ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

คุณสมบัติ 8 ข้อในการโฟกัสของกล้อง EOS R ที่ใครๆ ก็อยากสัมผัส

2018-10-25
47
20.74 k
ในบทความนี้:

กล้อง EOS R ใหม่ของ Canon ผสมผสานข้อดีของทั้งเซนเซอร์แบบฟูลเฟรมและจุดแข็งของ Dual Pixel CMOS AF ระบบการโฟกัสอัตโนมัติ (AF) แบบ Phase Detection โดยใช้เซนเซอร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นในกล้องมิเรอร์เลส จึงไม่น่าแปลกใจว่า ประสิทธิภาพและฟังก์ชั่นในการโฟกัสจะเป็นสิ่งหนึ่งที่น่าจับตามอง ดังนั้น มาดูกันว่าคุณสมบัติในการโฟกัสทั้ง 8 ข้อของกล้อง EOS R มีอะไรบ้าง (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara)

ภาพแบนเนอร์ EOS R

 

เสริมจุดแข็งของกล้องมิเรอร์เลสด้วยเซนเซอร์แบบฟูลเฟรม

EOS R กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรมรุ่นแรกของ Canon เป็นกล้องคุณสมบัติครบถ้วนระดับ “มืออาชีพ” ที่ผสมผสานเซนเซอร์แบบฟูลเฟรมและคุณสมบัติเด่นๆ ของกล้องมิเรอร์เลสในปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกัน และคุณสมบัติที่ว่านั้นก็คือประสิทธิภาพของระบบ AF อย่างไม่ต้องสงสัย

ข้อแรก กล้อง EOS R มีระบบ Dual Pixel CMOS AF ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในระบบนี้ แต่ละพิกเซลในเซนเซอร์ Dual Pixel CMOS จะทำหน้าที่ทั้งในการสร้างภาพและตรวจจับแบบ Phase-Difference ตามระนาบภาพ ผลลัพธ์: AF ตรวจจับแบบ Phase-Difference ตามระนาบภาพ ที่มีความเร็วและความแม่นยำสูง และสามารถคงคุณภาพของภาพที่สูงเอาไว้ได้

นอกจากนี้ กล้อง EOS R ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจจับตัวแบบและวิธีการโฟกัสอัตโนมัติที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ได้แก่
- Eye Detection AF
- จำนวน ขอบเขต และความหนาแน่นของตำแหน่ง AF เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และ
- ประสิทธิภาพการทำงานของ AF ในสภาวะแสงน้อยที่ก้าวหน้าไปอีกขั้น

 

ขุมพลังการประมวลผลด้วย DIGIC 8

การได้มาซึ่งประสิทธิภาพ AF ในระดับนี้ต้องอาศัยการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจากเซนเซอร์ภาพที่มากยิ่งกว่าที่เคย ประสิทธิภาพในการประมวลผลนี้เกิดจาก DIGIC 8 ระบบประมวลผลภาพรุ่นใหม่ล่าสุดของ Canon ดังนั้น กล้อง EOS R จึงไม่เพียงแต่สามารถตอบสนองการทำงานได้ดีเยี่ยมเทียบเท่ากล้อง DSLR เท่านั้น แต่ในบางครั้งคุณยังสามารถถ่ายภาพในสภาวะที่คุณเคยรู้สึกว่ายากต่อการถ่ายภาพได้อีกด้วย

 

ดังนั้น มาดูกันว่าฟังก์ชั่นที่สำคัญ 8 ข้อในการโฟกัสของกล้อง EOS R มีอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร

 

1. พื้นที่ AF ที่ครอบคลุมมากขึ้น: 100% ของเฟรมภาพตั้งแต่ขอบบนจรดล่าง

พื้นที่ AF แสดงที่ 88% x 100%

A: ประมาณ 88%
B: ประมาณ 100%

พื้นที่ AF ครอบคลุม 88% ของพื้นที่ในแนวนอนและ 100% ของพื้นที่ในแนวตั้งของเฟรมเซนเซอร์ นับว่าครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งภาพ และยังช่วยให้คุณจัดองค์ประกอบภาพได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
*ภาพพื้นหลังมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นภาพประกอบเท่านั้น ไม่ใช่ภาพที่ถ่ายโดยกล้อง EOS R

การนำระบบประมวลผลภาพ DIGIC 8 มาใช้ ทำให้ EOS R สามารถประมวลผลข้อมูล AF ในปริมาณมากขึ้นได้ จึงมี AF ที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 100% ในแนวตั้ง และในแนวนอนยังครอบคลุมพื้นที่กว้างถึงประมาณ 88% อีกด้วย ด้วยความครอบคลุมระดับนี้ คุณจะสามารถวางตัวแบบหลักไว้ใกล้ขอบจอภาพได้โดยที่ AF ยังคงสามารถจับโฟกัสได้อยู่ ซึ่งช่วยให้จัดองค์ประกอบภาพได้อย่างยืดหยุ่น

 

2. ตำแหน่งจุด AF ที่มีให้เลือกมากถึง 5,655 จุด

พื้นที่ AF ในกล้อง EOS R

87 ตำแหน่ง (ในแนวนอน) × 65 ตำแหน่ง (ในแนวตั้ง) = 5,655 ตำแหน่ง
สามารถเลือกจุด AF ได้สะดวกขึ้นด้วยระบบสัมผัสและ Touch & Drag AF

EOS R ไม่เพียงแต่มีพื้นที่ AF ที่กว้างขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีความครอบคลุมของ AF ที่หนาแน่นขึ้นอีกด้วย เนื่องจากมีตำแหน่งจุด AF ที่คุณสามารถเลือกแบบแมนนวลได้ถึง 5,655 ตำแหน่ง (87 ตำแหน่งในแนวนอน x 65 ตำแหน่งในแนวตั้ง) ซึ่งช่วยให้คุณสามารถจับโฟกัสจุดที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบมาโครและฉากที่มีตัวแบบขนาดเล็กซึ่งการจับโฟกัสเป็นสิ่งสำคัญมาก ในโหมดการเลือกพื้นที่ AF อัตโนมัติ มี AF ให้เลือกมากถึง 143 พื้นที่* สำหรับการตรวจจับตัวแบบ จึงสามารถเปลี่ยนจุด AF ได้อย่างนุ่มนวลและแม่นยำมากขึ้นระหว่างการติดตามตัวแบบ
*เมื่อใช้เลนส์ที่เข้ากันได้

 

3. Eye Detection AF ที่ช่วยให้ถ่ายภาพพอร์ตเทรตได้สวยงาม

การทำงานของ Eye detection AF

EOS R/ RF50mm f/1.2L/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.2, 1/125 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: 5200K

Eye Detection AF เป็นคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในด้านการตรวจจับใบหน้า ซึ่งทำให้กล้องสามารถโฟกัสไปที่รูม่านตาได้อย่างแม่นยำ คุณจะพบว่าคุณสมบัติข้อนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่มีระยะชัดลึกที่ตื้นด้วยเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง โปรดทราบด้วยว่าสามารถใช้ Eye Detection AF ได้ก็ต่อเมื่อตั้งค่า "One-Shot AF" และ "ใบหน้า+การติดตาม AF" ไว้ทั้งคู่เท่านั้น

อัพเดต (เมษายน 2019): Canon ได้เผยแพร่อัพเดตเฟิร์มแวร์ (เวอร์ชัน 1.2.0) ซึ่งเพิ่มการรองรับ Eye Detection AF ขณะใช้ Servo AF (การถ่ายภาพนิ่ง) และ Movie Servo AF (การถ่ายภาพเคลื่อนไหว)
ข้อมูลเพิ่มเติม

 

4. โฟกัสอัตโนมัติในสภาพมืดสูงสุด: AF สามารถทำงานได้แม้ในความมืดที่ EV-6

ภาพทางช้างเผือกที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS R

EOS R/ RF50mm f/1.2L/ FL: 50 มม./ Manual exposure (f/1.2, 13 วินาที, EV+0.3)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ

สภาพการถ่ายภาพจริง

สภาพการถ่ายภาพที่ EV-6 เมื่อมองด้วยตาเปล่า

ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าที่ EV-6 นั้น ไม่สามารถมองเห็นตัวแบบได้ด้วยตาเปล่า แต่ระบบ AF ของกล้อง EOS R นั้นสามารถทำงานได้แม้อยู่ในสภาวะที่มืดเมื่อใช้ร่วมกับเลนส์ RF50mm f/1.2L นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่าความไว AF ระดับนี้ต่ำกว่าค่าต่ำสุดที่ EV-4 ที่กล้องฟูลเฟรมอื่นๆ สามารถถ่ายได้ในโหมด Live View ถึง 2 สต็อป แม้ว่าโดยทั่วไปการโฟกัสแบบแมนนวล (MF) อาจดูน่าเชื่อถือได้มากกว่า แต่ด้วยประสิทธิภาพในการถ่ายที่สภาวะแสงน้อยของ EOS R การใช้ AF ถ่ายภาพดวงดาวอาจเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้สูง

 

5. การรองรับท่อต่อเลนส์: จุด AF เข้ากันได้กับรูรับแสงกว้างสุดที่ f/11 ที่ AF ทุกตำแหน่ง

EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM,EXTENDER EF2×III

AF ทำงานได้แม้ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/11

จุด AF ในกล้อง EOS R เข้ากันได้กับรูรับแสงกว้างสุดที่ f/11 ที่ AF ทุกตำแหน่ง (เมื่อใช้ร่วมกับเลนส์และท่อต่อเลนส์ที่เข้ากันได้ เช่น เลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM คู่กับท่อต่อเลนส์ 2 เท่า) จึงสามารถใช้ AF ได้แม้ถ่ายที่ระยะซูเปอร์เทเลโฟโต้ 800 มม. ช่วยเพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพอย่างเห็นชัดสำหรับช่างภาพสัตว์ป่า

 

6. 4 วิธีการโฟกัสอัตโนมัติแบบใหม่เพื่อการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น

ขยายพื้นที่ AF (ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง)

ขยายพื้นที่ AF (ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง)
ใช้จุดที่อยู่ด้านบน ล่าง ซ้าย และขวาของจุด AF ที่เลือกไว้เพื่อช่วยในการจับภาพตัวแบบที่เคลื่อนออกไปจากขอบเขตของจุด AF ที่เลือก โหมดนี้มีประสิทธิภาพในการจับภาพตัวแบบขนาดเล็กที่เคลื่อนไหวแบบคาดเดาได้ง่าย

ขยายพื้นที่ AF: โดยรอบ

ขยายพื้นที่ AF: โดยรอบ
ใช้ 8 จุดรอบๆ จุด AF ที่เลือกไว้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่าการ “ขยายพื้นที่ AF (ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง)” และได้ผลดีสำหรับการจับภาพตัวแบบขนาดเล็กที่เคลื่อนไหวแบบคาดเดาไม่ได้

 
Large Zone AF: แนวตั้ง

Large Zone AF: แนวตั้ง
จับภาพตัวแบบได้อัตโนมัติโดยใช้กรอบ AF ที่มีความยาวในแนวตั้งมากกว่า Zone AF โหมดนี้ใช้ได้ผลดีเมื่อตัวแบบมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะจับภาพได้โดยใช้พื้นที่ AF ขนาดเล็ก จึงมีประสิทธิภาพในการจัดองค์ประกอบภาพมากกว่าการเลือกจุด AF อัตโนมัติ

Large Zone AF: แนวนอน

Large Zone AF: แนวนอน
จับภาพตัวแบบได้อัตโนมัติโดยใช้กรอบ AF ที่มีความยาวในแนวนอนมากกว่า Zone AF Large Zone AF ทั้งคู่: แนวตั้งและ Large Zone: แนวนอนจะเน้นจับโฟกัสไปที่ใบหน้าเมื่อมีคนอยู่ในกรอบ AF

 

กล้อง EOS R มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ดียิ่งขึ้นในรูปของระบบประมวลผลภาพ DIGIC 8 จึงสามารถใช้โหมดการเลือกพื้นที่ AF ต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถใช้ได้กับ Dual Pixel CMOS AF เช่น ขยายพื้นที่ AF และ Large Zone AF ตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับ AF ที่ขยายเพิ่มขึ้นเหล่านี้ช่วยให้คุณถ่ายภาพโดยใช้ AF ได้อย่างมีอิสระมากขึ้นและง่ายดายยิ่งขึ้น

 

7. ฟังก์ชั่น AF แบบกำหนดเอง

เมนูความไวติดตามของกล้อง EOS R

ความไวติดตาม
กำหนดค่าความไวติดตามเมื่อมีสิ่งกีดขวางจุด AF หรือเมื่อตัวแบบเคลื่อนที่ออกไปนอกจุด AF

 

เมนูเพิ่ม/ลดความไวติดตามของกล้อง EOS R

เพิ่ม/ลดความไวติดตาม
เปลี่ยนความไวติดตามเมื่อตัวแบบหยุดหรือเริ่มเคลื่อนที่อย่างกะทันหัน หรือเมื่อตัวแบบเปลี่ยนความเร็วในการเคลื่อนที่

 

เมนูเปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติของกล้อง EOS R

เปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติ
ช่วยให้คุณกำหนดความไวการเปลี่ยนจุด AF ซึ่งก็คือแนวโน้มในการเปลี่ยนจุด AF จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งเพื่อคงโฟกัสไว้ในขณะที่ตัวแบบเคลื่อนไปด้านบน ล่าง ซ้าย ขวา หรือห่างออกไปจากจุด AF

นอกจากข้อมูล เช่น ความสว่าง สี และใบหน้าของตัวแบบแล้ว การนำ DIGIC 8 มาใช้ยังทำให้สามารถใช้ข้อมูลความลึกในการติดตาม AF ได้ ซึ่งทำได้โดยนำเอาข้อมูลด้านระยะห่างจากพื้นที่รอบตัวแบบมาประมวลผลในทันที และใช้ได้ผลดีในฉากที่แสงบนตัวแบบมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปหรือเมื่อตัวแบบและแบ็คกราวด์มีสีที่ใกล้เคียงกัน

คุณสมบัตินี้รวมกับความสามารถในการปรับแต่งพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ความไวติดตาม และการเปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติ ทำให้คุณสามารถกำหนดค่า AF ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการเคลื่อนไหวของตัวแบบได้

 

8. ตัวแสดงสถานะด้วยภาพเพื่อการโฟกัสแบบแมนนวลที่ง่ายดาย

eos-r-focus-guide_01

กรอบชี้นำจะเปลี่ยนไปเพื่อบอกว่าคุณต้องปรับโฟกัสอย่างไรและมากแค่ไหน

 

eos-r-focus-guide_02

ซ้าย: นอกโฟกัส - โฟกัสอยู่ด้านหน้าเกินไปเล็กน้อย
กึ่งกลาง: ตัวแบบอยู่ในโฟกัส
ขวา: นอกโฟกัส - โฟกัสอยู่ด้านหลังเกินไปเล็กน้อย

คุณสมบัติส่วนใหญ่ที่กล่าวมาแล้วจะเป็นเรื่องของการโฟกัสอัตโนมัติ แต่กล้อง EOS R ยังมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์สำหรับการโฟกัสแบบแมนนวลอีกด้วย นั่นก็คือฟังก์ชั่น Focus Guide ซึ่งแสดงสถานะของความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของตัวแบบกับจุดโฟกัสของเลนส์ให้คุณเห็นได้ในทันทีเมื่อใช้ MF ดังแสดงในภาพด้านบน ไอคอนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อตัวแบบอยู่ในโฟกัส และจะเคลื่อนที่หากโฟกัสเลยมาด้านหน้าหรือด้านหลังตัวแบบมากเกินไป ด้วยคุณสมบัตินี้ การโฟกัสแบบแมนนวลจึงกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งกว่าที่เคย

 

คลิกที่นี่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกล้อง EOS R

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
สัมภาษณ์ทีมนักพัฒนา ขอแนะนำ EOS R กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรมรุ่นแรกของ Canon (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชุมชน SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา