ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับสำหรับการถ่ายภาพรุ้งกินน้ำ

2017-06-15
0
5.8 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพรุ้งกินน้ำอันงดงามที่ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าไม่ยากอย่างที่คิด ตราบใดที่คุณใส่ใจกับตำแหน่งที่ฝนตกและมุมของแสงอาทิตย์ ในบทความนี้ เราจะมาดูเทคนิคบางอย่างที่ช่างภาพมืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพรุ้งกินน้ำกัน (เรื่องโดย: Toshiki Nakanishi)

ภาพรุ้งกินน้ำที่ถ่ายด้วย EOS 5D Mark IV

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 35mm/ Aperture-priority AE (f/11, 1/320 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: แสงแดด

ในวันที่ถ่ายภาพ สภาพอากาศไม่ค่อยดีนักตั้งแต่รุ่งเช้า สายฝนชุดใหญ่เคลื่อนตัวมาจากทางทิศตะวันตกชุดแล้วชุดเล่า โชคดีที่กลุ่มเมฆเกิดรอยแยกเล็กๆ ในทิศทางที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น ผมจึงเล็งกล้องไปทางทิศตะวันตก และรอคอยให้รุ้งกินน้ำปรากฏเมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านก้อนเมฆ

 

เคล็ดลับที่ 1: ถ่ายภาพในตอนเช้าหรือตอนเย็นเมื่อรุ้งกินน้ำอยู่ในตำแหน่งสูงสุด

รุ้งกินน้ำคือปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบละอองฝน หรืออีกนัยหนึ่ง หากเราให้ความสำคัญกับตำแหน่งของฝนและมุมของแสงแดด เราจะสามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ว่ารุ้งกินน้ำจะปรากฏขึ้นที่จุดใด ในช่วงเช้าหรือเย็นเมื่อรัศมีของแสงสาดส่องมาจากมุมต่ำในแนวเฉียง รุ้งกินน้ำจะปรากฏขึ้นสูงบนท้องฟ้า ขณะที่รัศมีของแสงในตอนเที่ยงอาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำในบริเวณใกล้กับพื้นดิน

ภาพรุ้งกินน้ำที่ถ่ายด้วย EOS 5D Mark IV

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 60 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/320 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

รัศมีของแสงจากมุมสูงทำให้เกิดรุ้งกินน้ำใกล้กับพื้นดินมากยิ่งขึ้น
รัศมีของแสงในตอนเที่ยงซึ่งมาจากมุมสูงจะทำให้เกิดรุ้งกินน้ำในตำแหน่งที่ต่ำใกล้กับพื้นดิน หรืออีกนัยหนึ่งคือ คุณสามารถถ่ายภาพรุ้งกินน้ำที่ปรากฏขึ้นที่ระดับความสูงแตกต่างกันในเวลาที่แตกต่างกันได้นั่นเอง

 

เคล็ดลับที่ 2: ใช้ฟิลเตอร์ PL เพื่อเน้นขับเน้นสีสันของรุ้งกินน้ำ

หากควบคุมแสงสะท้อนด้วยฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (PL) จะสามารถถ่ายทอดรุ้งกินน้ำสีสวยที่เกิดจากเอฟเฟ็กต์ปริซึมได้อย่างงดงามน่าประทับใจยิ่งขึ้น เอฟเฟ็กต์ของฟิลเตอร์ PL จะเห็นได้ชัดเจนเป็นพิเศษเมื่อคุณถ่ายภาพปลายด้านหนึ่งของส่วนโค้งของรุ้งกินน้ำ พึงทราบว่าหากคุณต้องการถ่ายภาพส่วนโค้งทั้งหมดของสายรุ้ง ควรถอดฟิลเตอร์ PL ออกก่อน มิฉะนั้น ภาพที่ออกมาจะปรากฏส่วนโค้งเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

 

ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม 77 มม. PL-C B

ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม 77 มม. PL-C B

 

อ่านเคล็ดลับและไอเดียอื่นๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพสายรุ้ง:
การถ่ายภาพน้ำตก: การเพิ่มความโดดเด่นให้กับภาพถ่ายด้วยรุ้งกินน้ำ
การตั้งค่ากล้องเพื่อจับภาพที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในการถ่ายภาพทิวทัศน์
การตั้งค่ากล้องเพื่อเก็บภาพวินาทีสำคัญ: เครื่องบินที่กำลังบินผ่านรุ้งกินน้ำ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์:
การใช้ฟิลเตอร์เลนส์: เทคนิค 2 ประการจากช่างภาพมืออาชีพ
การใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เพื่อถ่ายทอดท้องฟ้าให้มีสีฟ้าเข้มขึ้น

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา