เพราะดวงตาคือทุกสิ่ง: วิธีง่ายๆ ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้ตราตรึงใจ
ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ จึงไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อเรามองภาพพอร์ตเทรต สายตาของเรามักจะไปหยุดอยู่ที่ดวงตาของตัวแบบก่อน คนส่วนใหญ่มักตัดสินว่าภาพนั้นดีหรือไม่จากคุณภาพของสิ่งแรกที่พวกเขามองเห็น ดังนั้น ดวงตาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต ในบทความนี้ เราจะแบ่งปันเทคนิคการถ่ายภาพให้ดวงตาของตัวแบบอยู่ในโฟกัสอย่างสมบูรณ์แบบด้วยฟังก์ชั่น Eye Detection AF ในกล้อง EOS R (เรื่องโดย: Haruka Yamamoto, นางแบบ: Haruka Shimoyama)
EOS R/ RF50mm f/1.2L USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.2, 1/100 วินาที, EV+0.7)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
หากต้องการถ่ายภาพพอร์ตเทรต Eye Detection AF จะช่วยให้คุณจับโฟกัสได้อย่างสมบูรณ์แบบ
คุณอาจจับโฟกัสได้อย่างสมบูรณ์แบบในภาพหนึ่ง แต่พอนางแบบของคุณเปลี่ยนท่าโพส และคุณจัดองค์ประกอบภาพใหม่เพื่อให้เหมาะกับท่าโพสนั้น คุณจะต้องย้อนกลับไปเริ่มใหม่ทั้งหมด และในขณะเดียวกัน คุณยังต้องจัดท่าทางให้นางแบบ หามุมการให้แสง ที่สมบูรณ์แบบ และหาค่าการเปิดรับแสงที่พอเหมาะด้วย… คุณมีอะไรให้ต้องคิดมากมายในเวลาเดียวกัน จึงไม่แปลกหากคุณจะรู้สึกเครียดไปบ้าง
แต่ฟังก์ชั่น Eye Detection AF ในกล้อง EOS R จะทำให้ทั้งหมดนี้กลายเป็นเรื่องง่าย เพราะฟังก์ชั่นนี้จะตรวจจับและติดตามดวงตาที่อยู่ใกล้กับเลนส์โดยอัตโนมัติ คุณจึงไม่ต้องยุ่งยากในการโฟกัสแบบแมนนวลทุกครั้งที่จัดองค์ประกอบภาพใหม่ และฟังก์ชั่นนี้ยังเป็นประโยชน์มากสำหรับการถ่ายภาพใบหน้าแบบโคลสอัพด้วย
การทำงานของ Eye Detection AF: ฉันถ่ายภาพด้านบนได้อย่างไร
ภาพที่อยู่ด้านบนซึ่งทำให้เราคิดถึงเด็กผู้หญิงที่กำลังผ่อนคลายอยู่ในห้องของเธอเองนั้นเป็นภาพที่ถ่ายในร่ม เธออยู่ในท่านอนหงายบนเตียงเพื่อให้แสงที่ส่องผ่านเข้ามาจากผ้าม่านบางสีขาวในห้องมีประโยชน์มากที่สุด
หาจุดที่เหมาะสมในการโฟกัส: ปกติแล้วจะเป็นดวงตาข้างที่อยู่หน้า แต่ก็ไม่เสมอไป!
Eye Detection AF จะโฟกัสดวงตาข้างที่อยู่ใกล้กับเลนส์มากกว่าโดยอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในแทบทุกสถานการณ์ เนื่องจากการโฟกัสดวงตาข้างที่อยู่ใกล้คุณนั้นเป็นหนึ่งในหลักสำคัญของการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
อย่างไรก็ตาม ในภาพนี้ ฉันต้องการให้ดอกไม้ที่นางแบบกำลังถืออยู่ได้รับความสนใจที่เท่าเทียมกัน ระยะชัดตื้นทำให้ดอกไม้เบลอเมื่อจุดโฟกัสไปอยู่ที่ดวงตาข้างที่ใกล้ฉันมากกว่า ฉันจึงตัดสินใจย้ายโฟกัสไปยังดวงตาอีกข้างหนึ่งแทน เพราะมีระยะห่างจากตัวฉันพอๆ กับดอกไม้
เมื่อใช้ Eye Detection AF การเปลี่ยนจุดโฟกัสก็เป็นเรื่องง่าย เพียงแค่แตะหน้าจอเพื่อเลือกดวงตาอีกข้างหนึ่งเท่านั้น Eye Detection AF จะตรวจจับรูม่านตาและย้ายเฟรมการโฟกัสให้สอดคล้องกัน
เทคนิคเพิ่มเติม: โฟกัสยังคงจับได้อยู่แม้ใบหน้าของตัวแบบจะอยู่ในแนวนอน เช่น ในภาพด้านบน จึงช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพพอร์ตเทรตได้สำเร็จในอัตราเกือบ 100% หากดูที่การโฟกัส และยังมีประโยชน์มากเมื่อถ่ายภาพด้วยรูรับแสงกว้างสุด หรือระยะชัดตื้น (เช่น ที่ค่า f/1.2 ในภาพที่ฉันถ่าย)
ภาพเสีย
เมื่อโฟกัสอยู่ที่ดวงตาข้างซ้ายของนางแบบ (ข้างที่ใกล้ฉันมากกว่า) ดอกไม้จะอยู่นอกระยะชัดและเบลอ
มีประโยชน์มากสำหรับการถ่ายภาพใบหน้าแบบโคลสอัพ
เมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตแบบเต็มตัว การใช้เพียงแค่ใบหน้า + การติดตาม AF ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการโฟกัสที่แม่นยำ แต่ถ้าหากคุณถ่ายแบบโคลสอัพที่ใบหน้า ระยะชัดจะตื้นกว่า ดังนั้น Eye Detection AF จึงใช้ได้ผลดีกว่า อย่าลืมเปิดใช้งานด้วย!
คุณสามารถเปิดใช้งาน Eye Detection AF ได้ในเมนู AF
Eye Detection AF จะจับโฟกัสดวงตาข้างที่อยู่ใกล้กับเลนส์มากกว่าโดยอัตโนมัติ หากต้องการโฟกัสที่ดวงตาอีกข้าง ให้เลือกจากบนหน้าจอ Eye Detection AF จะตรวจจับดวงตาอีกข้าง และเฟรมการโฟกัสสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อจับโฟกัสได้เรียบร้อยแล้ว
เหมาะสำหรับถ่ายภาพดวงตาที่ถ่ายทอดอารมณ์เพื่อบอกเล่าเรื่องราว
เมื่อคุณถ่ายภาพพอร์ตเทรต คุณต้องแน่ใจว่าภาพนั้นสื่อถึงบุคลิกและ/หรืออารมณ์ของตัวแบบออกมาได้อย่างชัดเจนและมีพลัง หากมีการถ่ายทอดอารมณ์ออกมาจากดวงตา การถ่ายภาพแบบโคลสอัพโดยให้มีเพียงใบหน้าอยู่ในเฟรมนั้นจะได้ผลดีมาก
สิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายภาพเช่นนี้คือ ต้องให้รูม่านตาอยู่ในโฟกัสอย่างเหมาะสม ภาพด้านล่างถ่ายที่ระยะ 40 ซม. ซึ่งเป็นระยะโฟกัสใกล้สุดของเลนส์ที่ใช้ ฉันต้องการให้โฟกัสได้ถูกจุดที่สุดเพื่อให้ได้ความเข้มข้นของอารมณ์ที่ต้องการ หากโฟกัสพลาดไปนิดเดียว อารมณ์ของนางแบบจะดูเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ระยะชัดตื้นนี้ทำให้การโฟกัสยากขึ้นกว่าปกติ Eye Detection AF จึงมีประโยชน์อย่างน่ามหัศจรรย์ในการถ่ายภาพเช่นนี้
EOS R/ RF50mm f/1.2L USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE(f/1.2, 1/100 วินาที, EV +0.7)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
ฉันโฟกัสที่ดวงตาข้างที่อยู่ด้านหน้าโดยใช้ Eye Detection AF จึงสามารถถ่ายภาพสายตาอันมีพลังที่นางแบบส่งมาให้ในเสี้ยววินาทีเอาไว้ได้
การที่คุณสามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่มีพลังจากตัวบุคคลออกมาได้ โดยทำเพียงแค่โฟกัสให้ถูกจุดนั้นเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง การจับโฟกัสที่รูม่านตานั้นอาจทำได้ยากกว่าความเป็นจริง แต่ถ้ามีฟังก์ชั่น Eye Detection AF ของ EOS R กล้องจะทำหน้าที่นี้ให้คุณเอง คุณจึงมีเวลาไปคิดถึงเรื่องอื่นๆ ได้ เช่น การจัดแสงหรือสีหน้าของตัวแบบ ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพพอร์ตเทรตได้งดงามยิ่งขึ้น
หากต้องการทราบเคล็ดลับและคำแนะนำในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตเพิ่มเติม คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้
ทำไม EF85mm f/1.8 USM จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต: การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพชื่นชอบ
[ตอนที่ 1] มาเริ่มการถ่ายภาพแบบยิงแฟลชสะท้อน (Bounce Flash) กัน
คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน: วิธีถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่น่าประทับใจโดยใช้แสงย้อนจากหน้าต่าง
วิธีการถ่ายภาพพอร์เทรตยามค่ำคืนอย่างสร้างสรรค์ด้วยกล้อง EOS R
สำหรับบทความและรีวิวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EOS R โปรดดูที่:
จุดโฟกัส: EOS R (ฉบับภาษาอังกฤษ)
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Yamamoto เกิดที่กรุงโตเกียว เธอเป็นช่างภาพอิสระที่ถ่ายภาพสำหรับสื่อนานาชนิด รวมถึงนิตยสาร ปกซีดี และโฆษณา นอกจากนี้ เธอยังมีบล็อกของตัวเอง ซึ่งโพสต์ภาพจากซีรีส์ภาพถ่ายต่อเนื่องที่ชื่อว่า “Otome-graphy [ภาพถ่ายสาวโสด]” โดยมีเป้าหมายที่จะลบภาพลักษณ์แบบเดิมๆ ของหญิงสาว ตลอดจนจัดการกับปัญหาของตัว Yamamoto เองว่าด้วยการแก่ตัวลง คอลเล็กชั่นภาพเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือในปี 2018