คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #3: ฉันจะใช้ความไวแสง ISO แบบขยายบนกล้องอย่างไร
การตั้งค่าความไวแสง ISO ช่วยให้คุณเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ได้แม้ใช้งานในสภาพฉากที่มืด การตั้งค่าในส่วนนี้รวมไปถึงการใช้คุณสมบัติความไวแสง ISO แบบขยาย ซึ่งให้คุณสามารถขยายช่วงความเร็วที่มีอยู่ได้ มาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้คุณสมบัตินี้กัน (เรื่องโดย: Shirou Hagihara)
ทำความรู้จักกับประโยชน์และข้อเสียของการใช้ความไวแสง ISO แบบขยาย
กล้องดิจิตอลมีความไวแสง ISO ปกติ และความไวแสง ISO แบบขยาย ความไวแสง ISO ปกติจะช่วยให้คุณแน่ใจว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพในระดับหนึ่งและใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนความไวแสง ISO แบบขยายนั้นจะอยู่นอกช่วงความไวแสง ISO ปกติ และแม้ว่าจะมีข้อเสียอยู่บ้าง แต่คุณสามารถคาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการใช้งานความไวแสงประเภทนี้ได้เช่นเดียวกัน ผมได้สรุปถึงประโยชน์และข้อเสียไว้ในตารางด้านล่างนี้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการใช้งานความไวแสง ISO แบบขยายให้เกิดประสิทธิภาพ ค่าต่ำสุดของความไวแสง ISO แบบขยายโดยทั่วไปจะอยู่ที่ ISO 50 และมักใช้งานในกล้องระดับไฮเอนด์ของ Canon อย่างไรก็ดี ค่าขีดจำกัดสูงสุดของความเร็วแบบขยายในช่วงความไวแสงสูงนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกล้องที่ใช้
*ประโยชน์และข้อเสียของความไวแสง ISO แบบขยาย
ความไวแสง ISO ต่ำ
- สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ
- ช่วยให้แน่ใจว่ามีความเร็วชัตเตอร์เพียงพอ และไม่เร็วเกินไปในสภาวะที่มีแสงจ้ามาก
- เปิดรูรับแสงเพื่อลดผลกระทบจากการกระจายแสงได้
- ช่วงไดนามิกเรนจ์จะแคบลงเล็กน้อย ทำให้ภาพมีความไวต่อส่วนที่สว่างมากเกินไป
- เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากล้องสั่นเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ
ความไวแสง ISO สูง
- มีความไวต่อการสั่นไหวของกล้องลดลง
- สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงได้
- สามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเกรนแบบขาวดำ ฯลฯ
- สามารถถ่ายภาพแบบถือด้วยมือในตอนกลางคืนหรือในที่มืดได้
- สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ
- ต้องแน่ใจว่ามีความเร็วชัตเตอร์เพียงพอ และไม่เร็วเกินไปในสภาวะที่มีแสงจ้ามาก
- เปิดรูรับแสงเพื่อลดผลกระทบจากการกระจายแสง
ตารางด้านบนคือข้อมูลสรุปประโยชน์และข้อเสียของความไวแสง ISO ที่ต่ำและสูง ทั้งนี้ เนื่องจากการตั้งค่าความไวแสง ISO ต่ำหรือสูงนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นกับกล้องที่ใช้งาน ดังนั้นจึงควรตรวจสอบการตั้งค่าความไวแสงบนกล้องของคุณ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ความไวแสงแบบขยายมีให้ใช้งานในกล้องระดับไฮเอนด์เท่านั้น
*ตัวอย่างที่ถ่ายด้วยค่าความไวแสง ISO สูง
EOS 7D Mark II/ EF-S60mm f/2.8 Macro USM/ FL: 60 มม. (เทียบเท่ากับ 96 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) โหมดระบุค่ารูรับแสง (f/4.5, 1/4000 วินาที, EV -1)/ ISO 25600/ WB: อุณหภูมิสี (4400K)
แม้ในยามที่ถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็กโดยใช้การถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือ การตั้งค่าความไวแสง ISO ที่สูงจะช่วยให้คุณมีความเร็วชัตเตอร์ตามที่ต้องการเพื่อให้สามารถถ่ายภาพวัตถุที่แกว่งไปมาได้
*ตัวอย่างที่ถ่ายด้วยค่าความไวแสง ISO ต่ำ
ภาพโดย AKI GOTO, EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 121 มม./ Manual exposure (f/18, 60 วินาที)/ ISO 50/ WB: แสงแดด/ ฟิลเตอร์: ND400
การตั้งค่าความไวแสง ISO แบบขยายยังช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ในขณะที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีถ่ายภาพดังกล่าว
[ตอนที่ 2] การถ่ายภาพเมฆหมอกด้วยการเปิดรับแสง 60 วินาที
เกิดในปี 1959 ที่เมืองยามานาชิ หลังจากจบการศึกษาจาก Nihon University Hagihara มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นนิตยสารถ่ายภาพ "fukei shashin" ที่เขาทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ตีพิมพ์ ต่อมาเขาลาออกและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบัน Hagihara ทำงานอยู่ในวงการถ่ายภาพและเขียนผลงานที่เน้นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เขาเป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP)
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation