ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง

2019-09-18
4
3.85 k
ในบทความนี้:

มีเหตุผลหลายข้อว่าทำไมช่างภาพจึงชื่นชอบการถ่ายภาพขณะพระอาทิตย์ขึ้นและตก หนึ่งในนั้นคือความงดงามของดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นหรือตก และแสงอันสวยงามที่คุณได้ก็เป็นเหตุผลอีกข้อ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการวางแผนและการตัดสินใจจากช่างภาพสองท่านที่ช่วยให้ภาพถ่ายมีความเปรียบน่าตื่นตาตื่นใจ (เรื่องโดย Kazuyuki Okajima, Takashi Karaki, Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

สะพานสูงชันขณะพระอาทิตย์ขึ้น เงาขณะพระอาทิตย์ตก

 

ฉาก 1: เงาบนทางเท้าในยามเย็น

เงาบนถนนในยามเย็น

EOS R/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 40 มม./ Program AE (f/7.1, 1/400 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: เมฆครึ้ม
ภาพและเรื่องโดย: Kazuyuki Okajima

เมื่อมองลงไปยังทางเท้า ผมรู้สึกหลงเสน่ห์ไปกับเงาสวยๆ ทอดยาวซึ่งเกิดจากผู้คนที่เดินผ่านไปมา แล้วผมก็ตัดสินใจถ่ายภาพ เมื่อมองผ่าน EVF ฉากนี้กลับดูไม่ค่อยมีชีวิตชีวาเท่าใดนัก ผมจึงปรับเปลี่ยนการตั้งค่าบางอย่างและรอจนกระทั่งองค์ประกอบในเฟรมเกิดเป็นภาพที่น่าประทับใจ

 

1. ถ่ายภาพในขณะที่ไม่มีเงามากจนเกินไป

หากส่วนประกอบต่างๆ ในองค์ประกอบภาพของคุณรวมกันแล้วไม่มีความพอดี ไม่ว่าคุณจะเพิ่มความเปรียบต่างในการตั้งค่า รูปแบบภาพ เพียงเท่าใด ก็ไม่สามารถทำให้ภาพดูดีได้ ในภาพนี้ ผมรอจนกระทั่งได้ทั้งสภาวะแสงและจังหวะเวลาที่ทำให้เงามีความโดดเด่นอย่างน่าประทับใจ ความเข้มของแสงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และความยาวของเงาก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของวัน สถานที่ที่คุณใช้ถ่ายภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน 

เงามากเกินไป: ภาพดูรกตา

เงาดูรกตา

สภาวะแสงน้อยและไม่สม่ำเสมอ: เงาดูไม่โดดเด่น

เงาดูไม่โดดเด่นและเบลอ

 

2. ใช้ EVF ช่วยในการปรับสีและความเปรียบต่าง

สำหรับภาพนี้ ผมพยายามเลือกใช้การตั้งค่าที่ช่วยให้ผมได้ภาพที่เหมือนกับสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งในภาพนี้นั้น:

- รูปแบบภาพ (เน้นรายละเอียด): ช่วยในการแสดงรูปร่างของเงาและรายละเอียดบนพื้นผิวของทางเท้าได้อย่างชัดเจน
- สมดุลแสงขาว (เมฆครึ้ม): ดึงเอาความอบอุ่นของแสงออกมาได้มากกว่าการตั้งค่า AWB (เน้นบรรยากาศ) และสมดุลแสงขาว (แสงแดด)


ภาพที่คุณเห็นใน EVF ซึ่งเหมือนกับสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าช่วยให้ปรับโทนสีภาพได้ง่ายขึ้น

รูปแบบภาพ (เน้นรายละเอียด)

รูปแบบภาพ (เน้นรายละเอียด)

สมดุลแสงขาว (เมฆครึ้ม)

สมดุลแสงขาว (เมฆครึ้ม)

เคล็ดลับ: เอฟเฟ็กต์ที่ได้จากพารามิเตอร์บางชนิดของรูปแบบภาพ (เช่น ‘ความเปรียบต่าง’) จะสามารถมองเห็นได้ใน EVF หรือ Live View แต่พารามิเตอร์อื่น เช่น ‘ความคมชัด’ จะมองเห็นได้ยากกว่า คุณจึงควรทำความคุ้นเคยว่าผลที่ได้จากพารามิเตอร์แต่ละแบบเป็นอย่างไร

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้:
เทคนิคในการใช้รูปแบบภาพเพื่อยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์

 

ฉาก 2: สะพานสูงชันตัดกับพระอาทิตย์เจิดจ้า

สะพานเอชิมะด้านหน้าพระอาทิตย์ขึ้น

EOS-1D X/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM + Extender EF2xIII/ FL: 800 มม./ Manual exposure (f/11, 1/320 วินาที, EV±0)/ WB: อัตโนมัติ
ภาพและเรื่องโดย: Takashi Karaki

นี่คือสะพานเอชิมะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “Betabumi-zaka” (ทางชันที่ต้องเหยียบคันเร่งจนมิด) หรือ “สะพานรถไฟเหาะ” เนื่องจากความลาดชันในระดับสูงสุด สะพานนี้มีชื่อเสียงมากหลังจากปรากฏในโฆษณารถยนต์ทางโทรทัศน์ เพื่อเน้นให้เห็นความชันอันเหลือเชื่อ ผมจึงตัดสินใจใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ การจะถ่ายภาพให้ออกมาดีนั้นจำเป็นต้องมีการวางแผนสักเล็กน้อย

 

1. ใช้แอพเพื่อช่วยในการเลือกสถานที่ถ่ายภาพที่ดีที่สุด จากนั้นจึงไปสำรวจสถานที่

สิ่งสำคัญข้อหนึ่งในการถ่ายภาพคือ ต้องรู้ว่าเมื่อใดพระอาทิตย์จะอยู่ในตำแหน่งเหนือสะพานเมื่อมองจากจุดถ่ายภาพที่ผมเลือก  


ผมใช้แอพ Sun Surveyor ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยบอกเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังบอกตำแหน่งของพระอาทิตย์ในสถานที่และเวลาต่างๆ ด้วย

การสำรวจสถานที่ก่อนทำการถ่ายภาพจริงเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะจะช่วยทำให้ผมมั่นใจว่าอยู่ในจุดที่ถูกต้องพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อจัดเฟรมภาพตามที่ผมต้องการได้ เดิมทีผมตั้งใจจะถ่ายภาพจากไหล่สะพาน แต่คิดได้ว่าฝั่งตรงข้ามเป็นตำแหน่งที่ดีกว่า 

 

2. คาดคะเนตำแหน่งของดวงอาทิตย์และถ่ายภาพในเวลาที่เหมาะสม

หากพูดถึงเรื่องความสวยงาม สิ่งที่สำคัญที่สุดของการถ่ายภาพนี้คือ ต้องแน่ใจว่าส่วนที่สูงที่สุดของสะพานอยู่ในแนวเดียวกันกับดวงอาทิตย์อย่างเหมาะเจาะ แม้ว่าแอพจะบอกคุณได้่ว่าดวงอาทิตย์จะอยู่ในตำแหน่งใด ณ เวลาที่คุณต้องการ แต่ความจริงแล้ว ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนตัวไปทางขวาเล็กน้อยในขณะที่กำลังขึ้น ระหว่างการถ่ายภาพ ผมจึงค่อยๆ ขยับไปทางขวาอย่างช้าๆ เพื่อรักษาเฟรมภาพเดิมไว้

เคล็ดลับ: จะเป็นการดีหากคุณมีขาตั้งกล้องที่ขยับหัวได้ เพราะจะช่วยให้คุณเปลี่ยนองค์ประกอบภาพเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนได้อย่างง่ายดาย

พระอาทิตย์อยู่หลังสะพาน

ผมถ่ายภาพนี้ทันทีหลังจากพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า และพระอาทิตย์ถูกตัวสะพานบังไว้

 

3. อุปกรณ์: EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM+ Extender EF2xIII

เนื่องจากผมต้องการให้ถ่ายภาพสะพานได้เต็มเฟรม ผมจึงใช้เลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM กับท่อต่อเลนส์ 2 เท่าเพื่อให้ถ่ายภาพได้ที่ระยะสูงสุด 800 มม. การทำเช่นนี้จะช่วยให้ได้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ภาพได้มากขึ้น

 

EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM+ Extender EF2xIII

ผมชอบเลนส์รุ่นนี้เพราะมีความละเอียดสูง แม้แต่ตัวแบบที่อยู่ไกล ก็ยังสามารถแสดงรายละเอียดได้ชัดเจนมาก

 

4. ระวังการเกิดแสงสว่างโพลน!

สำหรับภาพนี้ ผมระมัดระวังเรื่องระดับแสงเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดแสงสว่างโพลนบนดวงอาทิตย์ 

 

ข้อควรรู้: วิธีการอ่านฮิสโตแกรม

ในฉากที่มีความเปรียบต่างสูง เช่น เมื่อคุณถ่ายภาพเงาหรือดวงอาทิตย์ สิ่งสำคัญคือคุณต้องแน่ใจว่าจะไม่สูญเสียรายละเอียดมากเกินไปในพื้นที่มืดหรือสว่าง ฮิสโตแกรมของคุณจะแสดงการกระจายตัวของพิกเซลสีดำ โทนกลาง และสีขาวในภาพ และจะช่วยบอกได้ว่าคุณจำเป็นต้องปรับค่าการเปิดรับแสงหรือไม่ ต่อไปนี้คือเทคนิคการอ่านฮิสโตแกรม

เคล็ดลับ: หากคุณถ่ายภาพด้วย EVF หรือใน Live View คุณสามารถแสดงฮิสโตแกรมเป็นภาพซ้อนได้ขณะถ่ายภาพ  


แสงสว่างโพลน

ฮิสโตแกรมแสดงส่วนที่เป็นแสงสว่างโพลน

ส่วนที่สว่างหลายจุดทำให้ฮิสโตแกรมค่อนข้างเอียงไปทางขวา มีพิกเซลอยู่ทางด้านขวาสุด (สีขาวล้วน) ซึ่งบ่งบอกว่าอาจมีรายละเอียดที่หายไปในส่วนที่สว่าง


ระดับแสงที่เหมาะสม

ฮิสโตแกรมแสดงระดับแสงที่เหมาะสม

ในภาพนี้ พิกเซลส่วนใหญ่จะอยู่ตรงกลาง ส่วนสูงสุดที่อยู่ทางซ้ายมือสะท้อนส่วนที่เป็นเงาในใบไม้ แต่ไม่มีพิกเซลอยู่ในด้านขวาหรือซ้ายสุดเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีส่วนที่มืดเกินไปหรือส่วนสว่างโพลนภายในภาพ


ส่วนที่มืดเกินไป

ฮิสโตแกรมแสดงส่วนที่ดำมืดเกินไป

ภาพโดยรวมดูมืด ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมฮิสโตแกรมจึงเอียงไปทางซ้าย มีพิกเซลอยู่ทางด้านซ้ายสุด (สีดำล้วน) ซึ่งบ่งบอกว่าอาจมีรายละเอียดที่หายไปในส่วนที่เป็นเงา

 

ข้อควรรู้: เป็นเรื่องปกติสำหรับบางฉากที่จะมีสีดำหรือขาวมากเกินไป

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณถ่ายภาพหิมะหรือภาพพอร์ตเทรตที่แสดงอารมณ์ในสภาวะแสงน้อยหน้าแบ็คกราวด์สีดำ คุณจะได้เห็นระดับของสีขาวหรือดำที่สูงในฮิสโตแกรม แต่หากคุณไม่ต้องการให้ฉากดูสุดขั้วจนเกินไป คุณอาจต้องปรับระดับแสงตามความเหมาะสม

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพแสงและเงาได้ที่:
การถ่ายภาพอาหารในสไตล์ Chiaroscuro ให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพขณะพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ที่:
ภาพที่ชวนระลึกถึงบรรยากาศยามเย็น – ถ่ายทอดบรรยากาศยามเย็นด้วยแสงและเงา
ถ่ายภาพสีสันสดใสและร้อนแรงของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
วิธีการถ่ายภาพนี้: ช่วงเวลาทองบนท้องถนน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

Kazuyuki Okajima

Kazuyuki Okajima เกิดเมื่อปี 1967 ที่เมืองฟุกุโอกะ และจบการศึกษาจาก Tokyo School of Photography (ปัจจุบันชื่อ: Tokyo Visual Arts) หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยในสตูดิโอและผู้ช่วยช่างภาพ เขาก็ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ นอกจากจะทำงานเป็นช่างภาพโฆษณาและนิตยสารแล้ว เขายังเดินทางไปทั่วโลกเพื่อถ่ายภาพมากมายที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งราวกับบทกวี อีกทั้งยังตีพิมพ์สิ่งพิมพ์มากมาย รวมถึงคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า Dingle และจัดนิทรรศการแสดงผลงานมาแล้วหลายครั้ง รวมถึง “The Light and Wind of Dingle,” “Shio-sai” (Tidal Tints) และ “Let’s Go to School”

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา