ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคในการใช้รูปแบบภาพเพื่อยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์

2017-12-28
2
6.7 k
ในบทความนี้:

หากคุณต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ในธรรมชาติ ลองใช้ประโยชน์จากฟังก์ชั่นรูปแบบภาพดีไหม ในบทความนี้เราจะมาดูการปรับแต่งภาพแบบต่างๆ ในโหมดรูปแบบภาพ "ภาพวิว" และ "เน้นรายละเอียด" เพื่อถ่ายฉากต่างๆ ได้อย่างพิถีพิถันยิ่งขึ้นโดยใช้ภาพตัวอย่างจาก EOS 6D Mark II (เรื่องโดย Jiro Tateno)

ภาพน้ำตกที่ใช้รูปแบบภาพ-ภาพวิวและฟิลเตอร์ PL

 

เทคนิคข้อที่ 1: ผสมผสานรูปแบบภาพกับฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อลดแสงสะท้อนสีขาวและปรับแต่งโทนสี

ภาพน้ำตกที่ใช้รูปแบบภาพ-ภาพวิวและฟิลเตอร์ PL

EOS 6D Mark II/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 22 มม./ Manual exposure (f/11, 6 วินาที)/ ISO 200/ WB: หลอดไฟทังสเตน

เมื่อถ่ายภาพน้ำตก องค์ประกอบภาพที่มีพื้นผิวเป็นประกายและสะท้อนแสงอย่างเช่นน้ำหรือใบไม้มักปรากฏเป็นสีขาวแทนที่สีสันที่แท้จริง เนื่องจากการสะท้อนแสงจากตัวแบบ ซึ่งอาจทำให้ภาพดูสว่างจ้าเกินไป ดังนั้น การใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (ฟิลเตอร์ PL) จึงช่วยลดแสงสะท้อนที่ไม่พึงประสงค์ และทำให้มองเห็นสีสันที่แท้จริงของตัวแบบกระทั่งก้อนหินในน้ำตกได้อย่างชัดเจน ช่วยเพิ่มบรรยากาศพร้อมๆ กับสร้างแสงและเงาที่สมดุลในภาพถ่าย

คลิกที่นี่เพื่อดูว่า ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ใช้ทำอะไรได้อีกบ้าง

ขณะเดียวกัน คุณสามารถเก็บภาพมุมสวยๆ ที่ต้องการให้ดูน่าประทับใจยิ่งขึ้นได้ โดยสลับ รูปแบบภาพ ไปที่โหมด "ภาพวิว" และปรับโทนสีอย่างละเอียด สำหรับผมแล้ว ฉากนี้ดูราวกับหลุดออกมาจากโลกแห่งจินตนาการ ผมจึงตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 6 วินาที เพื่อเก็บภาพกระแสน้ำตกสีขาวที่นุ่มนวลดุจแพรไหม แต่หากคุณไม่สามารถใช้ชัตเตอร์ต่ำ ขอแนะนำให้ใช้ฟิลเตอร์ Neutral Density (ฟิลเตอร์ ND) จากนั้นตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปที่ "หลอดไฟทังสเตน" เพื่อเพิ่มโทนสีน้ำเงิน และทำให้ภาพทั้งภาพเต็มอิ่มไปด้วยบรรยากาศที่น่าอัศจรรย์และเหนือจริง

 

เคล็ดลับที่ 1: ปรับแต่งภาพโดยใช้การตั้งค่ารายละเอียดในรูปแบบภาพ

เมื่อตั้งค่ารูปแบบภาพไปที่โหมด "ภาพวิว" ต้นหญ้าจะมีสีเข้มและโดดเด่นจนเกินไป ผมจึงปรับโทนสีเป็น "+1" และความอิ่มตัวของสีเป็น "-2" ซึ่งวิธีนี้จะลดโทนสีเขียวของใบไม้ และช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไปยังน้ำตก

เมนูการตั้งค่ารายละเอียดในรูปแบบภาพ

ก่อนปรับการตั้งค่ารายละเอียด

ก่อนปรับการตั้งค่า

หลังจากปรับการตั้งค่ารายละเอียดในรูปแบบภาพ

หลังปรับการตั้งค่า

 

เคล็ดลับที่ 2: ใช้ฟิลเตอร์ PL เพื่อลดแสงสะท้อน

เราสามารถใช้ฟิลเตอร์ PL เพื่อลดแสงสะท้อนที่ไม่พึงประสงค์จากต้นไม้และผิวน้ำ เพื่อขับเน้นสีสันที่แท้จริง หรือแม้กระทั่งทำให้ก้อนหินใต้น้ำมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมๆ กับทำให้ภาพมีแสงและเงาที่สมดุลได้

ใช้ฟิลเตอร์ PL เพื่อลดแสงสะท้อน

ไม่มีฟิลเตอร์ PL

ไม่มีฟิลเตอร์ PL

มีฟิลเตอร์ PL

มีฟิลเตอร์ PL

 

เคล็ดลับที่ 1: ภาพถ่ายในแนวตั้งสามารถเพิ่มความลึกให้กับภาพ แต่ทำให้ฉากดูกว้างน้อยลง

ผมจัดองค์ประกอบภาพด้านล่างนี้โดยให้น้ำตกอยู่ในบริเวณกึ่งกลางภาพ และให้สายน้ำไหลจากมุมซ้ายบนไปยังมุมขวาล่างของภาพ แม้ว่าการถ่ายภาพในแนวตั้งจะมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความลึกให้กับภาพถ่าย แต่จะตัดสายน้ำออกจากภาพและให้ความรู้สึกว่าภาพไม่สมบูรณ์ จึงไม่เหมาะหากคุณต้องการถ่ายทอดความกว้างของทิวทัศน์

ภาพน้ำตกในแนวตั้ง

EOS 6D Mark II/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 25 มม./ Manual exposure (f/13, 1/2 วินาที)/ ISO 100/ WB: Manual

 

เคล็ดลับที่ 2: เลือกการตั้งค่าสมดุลแสงขาวให้เหมาะกับฉาก

หากคุณถ่ายภาพโดยตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น "แสงแดด" ใบไม้จะไม่ดูเป็นสีเขียว สีสันของก้อนหินและพื้นดินในภาพจะเด่นชัดมากขึ้น และความขาวของน้ำตกจะไม่โดดเด่นเช่นกัน

ภาพน้ำตกที่มีการตั้งค่าสมดุลแสงขาว: แสงแดด

EOS 6D Mark II/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 26 มม./ Manual exposure (f/13, 1/2 วินาที)/ ISO 100/ WB: Manual

 

เทคนิคข้อที่ 2: ใช้ "เน้นรายละเอียด" เพื่อเก็บรายละเอียดของฉาก

ใช้รูปแบบภาพ - เน้นรายละเอียด

EOS 6D Mark II/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/11, 5 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ในฉากที่ต้องการเน้นวัตถุขนาดเล็กที่มีรายละเอียดมากๆ เช่น ใบไม้และต้นไม้ การตั้งรูปแบบภาพเป็น "เน้นรายละเอียด" จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ* ตลอดจนเพิ่มความคมชัดที่ขับเน้นขอบภาพ ซึ่งจะปรับปรุงพื้นผิวของรายละเอียดต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือการลดการสั่นไหวของกล้องให้เหลือน้อยที่สุดระหว่างการถ่ายภาพ สำหรับฉากนี้ ผมลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f/11 และกำหนดจุดโฟกัสไว้ที่ด้านหน้าจุดกึ่งกลางเล็กน้อยเพื่อให้ภาพถ่ายโดยรวมดูคมชัด

*หมายเหตุ: รูปแบบภาพนี้สามารถใช้ได้ในกล้องบางรุ่น เช่น EOS 6D Mark II, EOS 5DS/5DS R, EOS 5D Mark IV, EOS-1D X Mark II, EOS M5 และ EOS M6

 

เคล็ดลับ: ใช้ "เน้นรายละเอียด" เพื่อเพิ่มความสามารถในการถ่ายทอดรายละเอียด

"เน้นรายละเอียด" เพิ่มความคมชัดจนถึงเค้าโครงของพื้นที่ต่างๆ เพื่อถ่ายทอดรายละเอียดในฉากอย่างเหมาะสม เค้าโครงจะถูกเน้นให้เด่นชัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตัวแบบขนาดเล็ก เช่น ใบไม้ที่ถ่ายจากวิวที่อยู่ไกลออกไป จึงทำให้ได้รายละเอียดที่คมชัด และมองเห็นเอฟเฟ็กต์ได้ง่าย ขณะที่เมื่อใช้ "ภาพเป็นกลาง" ภาพโดยรวมจะเบลอและส่วนขอบขององค์ประกอบที่เล็กกว่าจะกลืนกันไปเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ "เน้นรายละเอียด"

โคลสอัพ: เน้นรายละเอียดในรูปแบบภาพ

เน้นรายละเอียด

โคลสอัพ: ภาพเป็นกลางในรูปแบบภาพ

ภาพเป็นกลาง

 

เคล็ดลับพิเศษ: ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อลดรายละเอียดของหมอก

หมอกในภาพทิวทัศน์

EOS 6D Mark II/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/11, 5.0 วินาที)/ ISO 200/ WB: Manual

หมอกหนาแผ่ปกคลุมทั่วผืนป่า เมื่อถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง ต้นไม้ในส่วนแบ็คกราวด์จะถูกซ่อนอยู่ด้านหลังม่านหมอก แต่เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ หมอกจะลอยไปทำให้มองเห็นต้นไม้ได้ชัดเจน

 

ภาพหมอก (ความเร็วชัตเตอร์ 5 วินาที)

5 วินาที

ภาพหมอก (ความเร็วชัตเตอร์ 1/10 วินาที)

1/10 วินาที

 

เราได้นำเสนอรูปแบบภาพทั้ง 2 แบบ และวิธีการปรับแต่งพร้อมกับปรับปรุงภาพถ่ายโดยใช้การตั้งค่าอื่นๆ เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์บางอย่างไปแล้ว ซึ่งคุณสามารถปรับแต่งรูปแบบภาพในลักษณะอื่นๆ เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของคุณได้เช่นกัน (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: 3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ) ทำความรู้จักกับรูปแบบภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมสำหรับถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพของคุณ

โปรดดูบทความต่อไปนี้เกี่ยวกับ EOS 6D Mark II:
EOS 6D Mark II: เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ Dual Pixel CMOS AF และ Live View AF
รีวิวความประทับใจแรกที่มีต่อ EOS 6D Mark II: การถ่ายภาพทิวทัศน์

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้:
การถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วย EOS 5D Mark IV: แนวทางการถ่ายภาพที่ต่างกัน 2 สไตล์
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายยามเช้าหรือยามเย็นดีกว่ากัน-r
EF16-35mm f/4L IS USM: ถ่ายภาพทิวทัศน์ได้อย่างน่าทึ่งแม้ถ่ายแบบถือกล้องด้วยมือ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Jiro Tateno

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1975 ตั้งแต่ราวปี 1990 เขาสัมผัสธรรมชาติผ่านทางการตกปลา และเริ่มถ่ายภาพ เขาเดินทางถ่ายภาพไปทั่วประเทศในหัวข้อ "ความงดงามของธรรมชาติ” ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา ปัจจุบัน เขาเป็นผู้จัดส่งภาพถ่ายเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร หนังสือ โปสเตอร์ ปฏิทิน และอื่นๆ อีกมากมาย เขาจัดงานนิทรรศการภาพถ่าย "Okinawa" ขึ้นในปี 2010 และจัดนิทรรศการภาพถ่าย "Northern Lights - Journey of Light/ Iceland" ในปี 2017

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา