ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 14] รู้จักทิศทางของแสงในภาพถ่ายของคุณ

2015-04-02
6
33.53 k
ในบทความนี้:

ภาพถ่ายคืองานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างแสงและเงา ภาพต่างๆ ที่เราเห็นนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าแสงจะตกกระทบลงบนตัวแบบอย่างไร เรามาเริ่มด้วยหลักพื้นฐานเกี่ยวกับทิศทางแสงและผลที่เกิดขึ้นกับภาพถ่าย (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

หน้า: 1 2

 

ความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางแสงและเงาที่เกิดขึ้นบนตัวแบบ

ควบคุมแสงและเงาให้เข้ากับภาพที่คุณต้องการถ่าย

 

เงาที่ปรากฏบนตัวแบบเกี่ยวข้องโดยตรงกับทิศทางของแสงตกกระทบบนตัวแบบ หากแสงส่องที่ตัวแบบโดยตรงทางด้านหน้า จะไม่มีส่วนมืดปรากฏเพราะเงาจะทอดไปทางด้านหลังตัวแบบ อย่างไรก็ตาม หากแสงเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง เงาจะทอดไปในทิศทางที่ตรงข้ามกับแสง ทำให้เกิดเงาเข้มบนตัวแบบ เงาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความรู้สึกหนักแน่นให้กับตัวแบบ และเอฟเฟ็กต์ของแสงเงาก็ถูกนำมาใช้ในงานถ่ายภาพด้วยเช่นกัน ภาพดวงอาทิตย์ตกนับเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้เอฟเฟ็กต์นี้ บรรยากาศภาพอันทรงพลังเกิดขึ้นได้โดยการทอดเงาบนตัวแบบโดยใช้แสงที่ส่องเฉียงๆ จากมุมต่ำซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภาพดวงอาทิตย์ตก หากคุณเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของแสงและบรรยากาศภาพ ทักษะการถ่ายภาพของคุณจะพัฒนาขึ้นอย่างแน่นอน

แสงด้านหน้า
แสงด้านหลัง
 
 
แสงเฉียงหน้า
แสงเฉียงหลัง
 
 
แสงด้านข้าง
การชดเชยแสงด้านหลัง
 

คุณจะพบว่าเงาจะปรากฏที่ด้านตรงข้ามกับทิศทางแสง ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการถ่ายภาพจริง เพราะแสงทุกประเภทที่ใช้ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของช่างภาพ

ความแตกต่างระหว่างแสงด้านหน้าและแสงด้านหลังในภาพถ่ายพอร์ตเทรต

แสงด้านหน้า
แสงด้านหลัง
 
 

แม้จะถ่ายคนคนเดียวกัน บรรยากาศที่ได้ก็เปลี่ยนไปตามลักษณะของเงาที่เกิดขึ้น

 

ทิศทางแสงและปริมาณเงาที่เกิดขึ้นในภาพถ่ายพอร์ตเทรตจะเกิดเอฟเฟ็กต์ต่อตัวแบบอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากภาพตัวอย่างด้านบน แท้จริงแล้ว แทนที่จะตัดสินว่าจะต้องถ่ายภาพในแสงแบบไหน ช่างภาพควรเลือกสภาพแสงที่เข้ากันกับภาพที่มีอยู่ในใจ ภาพถ่ายจะคมชัดขึ้นหากคุณใช้แสงที่ใกล้เคียงกับแสงด้านหน้า หากคุณใช้แสงด้านหลัง เงาบนใบหน้าจะหายไปและบรรยากาศโดยรอบจะนุ่มนวลขึ้น แสงด้านหลังมักจะถูกใช้ในการถ่ายภาพคนเป็นเงาที่ชัดเจนเน้นมุมแกะสลักและคุณสมบัติ แต่แสงด้านหน้ามักจะใช้สำหรับการถ่ายภาพผู้หญิง

 

การถ่ายภาพในทิศทางแสงด้านหน้า

Aperture-Priority AE (1/640 วินาที, f/5.6, -0.7EV)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

ภาพถ่ายในทิศทางแสงด้านหน้าซึ่งดวงอาทิตย์อยู่หลังกล้องถ่ายภาพ วัตถุทั้งหมดจะถูกเก็บรายละเอียดไว้อย่างคมชัดและแม้แต่วัตถุในส่วนแบ็คกราวด์ก็ยังเห็นได้ชัดเจน แสงด้านหน้า เป็นสภาพแสงเบื้องต้นที่เหมาะกับการถ่ายภาพทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ หากเริ่มต้นฝึกฝนหลักพื้นฐานในการถ่ายภาพในแสงด้านหน้าก่อน แล้วค่อยขยับไปถ่ายภาพในลักษณะแสงด้านหลังหรือแสงเฉียง ก็จะทำให้สามารถเข้าใจเรื่องแสงและผลที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น ตัวแบบไม่เกิดเงา เนื่องจากดวงอาทิตย์ส่องไปยังตัวแบบในมุมเฉียงจากด้านบนทางด้านหน้า

การถ่ายภาพในสภาพแสงด้านหลัง

Aperture-Priority AE (1/320 วินาที, f/2.8, -0.7EV)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

สภาพแสงด้านหลังจะเกิดขึ้นเมื่อแสงส่องอยู่ในทิศทางตรงข้ามโดยเผชิญหน้ากับกล้อง ต่างจากแสงอื่นๆ แสงด้านหลังมีลักษณะเด่นในการเปลี่ยนตัวแบบให้มีลักษณะแบบซิลลูเอตต์ได้อย่างง่ายดาย แสงด้านหลังจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้ถ่ายภาพตัวแบบที่โปร่งแสงเพื่อให้ได้บรรยากาศภาพถ่ายที่น่าประทับใจและมีความเปรียบต่างสูงอย่างที่เห็นในภาพ แม้ว่าจะสามารถใช้ได้กับตัวแบบทุกประเภท แต่ก็มีความยากอยู่บ้างในการกำหนดปริมาณแสงที่ต้องใช้ ดังนั้น คุณสามารถลองใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับความสว่างของภาพถ่ายได้

การถ่ายภาพในแสงเฉียง

Aperture-Priority AE (1/320 วินาที, f/4.5, -0.3EV)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ภาพที่เห็นด้านบนคือตัวอย่างภาพที่ถ่ายด้วยแสงเฉียงซึ่งแสงส่องจากหน้าต่างบานเล็กๆ เนื่องจากแสงส่องเป็นมุม ขนม้าในภาพจึงดูนุ่มนวล กระทั่งผิวยังรู้สึกหนักแน่น แสงนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ให้บรรยากาศละเอียดอ่อน และมีความโดดเด่นในการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวแบบได้อย่างมากมาย แสงแบบนี้ยังมีประสิทธิภาพเมื่อใช้กับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและทิวทัศน์ ทำให้ได้อรรถรสและสัมผัสที่แตกต่างเมื่อเทียบกับภาพที่ถ่ายโดยใช้แสงด้านหน้า

Ryosuke Takahashi

 

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา