การถ่ายภาพพอร์ตเทรต: การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพชื่นชอบ
การตั้งค่ารูรับแสง (ค่า f ) ที่ใช้คือสิ่งสำคัญที่ช่างภาพมืออาชีพตัดสินใจเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต ต่อไปนี้คือค่า f 3 รูปแบบที่นิยมใช้ในสถานการณ์การถ่ายภาพที่แตกต่างกัน ควรจำรูปแบบเหล่านี้ไว้เพื่อให้สามารถถ่ายภาพที่มีคุณภาพดุจมืออาชีพได้ (เรื่องโดย: Teppei Kohno)
EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ
การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่มีประโยชน์
EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
*ขั้นตอนการถ่ายภาพ
1: กำหนดเป้าหมายในการถ่ายภาพ รวมถึงองค์ประกอบภาพในฉากหลัง
2: กำหนดทางยาวโฟกัสของเลนส์
3: ตั้งค่าโหมดเป็น Aperture-Priority AE
4: เปลี่ยนค่า f ให้เหมาะกับเป้าหมายในการถ่ายภาพ
โบเก้ในฉากหลังเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการถ่ายภาพผู้คน เนื่องจากการเปิดรูรับแสงเต็มที่จะช่วยขับเน้นให้ตัวแบบดูโดดเด่นยิ่งขึ้น แต่ก็อาจทำให้ภาพเบลอมากขึ้นด้วย ซึ่งในบางกรณีอาจทำให้ไม่สามารถเก็บรายละเอียดที่ต้องการได้
ต่อไปนี้ เราจะแนะนำค่า f ทั้ง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพนิยมใช้ เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต เมื่อเริ่มต้นด้วยค่า f เหล่านี้ คุณก็จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาวะการถ่ายภาพและเป้าหมายในการถ่ายภาพได้
1. f/2.8 - สำหรับสร้างโบเก้ที่นุ่มนวลมากในฉากหลัง ซึ่งทำให้ตัวแบบดูโดดเด่น
EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
การใช้ค่า f/2.8 จะทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่องค์ประกอบในฉากหลังเบลอ หากสามารถใช้เลนส์ที่มีค่า f น้อยได้ ควรเริ่มลองใช้ค่า f/2.8 เป็นแนวทางคร่าวๆ เคล็ดลับพิเศษ: ค่ารูรับแสงนี้ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการขับเน้นสีหน้าในการถ่ายภาพระยะใกล้
2. f/5.6 - สำหรับเอฟเฟกต์โบเก้พอประมาณในฉากหลัง
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ f/5.6/ 1/160 วินาที/ EV±0/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
เมื่อใช้กลุ่มเลนส์เทเลโฟโต้หรือในฉากที่คุณถ่ายภาพในระยะใกล้ จะพบว่าค่า f/2.8 สร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เด่นชัดเกินไป ควรใช้ f/5.6 ในสถานการณ์เช่นนี้
3. f/11 - สำหรับภาพถ่ายโดยรวมที่คมชัดเมื่อใช้โฟกัสแบบชัดลึก
EOS 760D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 20 มม. (เทียบเท่า 12.5 มม.)/ f/11/ 1/80 วินาที/ EV±0/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ในฉากที่คุณต้องการใส่ส่วนที่เหลือของฉากไว้ในเฟรม และถ่ายภาพทุกสิ่งรวมถึงฉากหลังให้ดูคมชัด (เช่น ทำการโฟกัสแบบชัดลึก) ควรลองใช้ค่า f/8 ถึง f/11 เช่น ใช้ f/8 เป็นแนวทางหากต้องการถ่ายทอดรายละเอียดของเสื้อผ้าสำหรับการถ่ายภาพแฟชั่นในสตูดิโอได้อย่างคมชัด ซึ่งจะเหมาะกับฉากที่คุณต้องการให้เห็นฉากหลังชัดเจนอีกด้วย
เคล็ดลับ: การถ่ายภาพพอร์ตเทรตนิยมใช้ระยะโฟกัสที่ 85 มม.
EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตคือเลนส์เทเลโฟโต้ ซึ่งทำให้การสร้างโบเก้ในฉากหลังเป็นเรื่องกล้วยๆ จึงสามารถถ่ายภาพบุคคลจากระยะไกลได้ง่ายและยังสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ได้ไม่ยาก หากใช้กล้อง EOS ที่มีเซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรม ควรใช้เลนส์ที่มีระยะประมาณ 80 ถึง 100 มม. ส่วนกล้อง EOS ที่มีเซนเซอร์ขนาด APS-C ควรใช้เลนส์ที่มีระยะประมาณ 50 ถึง 60 มม.
นอกจากนี้ โปรดทราบว่าฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์ซูมมาตรฐานสำหรับกล้อง APS-C คือ 55 มม. หรือ 88 มม. ซึ่งเทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. เริ่มต้นด้วยการจัดองค์ประกอบภาพที่ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์ซูมมาตรฐานเพื่อให้คุ้นเคยกับระยะห่างในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต หากมีฉากเป็นพื้นที่เปิดโล่งอยู่ด้านหลังตัวแบบ คุณสามารถถ่ายภาพให้มีเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่นุ่มนวลมากได้เช่นกัน
EF85mm f/1.8 USM: เลนส์เดี่ยวรุ่นสำคัญสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
EF85mm f/1.8 USM เป็นเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางที่มีค่า f น้อยมาก หรือมีรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.8 จึงเป็นเลนส์ที่เหมาะกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตอย่างมาก เพราะทำให้สามารถจัดองค์ประกอบภาพโดยมีระยะห่างที่เหมาะสมจากตัวแบบได้ และยังสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่มีขนาดใหญ่และนุ่มนวลในฉากหลังได้อีกด้วย
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต:
คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน: วิธีถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่น่าประทับใจโดยใช้แสงย้อนจากหน้าต่าง
การควบคุมแสงเพื่อภาพถ่ายพอร์ตเทรตที่น่าประทับใจ
การถ่ายภาพพอร์ตเทรตด้วย Slow Sync Flash
4 เคล็ดลับสำหรับภาพถ่ายครอบครัวสุขสันต์
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย