ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

การใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อถ่ายภาพท้องฟ้าให้มีสีฟ้าเข้มขึ้น

2019-04-22
7
8.72 k
ในบทความนี้:

สำหรับภาพถ่ายกลางแจ้งตอนกลางวัน เราย่อมอยากให้ท้องฟ้าดูโปร่งและมีสีฟ้าเข้ม แต่ธรรมชาติมักไม่เป็นใจ กระนั้น ตัวเลือกของคุณไม่ได้จำกัดอยู่แค่การแก้ไขโดยใช้กระบวนการปรับแต่งภาพหรือการใช้ภาพท้องฟ้าสีทึมที่มีความเปรียบต่างต่ำแก้ขัดไปพลางๆ เท่านั้น ในบทความนี้ เราจะมาเผยวิธีการใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อเพิ่มความเข้มสีของท้องฟ้า (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

ภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วย EOS 750D

EOS 750D/ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM/ FL: 15 มม. (เทียบเท่า 24 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/320 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 

ถ่ายภาพโดยไม่ใช้ฟิลเตอร์ PL

ภาพที่ไม่ใช้ฟิลเตอร์ PL

เมื่อเปรียบเทียบกับภาพด้านบน คุณจะเห็นว่าภาพนี้มีความเปรียบต่างต่ำและโทนสีฟ้าสว่างขึ้น

 

ฟิลเตอร์ PL คืออะไร

ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (PL) คือ ฟิลเตอร์ที่คุณใช้ติดเข้ากับเลนส์เพื่อลดสภาพขั้วบางอย่างของแสง (อ่านคำอธิบายเชิงเทคนิคเกี่ยวกับวิธีการทำงานของฟิลเตอร์ PL (ฉบับภาษาอังกฤษ) จาก Cambridge in Colour) โดยฟิลเตอร์นี้จะขจัดแสงสะท้อนที่ไม่จำเป็น จึงไม่เพียงควบคุมแสงสว่างจ้าและแสงสะท้อนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้โทนสีดูสดใสยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดแสงจากควัน หมอก หรือหมอกน้ำค้างได้อีกด้วย ดังนั้น หากคุณต้องการยกระดับภาพถ่ายของคุณ ฟิลเตอร์ชนิดนี้คือการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน

มาดูกันว่าฟิลเตอร์ PL สามารถทำอะไรได้บ้างสำหรับภาพสะท้อนของน้ำ รุ้งกินน้ำ และทิวทัศน์ยามเย็น

ฟิลเตอร์ PL มีอยู่สองประเภทด้วยกัน ได้แก่ แบบเลื่อนแนวตรงและแบบทรงกลม (อ่านเกี่ยวกับความแตกต่างได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)) เนื่องจากฟิลเตอร์ PL แบบเลื่อนแนวตรงอาจรบกวน AF และการวัดแสงที่ผ่านเข้าไปในเลนส์ในกล้องที่มีกระจก (เช่น กล้อง DSLR) ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม (ฟิลเตอร์ CPL) จึงเป็นที่นิยมใช้มากกว่าและมีจำหน่ายแพร่หลายมากกว่า นอกเหนือจากนั้นแล้ว เอฟเฟ็กต์ภาพของฟิลเตอร์ทั้งสองประเภทจะให้ผลที่เหมือนกัน

 

คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน: วิธีใช้งานฟิลเตอร์ PL

แผนภาพแสดงขั้นตอนการถ่ายภาพ

*ขั้นตอนการถ่ายภาพ
A: ติดฟิลเตอร์ PL เข้ากับเลนส์
B: ถ่ายภาพโดยให้ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของคุณ
C: หมุนฟิลเตอร์ PL และตรวจดูผลลัพธ์ว่าได้รับเอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการหรือไม่

 

A: ติดตั้งฟิลเตอร์ PL เข้ากับเลนส์
เลือกฟิลเตอร์ที่เหมาะกับเส้นผ่านศูนย์กลางเกลียวฟิลเตอร์ของเลนส์ หมุนฟิลเตอร์ติดเข้ากับเส้นของเกลียวสลักที่อยู่ด้านหน้าเลนส์ แล้วหมุนฟิลเตอร์เพื่อขันเข้ากับเส้นของเกลียวสลักจนแน่นเข้าที่ 

เคล็ดลับ:
- หากคุณมีเลนส์หลายแบบ คุณอาจต้องการเลือกฟิลเตอร์ที่เหมาะกับเลนส์ที่มีขนาดเกลียวสลักใหญ่ที่สุด จากนั้นใช้วงแหวนแบบเลื่อนขึ้นเป็นขั้นปรับฟิลเตอร์ให้เข้ากับเลนส์ที่มีขนาดเกลียวสลักที่เล็กกว่า
- หากคุณใช้งานกล้อง EOS RP หรือ EOS R และมีเลนส์ EF หลายแบบ คุณยังอาจลองใช้เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R ร่วมกับฟิลเตอร์ CPL แบบ Drop-in เพื่อเพิ่มฟิลเตอร์ให้กับเลนส์แบบต่างๆ ของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าเลนส์จะมีสลักเกลียวขนาดเท่าใดก็ตาม

 

B: ถ่ายภาพโดยให้ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของคุณ
ฟิลเตอร์ PL แทบจะไม่ได้ผลหากใช้ถ่ายภาพในสภาพแสงย้อน จึงควรมั่นใจว่าคุณถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหน้า เช่น ให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงไปที่ตัวแบบด้านหลังคุณ

 

ตัวอย่างที่ดี: โทนสีฟ้าดูเข้มขึ้นเมื่อถ่ายภาพโดยใช้แสงทางตรง

ภาพตึกระฟ้าที่ถ่ายด้วยฟิลเตอร์ PL

EOS 750D/ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM/ FL: 13 มม. (เทียบเท่ากับ 21 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV+1)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

หาตำแหน่งที่คุณสามารถถ่ายภาพในแสงด้านหน้า เพื่อดึงเอาเอฟเฟ็กต์ของฟิลเตอร์ PL ออกมาอย่างเพียงพอ 

ตัวอย่างที่ไม่ดี: ไม่ส่งผลใดๆ เมื่อถ่ายในสภาพแสงย้อน

ภาพตึกระฟ้าในสภาพแสงย้อน

EOS 750D/ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM/ FL: 16 มม. (เทียบเท่า 26 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/200 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

ยิ่งคุณเล็งกล้องไปใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นเท่าใด เอฟเฟ็กต์ที่ได้จากฟิลเตอร์ PL จะยิ่งลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อถ่ายในสภาพแสงย้อนเช่นนี้ ฟิลเตอร์ PL แทบจะไม่ส่งผลใดๆ เลย
 

เคล็ดลับ: เอฟเฟ็กต์ที่ได้จากฟิลเตอร์ PL จะเด่นชัดมากที่สุดเมื่อถ่ายภาพท้องฟ้าในส่วนที่ทำมุม 90 องศาจากดวงอาทิตย์ เมื่อดวงอาทิตย์ลอยขึ้นสูงบนท้องฟ้า เอฟเฟ็กต์จากการตัดแสงโพลาไรซ์จะเด่นชัดมากที่สุดในบริเวณใกล้เส้นขอบฟ้า และเมื่อดวงอาทิตย์คล้อยต่ำลง เอฟเฟ็กต์จากการตัดแสงโพลาไรซ์จะเด่นชัดมากที่สุดหากถ่ายภาพท้องฟ้าที่มุมเหนือศีรษะพอดี ดูตัวอย่างเอฟเฟ็กต์จากตำแหน่งของดวงอาทิตย์เพิ่มเติมได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

C: หมุนฟิลเตอร์ PL และตรวจดูผลลัพธ์ว่าได้รับเอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการหรือไม่
ฟิลเตอร์ PL มี 2 ชั้น การหมุนกรอบที่ด้านหน้าจะสร้างเอฟเฟ็กต์ให้ดูเด่นชัดยิ่งขึ้นหรือลดความเข้มลงได้ ให้ปรับหมุนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบมุมที่ให้โทนสีฟ้าที่เข้มที่สุด

เคล็ดลับ: ขณะปรับฟิลเตอร์ PL ให้พยายามหมุนไปทางขวาทุกครั้งที่เป็นไปได้ หากคุณจำเป็นต้องหมุนไปทางซ้าย ควรระมัดระวังอย่าคลายเกลียวของฟิลเตอร์ออกโดยไม่ตั้งใจ
 

การหมุนฟิลเตอร์ PL

กรอบด้านหน้าของฟิลเตอร์ PL สามารถหมุนได้ 360 องศา และเปลี่ยนเอฟเฟ็กต์ได้ทุกๆ 90 องศาโดยประมาณ หลังจากยืนยันมุมรับภาพที่มีประสิทธิภาพที่สุดแล้ว คุณสามารถปรับมุมภาพอย่างละเอียดเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการได้

 

หมายเหตุสำคัญ: การใช้ฟิลเตอร์ PL จะลดความเร็วชัตเตอร์ลง

เนื่องจากฟิลเตอร์ PL จะจำกัดปริมาณแสงที่ตกกระทบ จึงทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงหากคุณถ่ายภาพในโหมด Program AE หรือ Aperture-priority AE แม้วิธีนี้อาจเหมาะอย่างยิ่งสำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์บางอย่าง แต่จะเพิ่มโอกาสที่ตัวแบบจะออกมาเบลอและเกิดการสั่นของกล้องได้เช่นกัน ซึ่งป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้โดย ใช้ขาตั้งกล้องหากจำเป็น หรือเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อทำให้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น

 

 

ภาพด้านบนถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์ของ Canon รุ่นนี้:

 

ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม PL-C B

ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม PL-C B
ฟิลเตอร์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ได้แก่ 52 มม., 58 มม., 67 มม., 72 มม., 77 มม. และ 82 มม. นอกจากนี้คุณยังสามารถติดฝาครอบเลนส์ไว้ที่ด้านบนฟิลเตอร์ได้อีกด้วย

 

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา