ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพแม่น้ำและลำธารในม่านหมอก

2016-10-20
2
3.89 k
ในบทความนี้:

เราควรตั้งค่ากล้องแบบใดเพื่อถ่ายภาพม่านหมอกหนาทึบและกระแสน้ำของลำธารในฉากที่ชวนลึกลับเหมือนภาพฝัน ช่างภาพมืออาชีพจะมากล่าวถึงเทคนิคที่นิยมใช้กัน (เรื่องโดย Yoshio Shinkai)

EOS 5D Mark II/ EF24-70มม. f/2.8L USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 4 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
สำหรับฉากนี้ ผมต้องการสร้างบรรยากาศที่ชวนลึกลับของลำธารที่ปกคลุมไปด้วยหมอกน้ำค้าง ผมจึงใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในการสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอบนกระแสน้ำ ทำให้แลดูอ่อนละมุนเหมือนแพรไหม จากนั้น ผมได้เพิ่มเฉดสีน้ำเงินขึ้นอีกเล็กน้อยโดยการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น "แสงแดด"

 

ฉากและวิธีการที่ใช้

ขณะที่ผมถ่ายฉากนี้ ท้องฟ้ามีเมฆครึ้มและม่านหมอกแผ่ปกคลุมที่บริเวณต้นน้ำ หมอกล่องลอยไปในอากาศเหนือผืนน้ำและไม่ได้จับตัวกันเหนือระดับความสูงนั้น ผมจึงเลือกสถานที่ที่มีหมอกจางกว่าและตั้งขาตั้งกล้องจากบริเวณที่ผมสามารถมองเห็นกระแสน้ำของลำธารได้

 

จุดที่ 1: การตั้งค่ารูรับแสงที่สร้างความลึก – f/13

สำหรับฉากเช่นในภาพนี้ การสร้างความลึกให้กับภาพเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเราสามารถทำได้โดยการลดค่ารูรับแสงเพื่อเพิ่มระยะชัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยลดค่ารูรับแสงในเฟรมทั้งในส่วนต้นน้ำและปลายน้ำของลำธาร ดังนั้น ภาพกระแสน้ำที่ได้จึงดูเด่นชัดยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ผมลดขนาดรูรับแสงลงโดยลดความเร็วชัตเตอร์ จากนั้นตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/13 เพื่อขับเน้นมอสให้ดูโดดเด่นสะดุดตา

 

จุดที่ 2: ความเร็วชัตเตอร์ที่สื่อถึงพลัง – 4 วินาที

ผมคิดถึงวิธีที่จะถ่ายทอดการเคลื่อนไหวท่ามกลางความเงียบสงัด ดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์จะเป็นตัวกำหนดว่าภาพกระแสน้ำจะออกมาเป็นอย่างไร ขณะที่ผมถ่ายภาพในโหมด Aperture-priority AE ผมได้ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 4 วินาที แต่ผมสามารถสื่อถึงการเคลื่อนไหวของสายน้ำได้มากพอ

 

จุดที่ 3: ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดส่วนที่สว่าง – เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง

หมอกและกระแสน้ำที่ไหลอยู่นั้นเป็นรายละเอียดที่สำคัญของภาพที่ผมต้องการทำให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดส่วนที่สว่างเกินไป ผมใช้ฟังก์ชั่นเน้นโทนภาพบริเวณสว่างภายในกล้อง เพื่อสร้างภาพหมอกและสายน้ำที่ขาวใสบริสุทธิ์ แม้ว่าฟังก์ชั่นนี้จะเพิ่มความไวแสง ISO เป็น 200 แต่การไล่โทนสีในบริเวณรายละเอียดที่สำคัญยังคงทำได้อย่างราบรื่น

 

เคล็ดลับ: หมอกเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกัน

คุณได้เห็นวิธีการถ่ายฉากที่ปกคลุมด้วยม่่านหมอกซึ่งให้ความรู้สึกลึกลับกันไปแล้ว และเพื่อให้คุณเห็นภาพว่าจะสามารถพบหมอกได้ที่ใดบ้าง เรามาดูกันว่าหมอกเกิดขึ้นได้อย่างไร

หนึ่งในปัจจัยหลักคือความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิน้ำที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งนี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝนตก เมื่อความกดอากาศต่ำพาดผ่านกระแสน้ำและแหล่งน้ำอื่นๆ ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างสูง ในประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูหนาว หมอกน้ำค้างหรือหมอกเกิดขึ้นจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างบรรยากาศเย็นกับแหล่งน้ำที่ค่อนข้างอุ่นกว่า ส่วนในช่วงฤดูร้อน กระแสน้ำที่ไหลในทะเลสาบและลำธารจะเย็นกว่าอากาศโดยรอบ แต่เมื่อฝนตกลงมา อากาศนี้จะเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและเกิดหมอกขึ้น 

ผมถ่ายภาพนี้ในช่วงบ่ายหลังกลางเดือนกรกฎาคม ดังนั้น จึงอาจมีหมอกเกิดขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำในลำธารและอุณภูมิของบรรยากาศโดยรอบมีความแตกต่างกัน

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

 

Yoshio Shinkai

 

Shinkai เกิดในจังหวัดนากาโน่ เมื่อปี 1953 เขาเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับกล้องขนาดใหญ่เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในปี 1979 ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพให้กับสื่อหลากหลายประเภท ตั้งแต่โปสเตอร์และปฏิทินไปจนถึงแผ่นพับด้านการท่องเที่ยวและนิตยสารถ่ายภาพ

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา