ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #8: จัดองค์ประกอบภาพอย่างไรเพื่อใช้ประโยชน์จากอัตราส่วนภาพอย่างเต็มที่

2016-05-12
4
7.21 k
ในบทความนี้:

เมื่อต้องการจะถ่ายภาพตัวแบบ มีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น แสงและองค์ประกอบภาพที่คุณต้องคำนึงถึง ซึ่งอัตราส่วนภาพ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณอาจต้องการเปลี่ยน ในบทความนี้ ผมจะอธิบายคุณสมบัติเฉพาะต่างๆ ของอัตราส่วนภาพแต่ละแบบให้ฟัง (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

 

จัดวางตัวแบบของคุณให้พอดีกับหน้าจออย่างมีทักษะโดยการเปลี่ยนระยะมุมมองที่ขยายออกไปในแต่ละทิศทาง

อัตราส่วนภาพคือคุณสมบัติที่ทำให้คุณสามารถกำหนดมิติของพื้นที่ที่ถูกถ่ายในภาพได้ ด้วยคุณสมบัตินี้ คุณสามารถเลือกได้ว่าต้องการแสดงฉากในภาพมากน้อยแค่ไหน ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง สำหรับภาพพาโนรามา อัตราส่วน 16:9 ถือว่าเหมาะสมที่สุดเนื่องจากอัตราส่วนนี้จะตัดส่วนบนและล่างของภาพออกไป ทำให้ดูเหมือนเลนส์นั้นมีมุมกว้าง การเลือกใช้อัตราส่วน 1:1 ที่รู้จักกันในนามอัตราส่วนภาพแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะทำให้โฟกัสของภาพอยู่ตรงกึ่งกลางหน้าจอ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเมื่อคุณต้องการให้ตัวแบบในภาพดูโดดเด่น

แทนที่จะถ่ายภาพโดยตั้งใจว่าจะครอปภาพให้ได้อัตราส่วนตามต้องการทีหลัง จะเป็นการดีกว่าหากคุณกำหนดแนวทางการจัดวางองค์ประกอบภาพตามอัตราส่วนที่ต้องการไว้ก่อนตั้งแต่แรก เคล็ดลับของการจัดสัดส่วนของอัตราส่วนภาพแต่ละแบบให้ได้ผลดีคือการเปลี่ยนระยะมุมมองทั้งในแนวตั้งและแนวนอนให้มีความเหมาะสมกับวัตถุในจอภาพ

 

อัตราส่วนภาพหลักๆ ที่มีใช้ในกล้องดิจิตอล

มีในกล้อง DSLR หลายตัว
อัตราส่วนภาพแบบนี้มีใช้ในกล้อง DSLR หลายตัว มีต้นกำเนิดมาจากอัตราส่วนสำหรับฟิล์ม 35 มม. และทำให้ง่ายสำหรับการถ่ายภาพที่มีเอกลักษณ์ไม่ว่าคุณจะถ่ายในโหมดทิวทัศน์หรือภาพบุคคล

 

ถ่ายภาพบรรยากาศอันเงียบสงบ
การใช้อัตราส่วนภาพที่ใกล้เคียงกับ (แต่ไม่ใช่) อัตราส่วนสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะทำให้คุณสามารถถ่ายภาพที่แสดงบรรยากาศเงียบสงบได้ และยังเหมาะสำหรับสถานการณ์ที่คุณต้องการให้ภาพแสดงความรู้สึกแบบเรโทร เนื่องจากเป็นอัตราส่วนภาพแบบเดียวกับโทรทัศน์เก่าที่มี CRT (หลอดรังสีแคโทด)

 

ง่ายต่อการเน้นวัตถุหลัก
เนื่องจากสัดส่วนในแนวตั้งและแนวนอนนั้นเท่ากัน มุมมองจึงเหมือนกันในทุกทิศทาง ผลที่ได้ในภาพรวมนั้นขึ้นอยู่กับว่าตัวแบบถูกจัดวางไว้อย่างไร

 

ดึงความสนใจมาที่ระยะมุมมองในแนวนอน
นี่เป็นอัตราส่วนภาพแบบเดียวกับโทรทัศน์ที่มีความละเอียดสูง ซึ่งจะทำให้คุณมีหน้าจอที่ยาวมากๆ (สูง) เพื่อที่คุณจะได้ถ่ายภาพพาโนรามาได้

 

เลือกและจัดวางตัวแบบหลักและตัวแบบรองของคุณให้ดี จากนั้นเลือกอัตราส่วนภาพ 3:2 เพื่อดึงเอาความมีชีวิตชีวาของภาพออกมา

EOS 100D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL:20mm (ประมาณ 32 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ โหมด Shutter-priority AE (f/10, 4 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
เนื่องจากมุมมองนั้นยาวกว่าในแนวนอน จึงง่ายต่อการรวมองค์ประกอบหลายๆ อย่างเข้าด้วยกันในการถ่ายครั้งเดียว ในภาพนี้ ผมตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่นานในการถ่ายภาพเพื่อให้เกิดเส้นแสงของไฟรถท่ามกลางสถาปัตยกรรมอันงดงามของเมืองในยามค่ำคืน

 

ใช้อัตราส่วน 4:3 เพื่อสร้างความรู้สึกกว้างขวางได้อย่างเป็นธรรมชาติ

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL:  50mm/ โหมด Aperture-priority AE (f/2.8, 1/50 วินาที EV +0.7)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
อัตราส่วนนี้ทำให้เกิดมุมมองที่กว้างในแนวตั้งด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงดึงความรู้สึกกว้างขวางออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมทั้งให้มีตัวแบบหลักปรากฏอยู่ด้วย ลักษณะแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะของอัตราส่วนภาพแบบ 4:3

 

ใช้อัตราส่วน 1:1 เพื่อเน้นตัวบุคคลที่เป็นตัวแบบหลัก

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL:  50mm/ โหมด Aperture-priority AE (f/2.8, 1/160 วินาที EV+0.3)/ ISO 100/ WB: ที่ร่ม
ที่อัตราส่วน 1:1 จะมีเอฟเฟ็กต์ภาพที่เกิดจากอัตราส่วนน้อยกว่า ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการโฟกัสไปที่ตัวแบบในภาพของคุณ ในภาพนี้ ผมเลือกขั้นบันไดบนเนินที่ลาดลงเป็นพื้นหลังเพื่อจัดองค์ประกอบที่มีความสวยงาม

 

ถ่ายทอดความสูงของป่าไผ่ด้วยอัตราส่วน 16:9

EOS M10/ EF-M18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 18mm (เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 29 มม.)/ โหมด Program AE (f/3.5, 1/250 วินาที EV+0.7)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ที่อัตราส่วน 16:9 ระยะชัดลึกจะขยายออกไปเกินกว่ามุมของเลนส์ ทำให้ง่ายต่อการสร้างความลื่นไหลของภาพ ในภาพนี้ผมใช้อัตราส่วน 16:9 ในแนวตั้งโดยมีความสูงของต้นไผ่เป็นตัวแบบ

 

 

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา