ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 12] อัตราส่วนภาพ

2014-12-18
5
20.76 k
ในบทความนี้:

กล้องบางรุ่นมีคุณสมบัติที่ให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนอัตราส่วนภาพ (อัตราส่วนระหว่างความกว้างและความสูง) ได้ขณะถ่ายภาพในโหมด Live View เมื่อเลือกอัตราส่วนภาพที่แตกต่างไปจากอัตราส่วนมาตรฐาน 3:2 จากตัวเลือก 4:3, 16:9 และ 1:1 แล้ว คุณจะสามารถเปลี่ยนภาพถ่ายของคุณให้สื่ออารมณ์ได้หลากหลายมากขึ้น (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

เลือกอัตราส่วนภาพตามเป้าหมายในการถ่ายภาพ

การสลับเลนส์เป็นการเปลี่ยนมุมรับภาพ ซึ่งจะทำให้ได้รับอารมณ์ภาพที่แตกต่างออกไป แต่อีกเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจที่คุณสามารถลองทำได้เพื่อเปลี่ยนความรู้สึกในภาพถ่ายของคุณอย่างสิ้นเชิง คือ การเปลี่ยนอัตราส่วนภาพ ขณะเดียวกัน เมื่อตั้งค่าคุณภาพการบันทึกภาพเป็น [RAW+JPEG] ภาพเดียวกันนี้จะถูกบันทึกเป็นภาพ JPEG ในอัตราส่วนที่เลือกไว้ในขณะนั้น และภาพ RAW จะเป็นรูปแบบ 3:2 หากต้องการเปลี่ยนอัตราส่วนภาพหลังการถ่ายภาพ ให้ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ Digital Photo Professional (DPP) ที่มาพร้อมกับกล้อง Canon EOS

กดปุ่ม MENU ที่บอดี้กล้องด้านหลังเพื่อเข้าสู่รายการ “อัตราส่วนภาพ” ในเมนู Live View ระหว่างการถ่ายภาพ Live View ภาพจะแสดงบนจอ LCD ในอัตราส่วนภาพที่เลือก

ชนิดของอัตราส่วนภาพ

3:2 - อัตราส่วนเท่ากับเซนเซอร์ CMOS

อัตราส่วนภาพ 3:2 เป็นอัตราส่วนมาตราฐานสำหรับกล้อง Canon ซีรีย์ EOS ที่ช่วยให้สร้างสรรค์งานภาพถ่ายได้ง่ายไม่ว่าในรูปแบบแนวตั้งหรือแนวนอน และนี่เป็นอัตราส่วนเดียวกับขนาดของเซนเซอร์ CMOS อีกด้วย คุณจึงสามารถใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ครอบคลุมด้วยเซนเซอร์ CMOS ในการถ่ายภาพด้วยอัตราส่วนนี้ได้

4:3 - ทำให้การจัดองค์ประกอบภาพสำหรับการพิมพ์ภาพถ่ายง่ายขึ้น

รูปแบบอัตราส่วนภาพนี้มีด้านยาวสั้นกว่าเมื่อเทียบกับอัตราส่วนภาพแบบ 3:2 ขนาดของอัตราส่วนภาพที่แคบลงนี้จะสร้างความรู้สึกที่เงียบสงบ เพราะภาพเผยส่วนด้านข้างเพียงแค่สั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากอัตราส่วนภาพ 4:3 ใกล้เคียงกับขนาดกระดาษ A4 และ B5 คุณจึงสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้ง่าย หากตั้งใจที่จะพิมพ์ภาพถ่าย

16:9 - เน้นอารมณ์ภาพด้วยมุมรับภาพที่มีลักษณะเหมือนฉากภาพยนตร์

รูปแบบนี้มีด้านยาวของภาพยาวที่สุดในสี่แบบ สร้างบรรยากาศเหมือนฉากภาพยนตร์ แม้ว่าภาพที่ถ่ายด้วยอัตราส่วนภาพแบบ 16:9 นี้ส่วนใหญ่จะจัดวางในแนวนอน แต่คุณก็สามารถจงใจจัดวางในแนวตั้งได้เพื่อเป็นการขับเน้นความสูงของตัวแบบ

1:1 - ขับเน้นความโดดเด่นให้ตัวแบบหลัก

อัตราส่วนภาพ 1:1 หรือที่เรียกกันว่ารูปแบบสี่เหลี่ยมจตุรัสเป็นอัตราส่วนภาพที่มีอยู่ในกล้องระดับกลาง ให้คุณจัดองค์ประกอบภาพที่ขับเน้นความรู้สึกชัดเจน และช่วยให้สามารถดึงความสนใจไปที่ตัวแบบหลักได้ง่ายขึ้น อัตราส่วนภาพ 1:1 ยังเป็นสัดส่วนที่ดีสำหรับการขับเน้นบรรยากาศย้อนยุคของภาพถ่าย และเข้ากันได้ดีกับเอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ ซึ่งผมจะอธิบายเพิ่มเติมในบทถัดไป

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา