์สูงไว้ก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ลดความเร็วชัตเตอร์ลงเมื่อคุณคุ้นเคยกับการติดตามตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่แล้ว

1/250 วินาที
EOS 7D/ FL:  70 มม./ Manual Exposure (f/5, 1/250 วินาที)/ ISO 200

 

1/60 วินาที
EOS 7D/ FL:  70 มม./ Manual Exposure (f/7.1, 1/60 วินาที)/ ISO 200

 

1/15 วินาที
EOS 7D/ FL: 70 มม./ Manual Exposure (f/13, 1/15 วินาที)/ ISO 100

 

 

Yuya Yamasaki

เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ "Railman Photo Office" ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา