ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part11

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #11: Phase Detection AF

2017-03-30
14
10.88 k
ในบทความนี้:

Phase Detection AF (หรือที่เรียกว่า AF ตรวจจับแบบ Phase-Difference หรือ AF ระบบ Phase-Difference) คือระบบโฟกัสอัตโนมัติที่ใช้ขณะถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพด้วยกล้อง DSLR คุณสมบัติหลักของระบบนี้อยู่ที่การโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็ว ในส่วนต่อไปนี้ เราจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Phase Detection AF และวิธีที่ Dual Pixel CMOS AF ของ Canon ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AF ใหม่ล่าสุด เพื่อใช้ AF ในการตรวจจับระยะแม้ในขณะถ่ายภาพแบบ Live View (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

Phase Detection AF คือระบบ AF ที่ใช้เมื่อถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพด้วยกล้อง DSLR

สิ่งที่ควรจดจำ

- ความเร็วในการโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็ว
- ใช้กลไกกระจกแยกแสงที่เข้าสู่เลนส์ พร้อมด้วยเซนเซอร์ AF แยกต่างหาก
 

Phase Detection AF คือระบบ AF ที่ใช้ขณะถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพด้วยกล้อง DSLR ซึ่งทำหน้าที่แยกแสงที่เข้าสู่เลนส์ออกไปสองส่วน เพื่อให้เกิดภาพถ่ายสองแบบ กล้องจะพิจารณาถึงความแตกต่างของตำแหน่งจุดโฟกัสระหว่างภาพทั้งสอง และคำนวณหาทิศทางที่ต้องการ (เมื่อเคลื่อนที่เข้าหากล้อง หรือถอยห่างจากตัวกล้อง) และปริมาณ (ระยะห่าง) ในการเลื่อนเลนส์เพื่อให้ได้โฟกัส จากนั้นเลื่อนเลนส์ให้สอดคล้องกัน

Phase Detection AF ช่วยให้โฟกัสอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากกล้องทราบถึงระยะและทิศทางในการเลื่อนเลนส์เพื่อจับโฟกัส อย่างไรก็ดี AF ในรูปแบบนี้ต้องใช้เซนเซอร์ AF เฉพาะที่มาพร้อมกลไกการแยกแสงระหว่างเซนเซอร์ AF กับเซนเซอร์ภาพ ซึ่งเปลี่ยนแสงที่เข้าสู่เลนส์ให้เป็นภาพ กลไกเช่นนี้ทำให้ตัวกล้องยากที่จะมีขนาดกะทัดรัด

 

Phase Detection AF สามารถโฟกัสได้รวดเร็ว เนื่องจากทราบระยะห่างและทิศทางจากตัวแบบ

ตัวอย่างของ Phase Detection AF

ตัวอย่างของ Contrast AF

เพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้น เราลองมาจำลองสถานการณ์ที่คุณต้องตีแตงโม Phase Detection AF เป็นเสมือนความพยายามที่จะไปให้ถึงแตงโมโดยไม่มีผ้าปิดตา และเนื่องจากคุณทราบระยะห่างและทิศทางของแตงโมแล้ว ข้อมูลนี้จะทำให้คุณเคลื่อนที่ไปหาแตงโมได้อย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน Contrast AF เป็นเสมือนความพยายามที่จะไปถึงแตงโมขณะมีผ้าปิดตา และเนื่องจากคุณไม่อาจทราบระยะห่างและทิศทางที่จะไปถึงแตงโมได้ คุณจึงต้องเคลื่อนที่ไปรอบๆ เพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนไปเรื่อยๆ นี่คือสาเหตุว่าทำไม Contrast AF จึงใช้เวลาจับโฟกัสที่ตัวแบบนานกว่าเมื่อเทียบกับ Phase Detection AF

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง 1: เซนเซอร์แบบเส้นและเซนเซอร์แบบ Cross-type

เลย์เอาต์ของเซนเซอร์แบบเส้นและเซนเซอร์แบบ Cross-type

เซนเซอร์แบบ Cross-type มีความแม่นยำสูงในการโฟกัสอัตโนมัติ
A: ตรวจจับเส้นแนวนอนของตัวแบบ
B: ตรวจจับเส้นแนวตั้งของตัวแบบ

สำหรับเซนเซอร์ AF ในกล้อง DSLR มีเซนเซอร์สองแบบด้วยกัน ได้แก่ เซนเซอร์แบบเส้นและเซนเซอร์แบบ Cross-type เซนเซอร์แบบเส้นจะอยู่ในแนวตั้งหรือแนวนอน ดังนั้น จึงสามารถตรวจจับเส้นของตัวแบบในแนวตั้งหรือแนวนอนได้เท่านั้น ขณะที่เซนเซอร์แบบ Cross-type ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์แบบเส้นที่วางตัดกันเป็นเครื่องหมายบวก สามารถตรวจจับเส้นของตัวแบบทั้งในแนวตั้งและแนวนอนได้ ดังนั้น จึงมีความแม่นยำในการจับโฟกัสสูงกว่า

กล้องถ่ายภาพระดับเริ่มต้น เช่น EOS 1300D โดยปกติจะมีจุด AF แบบ Cross-type จุดเดียวอยู่ตรงกลาง อย่างไรก็ดี ในกล้องรุ่นใหม่ๆ เช่น EOS 77D และ EOS 800D จะมาพร้อมเซนเซอร์แบบ Cross-type สำหรับจุด AF ทั้งหมด 45 จุด ดีไซน์เช่นนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ต้องการจัดองค์ประกอบภาพให้ตัวแบบวางไว้ที่ตำแหน่งไหนก็ได้ในเฟรมภาพ และเมื่อมีเซนเซอร์แบบ Cross-type มากขึ้น การโฟกัสจะทำได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าตัวแบบจะอยู่ใกล้กับบริเวณขอบภาพก็ตาม

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง 2: Dual Pixel CMOS AF

ในกล้องที่มาพร้อมกับ Dual Pixel CMOS AF เราสามารถใช้ Phase Detection AF ในแบบ Live View ได้ภายในบริเวณกว้างในกรอบสีแดง โดยไม่จำเป็นต้องใช้เซนเซอร์ AF แยกต่างหาก และการจับโฟกัสจะทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำแม้บนตัวแบบที่กำลังเคลื่อนที่

Dual Pixel CMOS AF คือระบบ AF ใหม่ล่าสุดที่ Canon สร้างสรรค์ขึ้นอย่างภาคภูมิใจ ทำให้สามารถใช้งาน Phase Detection AF ในแบบ Live View และการถ่ายภาพวิดีโอได้ ขณะที่ในกล้อง DSLR รุ่นก่อนหน้าสามารถใช้ได้เพียงถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพเท่านั้น เนื่องจากพิกเซลทั้งหมดในเซนเซอร์ภาพของ Dual Pixel CMOS AF มาพร้อมกับเซนเซอร์การตรวจจับระยะ จึงไม่ต้องใช้เซนเซอร์ AF แยกต่างหาก ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม AF รุ่นนี้จึงสามารถปรับใช้ในกล้องมิเรอร์เลส อาทิ กล้องซีรีย์ EOS M ได้ และเมื่อประสานกับการโฟกัสที่รวดเร็วและราบรื่น Dual Pixel CMOS AF จึงสามารถจับโฟกัสได้ง่ายดายแม้กระทั่งตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว

 

คลิปต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่า Dual Pixel CMOS AF มีประโยชน์ในการถ่ายภาพวิดีโออย่างไร ซึ่งจุดสำคัญบางประการยังสามารถนำมาใช้กับการถ่ายภาพได้ด้วย!

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา