ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part16

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #16: Aperture-priority AE

2017-06-29
11
7.69 k
ในบทความนี้:

อยากสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่มีแบ็คกราวน์เบลอน่ารักๆ (เอฟเฟ็กต์โบเก้) หรืออาจอยากแน่ใจว่าทุกรายละเอียดในภาพยังคงอยู่ในโฟกัสใช่ไหม Aperture-priority AE เป็นโหมดที่ใช้งานสะดวกเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ดังกล่าวนี้ เราจะลองมาศึกษารายละเอียดต่างๆ ของโหมดนี้กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพ Aperture-priority AE

 

โหมด Aperture-priority AE: ช่วยคุณปรับระดับของเอฟเฟ็กต์โบเก้

สิ่งที่ควรจดจำ

- คุณกำหนดค่า f และกล้องจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่สอดคล้องกัน
- ช่วงของค่า f ที่คุณสามารถตั้งค่าได้ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้
 

Aperture-priority AE (โหมดระบุค่ารูรับแสง) เป็นโหมดการถ่ายภาพที่มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในภาพถ่าย หรือเมื่อต้องการแน่ใจว่าทุกรายละเอียดในเฟรมภาพจะอยู่ในโฟกัส เนื่องจากเป็นโหมดที่ช่วยควบคุมการตั้งค่ารูรับแสง (ค่า f) อันเป็นหัวใจหลักในการปรับระดับความเบลอของแบ็คกราวด์ (เอฟเฟ็กต์โบเก้) และพื้นที่ของภาพที่อยู่ในระยะโฟกัส

ในโหมด Aperture-priority AE ช่างภาพจะตั้งค่า f ตามที่ตนเองเชื่อว่าเหมาะที่สุดสำหรับภาพที่ต้องการสร้างสรรค์ จากนั้นกล้องจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์โดยอัตโนมัติ เพื่อให้มีการเปิดรับแสงที่เหมาะสมสำหรับค่า f ที่ผู้ใช้กำหนด

 

ค่า f ที่ต่ำจะส่งผลให้รูรับแสงกว้างขึ้น พื้นที่ของภาพที่อยู่ในระยะโฟกัสจะเล็กลงเนื่องจากระยะชัดลึกตื้นขึ้น แต่นั่นหมายความว่าคุณจะสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ด้านหน้าและ/หรือด้านหลังพื้นที่ที่อยู่ในระยะโฟกัสได้ ในทางตรงกันข้าม ค่า f ที่สูงจะส่งผลให้รูรับแสงแคบลง พื้นที่ของภาพที่อยู่ในระยะโฟกัสจะใหญ่ขึ้นเนื่องจากระยะชัดลึกมากขึ้น ทำให้คุณสามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่ทุกรายละเอียดในเฟรมอยู่ในโฟกัสได้ (หากต้องการทบทวนและดูตัวอย่าง โปรดดูที่ พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #1: รูรับแสง)

ค่า f ต่ำสุดและสูงสุดที่คุณสามารถตั้งได้นั้นขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ แต่โดยทั่วไป เลนส์เดี่ยวมักช่วยให้ตั้งค่า f ได้ต่ำกว่าเลนส์ซูม

เมื่อใช้โหมด Aperture-priority อย่าลืมว่าหากคุณตั้งค่า f ไว้สูงเกินไป ความเร็วชัตเตอร์จะช้าลงและทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะเกิดปัญหากล้องสั่น ในกรณีนี้ ควรใช้โหมด ISO อัตโนมัติเพื่อแก้ปัญหา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโหมด ISO อัตโนมัติ และความไวแสง ISO:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #5: ความไวแสง ISO

 

วงแหวนเลือกโหมดในกล้อง

วงแหวนเลือกโหมดในกล้องของคุณ
หากต้องการใช้โหมด Aperture-priority AE ให้หมุนวงแหวนเลือกโหมดไปที่ [Av]

 

หน้าจอ Quick Control

หน้าจอ Quick Control
A: ความเร็วชัตเตอร์
B: การตั้งค่ารูรับแสง (ค่า f)

ช่างภาพตั้งค่ารูรับแสง กล้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์
หลังจากที่คุณตั้งค่า f แล้ว กล้องจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ ค่า f ต่ำจะให้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่นุ่มนวลและสวยงามมากขึ้น ขณะที่ค่า f สูงๆ จะเพิ่มพื้นที่ของภาพที่ปรากฏในโฟกัส

 

ตัวอย่างการใช้งาน 1: สำหรับการสร้างสรรค์เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่นุ่มนวลในส่วนแบ็คกราวด์

ภาพที่ถ่ายโดยใช้ Aperture-priority AE ในกล้อง EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III / EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/40 วินาที, EV+0.7)/ ISO 125/ WB: อัตโนมัติ

การสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ทำให้ตัวแบบของคุณดูโดดเด่นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่โดยรอบ เมื่อทำเช่นนี้ ให้ใช้ค่า f ที่ต่ำที่สุดเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่นุ่มนวลมากที่สุด เคล็ดลับพิเศษ: หากต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์ที่นุ่มนวลยิ่งขึ้น ให้ขยับเข้าไปใกล้ตัวแบบมากขึ้น เพื่อให้แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสมากขึ้น (คลิกที่นี่เพื่ออ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับโบเก้)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ:
การใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพและโบเก้ขนาดใหญ่ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้

 

ตัวอย่างการใช้งาน 2: เมื่อคุณต้องการให้ทุกอย่างในภาพอยู่ในระยะโฟกัส

ภาพที่ถ่ายโดยใช้ Aperture-priority AE ในกล้อง EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/50 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์ประกอบที่อยู่ใกล้คุณที่สุดและไกลจากคุณที่สุดในเฟรมมีระยะห่างระหว่างกันมาก ให้ตั้งค่า f สูงเพื่อให้แน่ใจว่าองค์ประกอบทั้งหมดจะอยู่ในระยะโฟกัส โดยทั่วไปแล้ว ค่า f/8 จนถึง f/16 เป็นค่าที่เหมาะอย่างยิ่ง อีกทั้งช่วยให้คุณถ่ายภาพจากระยะที่ห่างจากตัวแบบพอสมควร

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่า f แต่ละค่าและฉากต่างๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไป โปรดดูบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานฟังก์ชัน Aperture-Priority:
#1: ความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงของเลนส์และโบเก้
#2: สร้างโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ให้กับภาพถ่ายครอบครัวที่แสนอบอุ่นและเป็นมิตร
#3: ความมหัศจรรย์ของ f/2.2 ในการถ่ายภาพหุ่นนิ่ง (Still-life)
#4: การถ่ายภาพใบหน้า (f/2.8)
#5: การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่สมบูรณ์แบบนอกสถานที่ (f/4)
#6: การตั้งค่ารูรับแสงที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพสตรีท (f/5.6)
#7: การตั้งค่ารูรับแสงเพื่อถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่คมชัด (f/8)
#8: ค่ารูรับแสงที่เหมาะกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติให้ดูคมชัดและมีระยะชัดลึก (f/11)
#9: ถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่คมชัดตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวน์จนถึงแบ็คกราวด์ (f/16)

หากต้องการความท้าทาย ต่อไปนี้คือเอฟเฟ็กต์เพิ่มเติมที่คุณสามารถสร้างสรรค์ได้ด้วยโหมด Aperture-priority AE:
คำแนะนำในการสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงด้วยดวงอาทิตย์
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่หายาก

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา