ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #5: ภาพถ่ายแบบ RAW จะคงคุณภาพไว้เช่นเดิมหลังจากรีทัชหรือไม่

2016-03-31
2
6.66 k
ในบทความนี้:

การรีทัชภาพ หมายถึง การปรับแต่งรูปภาพภายหลังจากที่ถ่ายภาพเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อถ่ายภาพในรูปแบบ JPEG การรีทัชอาจทำให้คุณภาพของภาพลดต่ำลงได้ แต่หากเป็นภาพในรูปแบบ RAW จะทำให้เกิดผลลัพธ์แบบเดียวกันหรือไม่ ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ผมอธิบายไว้ในบทความนี้กัน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการปรับค่าความสว่าง

ภาพก่อนกระบวนการปรับแต่งภาพ RAW
 

ภาพหลังกระบวนการปรับแต่งภาพ RAW
 

กระบวนการปรับแต่งภาพ RAW ทำงานผ่านโปรแกรมซอฟต์แวร์ Digital Photo Professional ของ Canon โดยการตั้งค่าความสว่างที่ EV-0.17 และเปลี่ยนรูปแบบของภาพจาก อัตโนมัติ เป็น ภาพวิว อย่างไรก็ดี ควรใช้ความระวังเป็นพิเศษในการปรับค่าความสว่าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ภาพเกิดความเสียหาย

RAW คือรูปแบบภาพที่สะดวกต่อการนำไปผ่านกระบวนการปรับแต่งภาพเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้หลายส่วนหลังการถ่ายภาพ ในขณะที่ข้อมูลในรูปแบบ JPEG นั้นมีข้อจำกัดในเรื่องการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าอยู่มาก ดังนั้น หากคุณคำนึงถึงเรื่องความบกพร่องของภาพที่อาจเกิดขึ้น คุณไม่ควรนำข้อมูล JPEG มาผ่านกระบวนการปรับแต่งภาพ

อย่างไรก็ตาม การใช้กระบวนการปรับแต่งภาพ RAW มากจนเกินไปก็อาจทำให้คุณภาพของภาพด้อยลงได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราไม่ควรมองข้ามผลลัพธ์ที่เกิดจากการปรับค่าความสว่างด้วยการใช้การชดเชยแสงและ Tone Curve

โดยหลักแล้ว กล้อง DSLR ช่วยให้ปริมาณแสงเข้าสู่เซนเซอร์ภาพอย่างเหมาะสม เพื่อให้ภาพมีความสว่างและการไล่ระดับสีในระดับที่พอเหมาะตามที่ต้องการ ดังนั้น หากนำภาพที่มืดจนเกินไปไปผ่านการรีทัชตามที่ได้อธิบายข้างต้นแล้ว ข้อมูลของภาพอาจเสียหายได้ แม้ว่าจะคืนความสว่างให้กับภาพถ่ายได้ แต่ภาพที่ออกมาจะมีจุดสีไม่สวยเรียบเนียน นั่นเป็นเพราะข้อมูลภาพต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่มืดไม่ได้รับการบันทึกอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่นการบันทึกเสียง หากมีการบันทึกเสียงต้นฉบับในระดับเสียงที่เบาจนเกินไป แม้ว่าุคุณจะเพิ่มระดับเสียงที่ใช้ในการเล่นมากเท่าใด คุณภาพเสียงที่ได้ก็ยังไม่ดีนัก ซึ่งคล้ายกับปรากฏการณ์ของเสียงที่เราไม่สามารถได้ยินอย่างชัดเจนหากไม่ได้บันทึกเสียงที่ระดับความดันเสียงที่เหมาะสม เนื่องจากระหว่างการบันทึกเสียงจะมีเสียงรบกวนแทรกเข้ามาด้วย ภาพถ่ายดิจิตอลก็เช่นกัน สิ่งสำคัญคือต้องตั้งค่าการเปิดรับแสงให้เหมาะสมกับช่วงความสามารถในการเก็บรายละเอียดของแสง (ช่วงไดนามิกเรนจ์)

ความแตกต่างระหว่างรูปแบบ RAW และรูปแบบ JPEG

การถ่ายภาพโดยใช้รูปแบบ RAW และรูปแบบ JPEG มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รูปแบบ RAW เหมาะกับฉากที่ต้องใช้เวลาเตรียมการและการถ่ายภาพอย่างละเอียดถี่ถ้วน ในขณะที่รูปแบบ JPEG จะนิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง แต่แทนที่เราจะเลือกใช้ภาพรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทางที่ดีควรเลือกใช้ทั้งสองรูปแบบผสมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฉากและตัวแบบในการถ่ายภาพ
นอกจากนี้ อัลกอริธึมในการประมวลผลภาพของข้อมูลทั้งสองรูปแบบยังมีความแตกต่างกัน จึงควรระวังว่าภาพ JPEG ที่สร้างขึ้นจากรูปแบบ RAW นั้นจะไม่เหมือนกับภาพ JPEG ที่ถ่ายจากกล้องโดยตรงเสียทีเดียว

ประเภทของข้อมูล: RAW

ข้อดี
- ความจุข้อมูล เช่น สีและการไล่สีมีปริมาณมาก
- แม้แต่ไฟล์เก่ายังสามารถนำมาผ่านกระบวนการปรับแต่งภาพโดยใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุดได้
- ให้คุณได้ภาพที่ตกแต่งอย่างสวยงามตามต้องการ

ข้อเสีย
- จำเป็นต้องใช้กระบวนการปรับแต่งภาพ
- จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะในการปรับแต่งภาพ
- ไฟล์ที่บันทึกมีขนาดใหญ่
- จำนวนภาพที่ถ่ายได้สูงสุดลดลง

ประเภทของข้อมูล: JPEG

ข้อดี
- มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และสามารถเปิดดูได้จากทุกสภาพแวดล้อมการใช้งาน
- ไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการปรับแต่งภาพ 
- ไฟล์ที่บันทึกมีขนาดเล็ก
- สามารถถ่ายภาพได้จำนวนมาก

ข้อเสีย
- ความจุข้อมูลสีและการไล่สีมีปริมาณน้อย
- คุณภาพของภาพลดลงหลังจากผ่านกระบวนการปรับแต่งภาพ เช่น เมื่อนำภาพไปผ่านการรีทัช
- การอำพรางข้อผิดพลาดต่างๆ ในภาพถ่ายทำได้ยาก

 

 

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา