ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด จุดโฟกัส: การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับฉากต่างๆ- Part4

f/2.8: เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการจับภาพสีหน้า

2019-12-02
4
8.41 k
ในบทความนี้:

ใบหน้าของคนเรามีลักษณะเป็น 3 มิติ เมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตแบบโคลสอัพจากมุมเฉียง หากใช้รูรับแสงที่กว้างเกินไป ส่วนสำคัญต่างๆ ของใบหน้าอาจอยู่นอกระยะชัดตื้น ซึ่งทำให้เห็นสีหน้าได้ไม่ชัดเจน มาเรียนรู้กันว่าทำไมช่างภาพมากมายจึงแนะนำให้ใช้ค่า f/2.8 เป็นพื้นฐานในสถานการณ์เช่นนี้ (เรื่องโดย Teppei Kohno)

ภาพใบหน้าหญิงสาว

 

จับตาดูโบเก้เมื่อคุณถ่ายภาพพอร์ตเทรตแบบโคลสอัพจากมุมเฉียง!

การถ่ายภาพพอร์ตเทรตโดยใช้รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์เป็นเรื่องสนุกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีเลนส์ไวแสงซึ่งมีรูรับแสงกว้างมาก (เช่น f/1.8 หรือกว้างกว่า) เป็นเรื่องน่าทึ่งมากที่การสร้างโบเก้ที่นุ่มนวลในส่วนแบ็คกราวด์ช่วยให้ตัวแบบของคุณโดดเด่นยิ่งขึ้นได้ แม้จะตัดกับแบ็คกราวด์ที่ดูยุ่งเหยิง

แต่ทราบหรือไม่ว่า ในการถ่ายภาพบางสถานการณ์ การใช้รูรับแสงกว้างสุดอาจลดความโดดเด่นของภาพถ่ายพอร์ตเทรตได้

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณกำลังถ่ายภาพลำตัวหรือใบหน้าและตัวแบบของคุณหันหน้าเข้าหากล้องจากมุมเฉียง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

รูรับแสงกว้างส่งผลต่อภาพถ่ายพอร์ตเทรตแบบโคลสอัพอย่างไร

ยิ่งใช้รูรับแสงกว้าง ระยะชัดจะยิ่งตื้นขึ้น

การจัดใบหน้าของตัวแบบให้ทำมุมเฉียงกับกล้องจะสร้างมิติความลึก ซึ่งหมายความว่า หากตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น จะมีส่วนต่างๆ ของใบหน้ามากขึ้นที่อยู่นอกระยะชัดตื้นและหลุดโฟกัส จึงอาจทำให้ยากที่จะมองเห็นสีหน้าของตัวแบบได้ชัดเจน

คุณจะต้องใช้รูรับแสงที่:
- แคบพอที่จะทำให้รูปหน้าส่วนใหญ่ของตัวแบบอยู่ในโฟกัสอย่างชัดเจน
- กว้างพอที่จะสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เด่นชัดในส่วนแบ็คกราวด์

ในสถานการณ์นี้ ค่าพื้นฐานที่ควรลองใช้คือ f/2.8 วิธีนี้จะทำให้พื้นที่ในโฟกัสครอบคลุมไปจนถึงจมูก ปาก และดวงตาที่อยู่ห่างออกไปจากกล้อง ซึ่งน่าจะเพียงพอที่จะจับภาพสีหน้าให้มีรายละเอียดที่คมชัดยิ่งขึ้น

 

ถ่ายที่ค่า f/2.8

ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวแบบโคลสอัพ
FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/25 วินาที/ ISO 400

ดวงตา จมูก และปากอยู่ในโฟกัสที่เหมาะสม เห็นสีหน้าได้ค่อนข้างชัดเจน

ถ่ายที่ค่า f/1.2

ภาพพอร์ตเทรตหญิงสาวแบบโคลสอัพที่มีดวงตาด้านหน้าดูเบลอ
FL: 85 มม./ f/1.2/ 1/125 วินาที/ ISO 400

ภาพนี้ดูคมชัดน้อยกว่า ซึ่งเห็นได้ชัดเป็นพิเศษที่ดวงตาข้างที่อยู่ด้านหลังและริมฝีปาก ทำให้สีหน้าดูแตกต่างไป

 

เก็บรายละเอียดดียิ่งขึ้น: การใช้ f/2.8 ให้ได้ผลดี

ฉาก 1: หากภาพถ่ายของคุณออกมาขาวโพลน…

ในสถานที่ที่มีแสงดี เช่น กลางแจ้งที่มีแสงแดดจัด ค่า f/2.8 อาจทำให้แสงเข้าสู่เลนส์มากเกินไป จนทำให้ภาพสว่างโพลน ลองถ่ายภาพในที่ที่มีร่มเงามากขึ้น หรือใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น หากคุณจำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลงเพื่อถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ คุณอาจต้องติดฟิลเตอร์ ND เข้ากับเลนส์เพื่อจำกัดปริมาณแสงที่เข้ามาในเลนส์

หากต้องการยกระดับการถ่ายภาพให้ดียิ่งขึ้น ลองใช้แฟลชเสริมและเทคนิคซิงค์ความเร็วสูง เรียนรู้วิธีได้ใน:
ทำอย่างไรจึงจะถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่มีโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ในสภาวะย้อนแสง

 

ฉาก 2: หากคุณต้องการโบเก้ที่เด่นชัดขึ้น…

หลังจากดูภาพแล้ว หากคุณคิดว่าอยากให้โบเก้เด่นชัดขึ้น ลองถ่ายภาพด้วยค่า f ที่น้อยลง เช่น f/2.5 หรือ f/2 ก็ได้ ค่า f ระดับนี้จะลดพื้นที่โฟกัสของภาพ (กล่าวคือ ให้ระยะชัดที่ตื้นขึ้น) อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้ก็มีความเสี่ยงตรงที่ส่วนที่อยู่นอกโฟกัสแค่เพียงนิดเดียวก็อาจกลายเป็นอยู่นอกโฟกัสทั้งหมด ควรจับถือกล้องให้มั่นคง ปรับความเร็วชัตเตอร์และ/หรือความไวแสง ISO ตามที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพสว่างเกินไป

 

เทคนิคพิเศษ: โฟกัสดวงตาที่อยู่บริเวณด้านหน้า

เมื่อตัวแบบของคุณหันหน้าเข้าหากล้องจากมุมเฉียง อย่าลืมโฟกัสดวงตาที่อยู่ด้านหน้า เนื่องจากจะทำให้ถ่ายภาพสีหน้าของตัวแบบออกมาได้สวย แม้ว่าดวงตาข้างที่อยู่ด้านหลังจะเบลอเล็กน้อย

เคล็ดลับ: หากกล้องของคุณมี Eye Detection AF อย่าลืมเปิดใช้งานด้วย คุณสมบัตินี้จะตรวจจับและโฟกัสดวงตาที่อยู่ใกล้กับกล้องมากกว่าโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้คุณถ่ายภาพได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

โฟกัสที่ดวงตาด้านหน้า

ภาพใบหน้าหญิงสาวที่มีดวงตาด้านหลังดูเบลอ
FL: 50 มม./ f/1.8/ 1/125 วินาที/ ISO 250

ภาพถ่ายโดยรวมอยู่ในโฟกัสและดูมีชีวิตชีวา แม้แบ็คกราวด์จะเบลอเล็กน้อย

โฟกัสที่ดวงตาด้านหลัง

ภาพใบหน้าหญิงสาวที่มีดวงตาด้านหน้าดูเบลอ
FL: 50 มม./ f/1.8/ 1/125 วินาที/ ISO 250

ความเบลอในบริเวณด้านหน้าเห็นเด่นชัด และทำให้ภาพโดยรวมดูนุ่มนวล

---

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเปลี่ยนการตั้งค่ารูรับแสงอย่างไร คลิกที่นี่เพื่อดูคำแนะนำทีละขั้นตอน

---

f/2.8 เป็นหนึ่งในการตั้งค่ารูรับแสงสามแบบที่ช่างภาพพอร์ตเทรตนิยมใช้ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งค่าอีกสองแบบได้ใน:
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต: การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพชื่นชอบ

หากกำลังจะไปเที่ยว หรือออกไปถ่ายภาพใครสักคนตลอดวัน คุณสามารถลองทำตาม 5 ไอเดียเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่แค่มีเลนส์คิทก็ทำได้แล้ว!
5 เทคนิคการถ่ายภาพพอร์ตเทรตสำหรับทั้งตอนกลางวันและกลางคืน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา