ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[ตอนที่ 2] การเปลี่ยนส่วนหลักของภาพถ่ายด้วยตัวแบบรอง

2015-05-28
0
1.56 k
ในบทความนี้:

ขณะสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย คุณจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งตัวแบบหลักและตัวแบบรองด้วย ภาพถ่ายสองภาพที่มีตัวแบบหลักเดียวกันแต่มีตัวแบบรองต่างกันจะถ่ายทอดอารมณ์ออกมาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เรามาดูกันว่าช่างภาพมืออาชีพเลือกตัวแบบรองในฉากแบบต่างๆ อย่างไร (เรื่องโดย: Masatsugu Koorikawa)

หน้า: 1 2

ถ่ายทอดความพลุกพล่านวุ่นวายของท่าเรือด้วยตัวแบบรอง

ตัวแบบหลักในภาพนี้คือสะพานแขวนที่ปรากฏอยู่ในแบ็คกราวด์ และในการเน้นให้โดดเด่น ผมเลือกท่าเทียบเรือที่ชุลมุนวุ่นวายซึ่งอยู่ติดกับท่าเรือในโฟร์กราวด์ให้เป็นตัวแบบรอง เป้าหมายสำหรับการเลือกตัวแบบรองเช่นนี้ก็เพื่อถ่ายทอดความวุ่นวายของท่าเรือออกมาได้เป็นอย่างดี

ผมถ่ายภาพนี้ในช่วงเวลาที่ท่าเทียบเรือไม่ได้รับแสงสว่างจากแสงอาทิตย์ เพื่อป้องกันไม่ให้ดูเด่นเกินไป

[ตัวอย่างที่ 1]

A: (ตัวแบบหลัก) สะพานแขวนขนาดใหญ่

B: (ตัวแบบรอง) ท่าเทียบเรือ

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 127 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/500 วินาที, EV-0.5)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ในการสร้างความเปรียบต่างระหว่างแสงสว่างและความมืดในฉากนี้ ผมตั้งใจเลือกช่วงเวลาที่ท่าเทียบเรือในโฟร์กราวด์อยู่ภายใต้ร่มเงา ซึ่งจะส่งผลให้ตัวแบบหลักหรือสะพานแขวนนี้ปรากฏเด่นชัดขึ้น

ถ่ายทอดความนุ่มนวลด้วยตัวแบบรองเบลอในโฟร์กราวด์

ในตัวอย่างที่ 2 ผมให้ต้นหญ้าที่อยู่ในโฟร์กราวด์เป็นตัวแบบรอง ภาพนี้ถ่ายจากระยะห่างที่ไกลกว่าตัวอย่างที่ 1 ซึ่งจะทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอในระยะโฟร์กราวด์ที่ต้นหญ้า จึงเป็นการเพิ่มความนุ่มนวลให้กับทั้งภาพ คุณจะเห็นภาพสะท้อนของสะพานแขวนบนพื้นผิวน้ำได้อย่างชัดเจน ซึ่งให้ความรู้สึกแตกต่างจากบรรยากาศความชุลมุนวุ่นวายในตัวอย่างที่ 1 อย่างมาก

[ตัวอย่างที่ 2]

A: (ตัวแบบหลัก) สะพานแขวนขนาดใหญ่

B: (ตัวแบบรอง) ต้นหญ้า

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 155 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/2,000 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ให้สีสันเป็นตัวแบบรอง

ศิลปะกราฟฟิตี้บนกำแพงตามแนวชายฝั่งดูโดดเด่นสะดุดตา ผมจึงถ่ายภาพกำแพงให้เป็นตัวแบบหลัก ท้องฟ้า ทะเล กราฟฟิตี้ รวมถึงเสื้อของคนที่เดินผ่านไปล้วนอยู่ในโทนสีน้ำเงิน การจับคู่สีของตัวแบบรองกับตัวแบบหลักจะช่วยเพิ่มผลกระทบต่อความรู้สึกของทั้งภาพได้ ความบังเอิญเช่นนี้จะเปลี่ยนหัวใจสำคัญของภาพไปได้อย่างมาก

[ตัวอย่างที่ 3]

A: (ตัวแบบหลัก) กำแพง

B: (ตัวแบบรอง) กราฟฟิตี้สีน้ำเงิน เสื้อสีน้ำเงินของคนที่กำลังเดินผ่านไป

EOS 5D Mark III/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 22 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/1,500 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

สีน้ำเงินในองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทะเล ท้องฟ้า กำแพง และคนเดิน ผสมผสานกันอย่างลงตัวเหมือนกับมีปฏิกิริยาเคมีบางอย่างเกิดขึ้น เอฟเฟ็กต์นี้ช่วยดึงความสนใจของผู้ชมให้มาบรรจบกันที่บริเวณศูนย์กลางของภาพ

ภาพที่ไม่มีตัวแบบรองสร้างความรู้สึกที่เปล่าเปลี่ยวเงียบเหงา

หากถ่ายภาพโดยใช้มุมรับภาพและค่ารูรับแสงเท่ากับในตัวอย่างที่ 3 แต่ไม่มีตัวแบบรอง จะได้ภาพทิวทัศน์ที่ดูเปล่าเปลี่ยวดังเช่นในตัวอย่างที่ 4 เมื่อไม่มีเอฟเฟ็กต์สีในตัวอย่างที่ 3 เรื่องราวของภาพก็จะขาดหายไป เหลือเพียงเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ แต่อารมณ์ความรู้สึกจะต่างจากตัวอย่างที่ 3 อย่างมาก อย่างไรก็ตาม หากคุณตั้งใจจะถ่ายทอดความรู้สึกที่ดูเหงาๆ ก็ไม่ควรสร้างเอฟเฟ็กต์สีสัน

[ตัวอย่างที่ 4]

A: (ตัวแบบหลัก) กำแพง

EOS 5D Mark III/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 22 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/1,000 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

Masatsugu Koorikawa

เกิดในเมืองนาระ นอกจากการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและสินค้าให้กับนิตยสารกล้องและเพลงแล้ว Masatsugu ยังมีผลงานที่ใช้ริมฝั่งบริเวณอ่าวโตเกียวเป็นธีมอีกด้วย

นิตยสาร Digital Camera

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา