f/16: ถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัดตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์
จะทำอย่างไรเมื่อคุณได้พบกับฉากที่มีตัวแบบน่าสนใจอยู่ใกล้คุณในส่วนโฟร์กราวด์ และมีแบ็คกราวด์เป็นทิวทัศน์สวยงามซึ่งอยู่ไกลออกไป ลองใช้โฟกัสชัดลึกที่ f/16 ซึ่งให้ระยะชัดที่กว้าง เหมาะสำหรับสถานการณ์เช่นนี้ (เรื่องโดย: Teppei Kohno)
f/16, 1/100 วินาที, ISO 400
f/16: เหมาะสำหรับการโฟกัสชัดลึกเมื่อตัวแบบในโฟร์กราวด์อยู่ใกล้คุณและมีแบ็คกราวด์อยู่ไกลออกไปมาก
ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้แนะนำการใช้ค่า f/11 เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ตระการตาพร้อมมีระยะชัดลึก แต่ในบางครั้ง คุณอาจต้องการให้ในภาพเดียวกันมีส่วนโคลสอัพของวัตถุที่อยู่ใกล้ด้วย (ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้ประโยชน์จากเปอร์สเป็คทีฟเกินจริงของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์)
ในกรณีเช่นนี้ ค่า f/11 อาจให้ระยะชัดไม่เพียงพอที่จะทำให้ทั้งตัวแบบในส่วนโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ห่างไกลอยู่ในระยะโฟกัสที่คมชัดได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ช่างภาพมืออาชีพหลายคนเลือกใช้ค่า f/16
f/16
f/16, 1/400 วินาที, ISO 400
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
ภาพชายหาดดูคมชัดโดยมีพื้นที่ทุกส่วนอยู่ในโฟกัส
f/5
f/5, 1/2500 วินาที, ISO 400
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
ต้นไม้ที่อยู่ในส่วนโฟร์กราวด์เป็นตัวแบบหลักเดียวที่เรามองเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ชายหาดที่อยู่ด้านหลังเบลอ และเรือที่อยู่ด้านหลังก็มีความคมชัดน้อยลงเช่นกัน
หากต้องการอ่านกรณีศึกษาเพิ่มเติม ลองดูตัวอย่างการถ่ายภาพแหล่งมรดกโลกในบทความนี้
เคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดจากมืออาชีพด้านการถ่ายภาพท่องเที่ยว
ข้อควรรู้:
- ยิ่งรูรับแสงแคบ จะมีโอกาสสูงขึ้นในการเกิดการเลี้ยวเบนของแสง ซึ่งทำให้รายละเอียดต่างๆ ดูคมชัดน้อยลง และคุณภาพโดยรวมของภาพด้อยลง ฟังก์ชั่นแก้ไขการเลี้ยวเบนในกล้องของคุณและในฟังก์ชั่น Digital Lens Optimizer ในซอฟต์แวร์ Digital Photo Professional สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่ง แต่การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าเสมอ ช่างภาพมืออาชีพจำนวนมากจึงพยายามไม่ใช้รูรับแสงที่แคบกว่า f/16 ยกเว้นในกรณีพิเศษเท่านั้น
- ความเร็วชัตเตอร์จะลดลง เพื่อให้เปิดรับแสงได้อย่างเพียงพอ เตรียมตัวให้พร้อมและทำให้อุปกรณ์ของคุณมีความมั่นคง หากคุณไม่ต้องการให้ความเร็วชัตเตอร์ลดลงมากเกินไป ให้ตั้งค่าความไวแสง ISO ให้สูงขึ้น
เทคนิคพิเศษ: สร้างแฉกแสงเพื่อให้ภาพโดดเด่นยิ่งขึ้น!
เมื่อคุณเพิ่มค่ารูรับแสงและทำให้รูรับแสงแคบลง แหล่งกำเนิดแสงที่มีความเข้มในเฟรมภาพ (เช่น ดวงอาทิตย์) จะกลายเป็นแสงที่ยาวออกมาเป็นทางเรียกว่า แฉกแสง ซึ่งคุณสามารถใช้เพื่อทำให้ภาพมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: คำแนะนำในการสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงด้วยดวงอาทิตย์
f/3.5: ไม่มีแฉกแสง
f/3.5, 1/4000 วินาที, ISO 800
บริเวณรอบดวงอาทิตย์สว่างจ้าจนเกิดแสงแฟลร์ซึ่งทำให้ตัวแบบดูมืดลง
f/16: แฉกแสงที่สวยงาม
f/16, 1/320 วินาที, ISO 800
แสงอาทิตย์กลายเป็นเอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่เป็นประกายซึ่งช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับภาพได้
ดูว่าคุณสามารถใช้ค่ารูรับแสง f/16 ทำอะไรได้อีกบ้างในบทความต่อไปนี้:
การถ่ายภาพคลื่น: ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดเพื่อถ่ายทอดพลังและการเคลื่อนไหว
3 เคล็ดลับตามสถานการณ์จากช่างภาพไหวพริบดี
วิธีการถ่ายภาพนี้: การตั้งค่ากล้องสำหรับถ่ายภาพความสงบเงียบของทะเลสาบ
คุณเคยใช้ค่า f/16 ถ่ายภาพในสถานการณ์ใดบ้าง แบ่งปันภาพถ่ายของคุณกับเราได้ที่ My Canon Story
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย